‘ประกันภัยรถ EV’ เป็นประเด็นหนักใจ ทั้งผู้ซื้อรถ บริษัทประกันภัย ตัวแทนจำหน่าย ที่ราคายังสูงลิ่ว และการคุ้มครองที่ยังไม่ค่อยชัดเจน และเกิดเคส ‘คืนทุนประกัน’ จนทำให้หลายคนหวั่นใจ ล่าสุด คปภ. ได้ประกาศเงื่อนไขประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ ปี 2567 ซึ่งหลายจุดสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไป
Spotlight ได้พูดคุยกับ คุณสิรวิชญ์ ฉายะวาณิชย์ Co-founder & Head of Priceza Money สรุปทุกข้อสงสัยให้เจ้าของรถ EV และว่าที่เจ้าของรถ ได้รู้เท่าทัน ก่อนจะต่อประกันรอบต่อไป
สำหรับเงื่อนไขใหม่ของประกันรถยนต์ EV ที่ระบุใน “คำสั่งนายทะเบียน เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความ และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัย ของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า” นี้ มีไฮไลต์สำคัญดังนี้
เงื่อนไขใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในประกันรถยนต์ไฟฟ้าปี 2567 เพิ่ม คือ เงื่อนไขการคุ้มครองความเสียหายแบตเตอรี่แบบขั้นบันได ขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยจะลดหลั่นลงไป 10% ทุก 1 ปี โดยจะคุ้มครองน้อยสุดที่ 50% ดังนี้
นอกจากนี้ ในกรณีที่รถยนต์ไฟฟ้าของผู้เอาประกันภัยเกิดอุบติเหตุและได้รับความเสียหายจนต้องเปลี่ยนแใหม่ ทางบริษัทางสามารถยื่นข้อเสนอให้กับผู้เอาประกัน ภายน 7 วัน หลังการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้ว่า
หากผู้เอาประกันภัยไม่แจ้งเรื่องกลับภายใน 30 วัน จะยึดความคุ้มครองตามข้อ 2 ทันที
กรณีที่จะเข้าข่ายเกณฑ์ค่าเสื่อมแบตเตอรี่นี้ จะต้องเป็นกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ แล้วต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ทั้งลูกเท่านั้น หากสามารถซ่อมได้ หรือค่าเสียหายรวมเกินกว่า 70% จนต้องคืนทุนประกัน จะไม่เข้าข่าย
โดยปกติแล้ว กรรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้านั้น จะให้ผู้เอาประกันระบุชื่อผู้ขับสูงสุด 2 คน โดยไม่ได้เป็นการบังคับ แต่ในเงื่อนไขประกันรถ EV นี้ จะบังคับให้ผู้เอาประกันต้องระบุชื่อผู้ขับ จำนวนสูงสุด 5 รายชื่อ โดยรายชื่อที่ระบุในกรมธรรม์นี้ จะมีผล 2 ด้านด้วยกันคือ
บริษัทประกันภัยสามารถนำแบบเงื่อนไขการคิดประกันภัยรถ EV แบบใหม่นี้ ไปใช้ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป แต่สามารถทยอยเริ่มใช้ได้ โดยต้องไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 เพื่อเป็นช่วงเวลาให้บริษัทประกันเตรียมความพร้อม สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่เงื่อนไขใหม่
ในด้านผู้เอาประกันภัย สามารถใช้เงื่อนไขเดิมได้จนกว่าจะถึงการต่อประกันครั้งต่อไป ซึ่งหากเป็นการต่อประกันก่อน 1 มิ.ย. 67 ก็ยังสามารถเลือกรับเงื่อนไขเดิมได้ แต่หากเป็น 1 มิ.ย. 67 เป็นต้นไป จะต้องทำประกันภายใต้เงื่อนไขใหม่ปี 67 ทันที
พิจารณาจากเงื่อนไขประกันภัยรถ EV ปี 67 ที่ออกมานี้ คุณสิรวิชญ์ ตั้งข้อสังเกตว่า สำหรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่รถ EV ในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกับรถที่มีแบตเตอรี่ชนิด C2P หรือชนิดอื่นๆ ที่จะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ทั้งก้อนนั้น หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจริง อาจจะเข้าเงื่อนไข ‘คืนทุนประกัน’ (ค่าเสียหายเกิน 70% ของราคารถยนต์) มากกว่าที่จะเข้าเกณฑ์ค่าเสื่อมแบบขั้นบันไดนี้ เนื่องจากในอุบัติเหตุที่รุนแรงจนถึงขั้นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ ก็จะต้องมีค่าเสียหายอื่นๆ ที่ตัวถังร่วมด้วย ราคาแบตเตอรี่ลูกหนึ่งก็สูงกว่า 5-6 แสนบาท เมื่อรวมกับค่าสายอื่นก็มีโอกาสสูงมากที่จะทะลุ 70% ของราคารถ
ในส่วนของราคาประกันซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่กังวลนั้น เงื่อนไขประกัน EV ฉบับใหม่นี้ถือว่าจะเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้ได้ส่วนลดพิเศษเพิ่มเติมจาก ‘ส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่’ ที่จะมีผลในปีที่ 2 ถึงปีที่ 5 ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถได้รับส่วนลดเบี้ยประกันสูงสุด 40% หากมีพฤติกรรมการขับที่ดี เพิ่มเติมจาก ‘ส่วนลดประวัติดี’ ที่มอบส่วนลดสูงสุด 40% ที่มีอยู่แล้วเดิม ทั้งในประกันรถยนต์ และรถยนต์ไฟฟ้า
สาเหตุที่ทำให้ประกัน EV ยังมีราคาสูงนั้น เกิดมาจากที่ในตอนนี้ ยังมีตัวเลือกแค่ส่งซ่อมที่ศูนย์บริการเท่านั้น ซึ่งผู้ที่เคยทำประกันรถยนต์น้ำมัน จะทราบดีว่าจะต้องส่งเบี้ยประกันสูงกว่าเป็นเท่าตัว และหากไปซ่อมกับอู่ที่ไม่ได้เข้าเงื่อนไข ก็อาจเสี่ยงประกันขาดได้ ซึ่งในอนาคต หาก ‘อู่ซ่อมรถ EV’ มีจำนวนมากขึ้นแล้ว บริษัทประกันก็อาจมีทางเลือกมากขึ้น ทำให้เบี้ยประกันที่เรียกเก็บจากลูกค้าถูกลงได้
นอกจากนี้ หลักคิดของการตั้งราคาประกันภัยรถยนต์ก็คือ การตั้งราคาโดย “อ้างอิงจากความเสี่ยงของทุกคน” นั่นหมายถึง คนที่ขับรถดีที่สุด ขับรถแย่ที่สุด ขับรถบ่อย และนานๆ จะขับสักครั้ง ต้องเสียเบี้ยประกันเท่ากัน แต่ในยุคนี้ ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า ‘Personalized Insurance’ หรือประกันที่สามารถเลือกเปิด-ปิด คำนวณตามระยะทางการใช้รถจริง รวมถึงส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่ และส่วนลดประวัติดี ตรงนี้ก็อาจทำให้ในอนาคต ราคาประกันภัยจะถูกลง และจำเพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อเบี้ยประกันก็คือ ‘ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ หรือความลำบากในการซ่อมบำรุง’ เมื่อรถ EV ซ่อมบำรุงยาก มีช่างที่มีความรู้เฉพาะทางน้อย ยังไม่สามารถนำเข้าไปซ่อมที่อู่ได้ แบตเตอรี่มีราคาแพง จึงทำให้บริษัทประกันต้องเรียกค่าเบี้ยประกันสูง อีกปัจจัยที่น่าจับตามองก็คือ ปัจจุบันจุดชาร์จต่างจังหวัดยังไม่ครอบคลุม หากในอนาคตมีจุดชาร์จกระจายตัวมากขึ้นแล้ว ผู้ใช้รถก็อาจจะนำรถไปวิ่งในระยะทางที่ไกลขึ้น และแน่นอนว่าก็จะมีการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น เมื่อถึงตอนนั้น ทั้งฝั่งผู้ใช้งาน บริษัทประกัน รวมถึงศูนย์ซ่อมบำรุง ก็อาจจะได้มีกรณีศึกษากันมากขึ้น ว่าจะทำอย่างไรกันต่อ
คุณสิรวิชญ์ ทิ้งท้ายว่า ประกันรถยนต์เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญที่จะต้องอยู่คู่กับรถยนต์ไปตลอดอายุการใช้งาน ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อประกันเจ้าไหน ควรศึกษาให้ดีเสียก่อน
ที่มา : Ridebuster, Priceza, คปภ.