นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมกราคม 2567 เท่ากับ 106.98 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2566 ซึ่งเท่ากับ 108.18 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง 1.11% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 35 เดือน
โดยเป็นการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน จากมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา
โดยเฉพาะผักสดและเนื้อสัตว์ เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมทั้งฐานราคาเดือนมกราคม 2566 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ
โดยมีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้
สำหรับปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ได้แก่
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 อยู่ระหว่าง (-0.3%) – 1.7% (ค่ากลาง 0.7%) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหาdสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง
คุณสุทธิชัย คุ้มวรชัย หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล. อินโนเวสท์ เอกซ์ กล่าวกับ SPOTLIGHT ว่า “จากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ที่ออกมาชะลอตัวลง อยู่ในการคาดการณ์ของเราอยู่แล้ว ซึ่งในเดือนหน้าก็คาดว่าจะลดลงอีก แต่มองเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น เชื่อว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นมา เพราะช่วงครึ่งปีหลังก็จะมีมาตรการภาครัฐมากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมีมุมมองว่า อัตราเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นบวกได้
อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของจีนที่จะประกาศมาวันที่ 8 ก.พ.2567 และอัตราเงินเฟ้อที่ออกมาติดลบนี้ ก็จะเปิดโอกาสให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้มากขึ้น ซึ่งในการประชุมกนง.ในวันที่ 7 ก.พ.นี้ เชื่อว่า กนง.จะมีการส่งสัญญาณถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายในลักษณะผ่อนคลายมากขึ้น แต่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมก่อน ที่ 0.25% ต่อปี
ขณะที่ยายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์ม X ว่าเงินเฟ้อติดลบมา 4 เดือนติดต่อกัน ย่อมเป็นสัญญาณความอ่อนแอทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง
และเป็นการเตือนให้รู้ว่านโยบายการคลัง ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาล และนโยบายการเงินที่เป็นหน้าที่ของแบงค์ชาติจะต้องสอดประสานและเดินไปด้วยกัน ถ้าต่างคนต่างทำคงจะแก้ปัญหาได้ยาก
ฉะนั้น เราคงต้องจับตาดูการส่งสัญญาณของกนง.ว่า จะมีลักษณะผ่อนคลายมากน้อยแค่ไหน จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประชุมครั้งถัดไปหรือไม่ อย่างไร? ในเมื่อทิศทางอัตราเงินเฟ้อยังติดลบอยู่แบบนี้ หรือนี่ คือ สิ่งที่กนง.ประมาณการไว้แล้ว!!