แล้วปรับเป็นมาตรการช่วยเหลือแบบเฉพาะจุดหลังสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น โดยยึดหลักการทำอย่างครบวงจร ถูกหลักการ และในไตรมาส 3 ปี 2566 ธปท. ได้ออกแนวทางการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนที่บางส่วนมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ต้นปี
ทั้งนี้ เพื่อสานต่อการแก้หนี้ครัวเรือนผ่านทั้งมาตรการดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่มีอยู่เดิม และมีมาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ Responsible Lending ซึ่งได้ยกระดับจากการขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ เป็นการกำหนดให้สถาบันการเงินต้องให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ดูแลลูกหนี้ที่มีปัญหาชำระหนี้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ ช่วยลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรังให้ปิดจบหนี้ได้ รวมถึงคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ ซึ่งจะช่วยให้การแก้หนี้ครัวเรือนยั่งยืนขึ้น สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
โดยตั้งแต่ 1 ม.ค. 67 ลูกหนี้รายย่อยและ SMEs (ที่ไม่เคยผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มาก่อน) เมื่อเริ่มมีปัญหาการชำระหนี้ จะได้รับการเสนอแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ที่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้และเหลือเงินเพียงพอในการดำรงชีพ โดยผู้ให้บริการต้องเสนอแนวทางการช่วยเหลือ (product program) สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาชำระหนี้แต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย (NPL) อย่างน้อย 1 ครั้ง และสำหรับลูกหนี้ NPL อีกอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยจะไม่ถูกโอนขายหนี้ก่อน 60 วัน นับจากวันที่ผู้ให้บริการเสนอเงื่อนไขปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้
โดยตั้งแต่ 1 เม.ย. 67 ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ประเภทวงเงินหมุนเวียน (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลและบัตรเครดิต) ที่ไม่เป็น NPL และชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา จะได้รับความช่วยเหลือให้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้นและลดภาระดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้น โดยจะได้รับการแจ้งเพื่อกระตุกพฤติกรรมและร่วมแก้ปัญหาหนี้กับเจ้าหนี้โดยเร็ว
สำหรับลูกหนี้ที่ชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมใน 5 ปีที่ผ่านมา และมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท สำหรับลูกหนี้สถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือน้อยกว่า 10,000 บาท สำหรับนอนแบงก์ สามารถเข้าร่วมมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง (opt-in) ด้วยการเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด (installment loan) ให้ปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่เกิน 15% ต่อปี
นอกจากนี้ ลูกหนี้ได้รับข้อมูลสำคัญถูกต้องครบถ้วน และเปรียบเทียบได้ รวมทั้งส่งเสริมวินัยทางการเงิน ผ่านการให้ข้อมูลของผู้ให้บริการเพื่อกระตุกพฤติกรรมตลอดวงจรหนี้ เช่น การมีคำเตือน “กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว” และอัตราดอกเบี้ยต่อปีต่ำสุด – สูงสุดในสื่อโฆษณา การแจ้งเตือนเมื่อจะมีภาระค่างวดหรืออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น (เริ่ม 1 ก.ค. 67)
การแจ้งข้อดี-ข้อเสียของแต่ละทางเลือกในการแก้หนี้ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดทำคลิปส่งเสริมความรู้ทางการเงินเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทัน และรู้วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อต้องประสบภัยทางการเงิน
อย่างไรก็ดี เพื่อให้การแก้หนี้ครัวเรือนมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ลูกหนี้จำเป็นต้องปรับตัว และสร้างวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้น (responsible borrowing) เช่น รู้สิทธิและเงื่อนไขสำคัญของสินเชื่อก่อนกู้ เป็นหนี้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว ชำระหนี้ตรงเวลา และเมื่อมีปัญหาชำระหนี้ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้
คุณสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยว่า ธปท. จะกำกับดูแลผู้ให้บริการอย่างทันการณ์และใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าลูกหนี้ได้รับการช่วยเหลือที่ตรงจุด เหมาะสม และได้รับบริการที่เป็นธรรม
