ส่งออกไทยปี 2567 (2024) สร้างสถิติใหม่ ปี 2567 มีมูลค่ารวม 300,529.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 5.4% YOY จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง และความต้องการสินค้าส่งออก เช่น สินค้าเกษตร อิเล็กทรอนิกส์ และทองคำ โดยเฉพาะครึ่งปีหลังที่ขยายตัวสูงถึง 9%
ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้า Manufacturing PMI ทั่วโลกอยู่ในภาวะหดตัว ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และนโยบายกีดกันการค้า (ทรัมป์ 2.0) ภาพรวมการส่งออกไทยยังคงเป็นความหวังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ต้องเผชิญความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในปี 2568
มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนธันวาคม ปี 67 อยู่ที่ 24,765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 8.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเร่งตัวจากเดือนพฤศจิกายนที่ 8.2% และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ (SCB EIC ประเมินไว้ที่ 7.1% และ Reuter Poll คาดการณ์ค่ากลางที่ 8.1%)
หากไม่รวมการส่งออกทองคำ ตัวเลขยังคงขยายตัวในอัตราเดียวกันที่ 8.7% โดยปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตมาจาก การเร่งส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรม เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร และเครื่องปรับอากาศ จากความกังวลเกี่ยวกับมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐฯ การเติบโตในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ตามวัฏจักรการอัปเกรดเทคโนโลยี และ การส่งออกทองคำ ที่ยังขยายตัวในระดับสูงแม้จะเริ่มชะลอลง โดยการส่งออกทองคำมีส่วนเพิ่มมูลค่าราว 0.5%
สหรัฐฯ ขยายตัว 17.5% YOY โดยสินค้าเด่นคือ เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ และเครื่องจักร
ยุโรป โตแรงที่ 22% YOY นำโดยเครื่องจักรกล
จีน ลดลงเล็กน้อยที่ 15% YOY แต่ยังเป็นตลาดสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์และผลไม้สด
ญี่ปุ่น พลิกกลับมาขยายตัวเล็กน้อย 0.6% จาก -3.7% ในเดือนก่อน
จีน ชะลอลงที่ 15% จาก 16.9% ในเดือนก่อน ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งและคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบชะลอตัวลงที่ 78.8% จาก 126.8% ในเดือนก่อน
ฮ่องกง หดตัวแรงเป็น -23.3% จาก -9.9% ในเดือนก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้ากลุ่มสำคัญที่หดตัว CLMV ขยายตัว 20.7%
การส่งออกไทยทั้งปี 2024 มีมูลค่ารวม 300,529.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 5.4% สูงกว่าปี 66 ที่หดตัว -0.8% โดยมีแรงหนุนจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง และความต้องการสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นในหลายกลุ่ม เช่น สินค้าเกษตร อิเล็กทรอนิกส์ และทองคำ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังที่การส่งออกขยายตัวสูงถึง 9%
กลุ่มสินค้าหลักที่เติบโตในปีนี้ ได้แก่
ตลาดส่งออกสำคัญในปี 67 นำโดย สหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 13.7%) CLMV (โต 12.7%) และ ยุโรป (เพิ่มขึ้น 9.5%) ในขณะที่การส่งออกไป ญี่ปุ่น หดตัว -5.3% เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมิณว่า ช่วงครึ่งปีแรกของปี 68 การส่งออกยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากปัจจัยฐานต่ำและการเร่งสั่งซื้อสินค้าก่อนมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้นจาก เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว บรรยากาศการค้าระหว่างประเทศที่แย่ลง และ ปัญหาการผลิตล้นตลาดในจีน
SCB EIC ประเมินการเติบโตการส่งออกไทยในปี 68 ไว้ที่ 2% แต่ยังต้องจับตาปัจจัยภายนอกเพิ่มเติม
ทางด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การส่งออกในปี 68มีแนวโน้มเติบโตต่ำอยู่ที่ 2.5% โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 68 ยังมีแรงหนุนบางส่วนจากการเร่งนำเข้าสินค้าก่อนการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แต่ปัญหาส่งออกไทยยังถูกกดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างและความท้าทาย
ที่มา : scbeic , ศูนย์วิจัยกสิกรไทย