โดยธปท. จะตรวจสอบผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่อง (ongoing supervision) เช่น ผลักดันและติดตามให้ผู้ให้บริการช่วยเหลือลูกหนี้ในช่วงโควิด 19 หรือตรวจสอบเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสินเชื่อรายย่อยของผู้ให้บริการบางแห่งที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่สำคัญ ในปีนี้ ธปท. จะตรวจสอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ Responsible Lending อย่างใกล้ชิด เช่น การโฆษณาให้ข้อมูลคำเตือนพร้อมอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้อง การให้สินเชื่อที่ลูกหนี้จ่ายไหว เพื่อกำกับดูแลให้เจ้าหนี้รับผิดชอบต่อลูกค้าตลอดวงจรหนี้อย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงิน สามารถบริหารจัดการหนี้ให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง
นอกจากนี้ ธปท. จะใช้เครื่องมือใหม่ ๆ และข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อวิเคราะห์ ติดตามและประเมินการปฏิบัติตามเกณฑ์ รวมถึงปัญหา/เรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการทางการเงิน ตลอดจนยกระดับการตรวจสอบผู้ให้บริการเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูล (text analytics) บนสื่อโซเชียลมีเดีย ชี้เบาะแส ติดตามปัญหาจากการใช้บริการทางการเงินที่มีการกล่าวถึงในสังคมออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการให้บริการของสถาบันการเงิน และเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนมายัง ธปท. ผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์
นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยังให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้สินและการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อช่วยให้พี่น้องเกษตรกรมีโอกาสในการลดภาระหนี้สิน มีรายได้ที่มั่นคง สามารถก้าวพ้นกับดักหนี้ได้อย่างยั่งยืน เช่น มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่สอดคล้องกับศักยภาพและรายได้ในกลุ่มหนี้ที่มีปัญหา โดยใช้ฐานข้อมูลและเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดกลุ่มลูกค้า การพัฒนาเครื่องมือและช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น เช่น การชำระหนี้ผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile และ Banking Agent เป็นต้น
มาตรการจ่ายดอก ตัดต้น : เมื่อลูกค้าส่งชำระหนี้ ธนาคารจะแบ่งการตัดชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยในสัดส่วน 50 : 50 ซึ่งจะทำให้ลูกค้าลดภาระหนี้ได้เร็วยิ่งขี้น โดยสามารถลดหนี้ได้แล้วกว่า 43,189 ล้านบาท มาตรการจ่ายต้น ปรับงวด โดยธนาคารจะปรับตารางชำระหนี้ใหม่ให้สอดคล้องกับรายได้และศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยมีลูกค้าเข้าร่วมมาตรการแล้วกว่า 12,684 สัญญา
ขณะเดียวกันยังสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชำระหนี้ผ่านโครงการชำระดีมีโชค โดยจูงใจให้ลูกค้าชำระหนี้ตรงตามกำหนดเวลา ซึ่งดอกเบี้ยและเงินต้นที่ชำระจริงทุก ๆ 1,000 บาท จะมอบเป็นสิทธิประโยชน์ในการชิงโชค 2 ชั้น ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ จำนวน 48,119 รางวัล มูลค่ารวมถึง 479 ล้านบาท โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 – 30 มิถุนายน 2567 จับรางวัลรวม 4 ครั้ง
นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังมีการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการทั้งหนี้ในและนอกระบบ โดยเฉพาะการบริหารจัดการหนี้ทั้งระบบ เพื่อลดปัญหาหนี้เสียและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกค้า ทำให้การเป็นหนี้ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ผ่านโครงการหนี้นอกบอก ธ.ก.ส. โดยสามารถแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้เกษตรกรลูกค้าและบุคคลในครัวเรือนให้กลับเข้ามาอยู่ในระบบของ ธ.ก.ส. ไปแล้วกว่า 712,518 รายเป็นเงินกว่า 60,355 ล้านบาท
ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าในเชิงรุกผ่านมาตรการต่างๆ ที่สำคัญใน 2 ด้าน ได้แก่
นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เผยว่า “ธนาคารได้ให้ความสำคัญกับการดูแลและช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ตลอดจนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ยังเผชิญผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ซึ่งธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ผ่านมาตรการความช่วยเหลือ และช่องทางต่างๆ ที่เหมาะสมกับลูกค้า โดยคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกค้าในอนาคต เพื่อช่วยกันประคับประคองลูกค้าที่มีศักยภาพให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ที่มีความผันผวนโดยไม่สะดุด และสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว”