โดยสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ได้ออกมาปรับคาดกาณณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2567 โตต่ำสุด อยู่ที่ 2.3% จากเดิม 3.1% ซึ่ง GDP 2.3% เป็นระดับที่ต่ำมากอีกปีหนึ่ง เกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก การบริโภคคนไทยซบเซา การลงทุนภาครัฐทรุดตัว และ การส่งออกฟื้นตัวช้า
ด้าน SCB EIC ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2567 เหลือ 2.7% จากเดิม 3% แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องได้ จากแรงขับเคลื่อนของการท่องเที่ยวและภาคบริการรวมถึงเศรษฐกิจด้านอุปสงค์อื่นที่กลับมาขยายตัวเร่งขึ้นในหลายองค์ประกอบ โดยเฉพาะการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มดีขึ้น
ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มโตต่ำกว่าคาด ทำให้มีการปรับลดประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2567 ลงมาอยู่ที่ 2.8% จาก 3.1% จากปัจจัยด้านอุปสงค์ในประเทศที่โมเมนตัมยังแผ่วลง รวมถึง ภาคการผลิตที่ยังหดตัวต่อเนื่อง และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง สะท้อนได้จากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ยังหดตัวหลายเดือนติดต่อกัน
ปัจจัยที่ทำให้ปรับเป้า GDP ลงมี ดังนี้
แม้การผลิตในปี 2567 จะมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้จากแรงส่งของสินค้าอุปโภคบริโภคที่ฟื้นตัวตามอุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก กอปรกับการที่เศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนและห่วงโซ่การผลิตจีนมากท่ามกลางกระแสภูมิรัฐศาสตร์โลก รวมถึง ความสามารถของภาคการผลิตไทยในการปรับตัวกับห่วงโซ่การผลิตโลกใหม่และรูปแบบความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้ช้า ทำให้การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคส่งออกไทยยังทำได้ค่อนข้างจำกัด สะท้อนจากส่วนแบ่งยอดขายสินค้าส่งออกของไทยในตลาดโลกที่ยังใกล้เดิมมาตลอดทศวรรษ
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินว่า สำหรับปัจจัยบวกที่จะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตในปี 2567 นั้น มาจากการกลับมาเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐบาลและการส่งออกสินค้าที่คาดว่าขยายตัว 2% และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีโอกาสโตถึง 36 ล้านคนในปีนี้
โดยสาเหตุหลักมาจาก
สำหรับอัตราเงินเฟ้อไทยที่ติดลบต่อเนื่องหลายเดือน SCB EIC ประเมินว่า ไทยยังไม่เผชิญภาวะเงินฝืด โดยเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นบวกตั้งแต่เดือน พ.ค. เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือด้านราคาพลังงานจะสิ้นสุดลง โดยเฉพาะราคาน้ำมันในประเทศที่จะเริ่มปรับสูงขึ้น
นอกจากนี้ เงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงด้านสูงท่ามกลางความเสี่ยงห่วงโซ่อุปทานโลกชะงักจากสถานการณ์ทะเลแดง สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง รวมถึง นโยบายควบคุมการส่งออกของบางประเทศที่อาจทำให้ราคาสินค้าเกษตรบางชนิดเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวและน้ำตาล เงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งหลังของปีจึงจะเร่งกลับไปแตะกรอบเงินเฟ้อได้ โดย SCB EIC ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ 0.8% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2567 อยู่ที่ 0.6%
สำหรับอัตราเงินเฟ้อไทยที่ติดลบต่อเนื่องหลายเดือน SCB EIC ประเมินว่า ไทยยังไม่เผชิญภาวะเงินฝืด โดยเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นบวกตั้งแต่เดือน พ.ค. เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือด้านราคาพลังงานจะสิ้นสุดลง โดยเฉพาะราคาน้ำมันในประเทศที่จะเริ่มปรับสูงขึ้น
นอกจากนี้ เงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงด้านสูงท่ามกลางความเสี่ยงห่วงโซ่อุปทานโลกชะงักจากสถานการณ์ทะเลแดง สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง รวมถึง นโยบายควบคุมการส่งออกของบางประเทศที่อาจทำให้ราคาสินค้าเกษตรบางชนิดเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวและน้ำตาล เงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งหลังของปีจึงจะเร่งกลับไปแตะกรอบเงินเฟ้อได้ โดย SCB EIC ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ 0.8% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2567 อยู่ที่ 0.6%
ทั้ง 3 แบงก์มีมุมมองที่ตรงกันว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ มาอยู่ที่ระดับ 2.0% จากปัจจุบันที่ 2.5%
โดยมีมุมมองว่า SCB EIC การปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้นอกจากจะเป็นการปรับ Stance ของนโยบายการเงินให้เหมาะสมกับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่เปลี่ยนไปได้ทันสถานการณ์แล้ว จะยังมีผลช่วยบรรเทาภาระหนี้สูง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจและครัวเรือนเปราะบางที่อาจได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น รวมถึงช่วยเพิ่มปัจจัยบวกต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยท่ามกลางแรงส่งภาครัฐที่ยังติดขัดในปีนี้ได้อีกทาง
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธปท. ได้สิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นไปแล้วที่ 2.5% และ ธปท. มีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ยประมาณ 2 ครั้งในปี 2567 นี้ ส่วนประมาณการอัตราเงินเฟ้อของปีอยู่ที่ระดับ 0.8%
ด้าน CIMBT มีมุมมองว่า การลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งๆ ละ 0.25% โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงจาก 2.50% เป็น 2.00% ภายในสิ้นปี จากศักยภาพทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกน่าจะเกิดขึ้นในรอบการประชุมในเดือนเมษายน ซึ่งเลื่อนเข้ามาจากเดือนสิงหาคม
ทั้งนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบของกำลังซื้อที่ต่ำเนื่องจากการจ่ายเงินงบประมาณที่ล่าช้า อย่างไรก็ตาม เราไม่คาดหวังว่าการปรับตัวเหล่านี้จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้มากกว่าเกณฑ์การเติบโต 3.0% เนื่องจากไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายทางโครงสร้างที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม เช่น สังคมสูงวัย ขาดการลงทุนด้านเทคโนโลยีจากต่างชาติ FDI เติบโตช้า ขาดแรงงานมีทักษะ และปัญหาความล่าช้าในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เผยว่า เราต้องการเปรียบเปรยหรือสะท้อนถึงนโยบายการเงินโดยเฉพาะการตัดสินใจในการลดอัตรานโยบาย เพื่อเตือนถึงแรงกดดันหลังการลดดอกเบี้ยในครั้งแรกที่น่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายนนี้ ซึ่งเปรียบเสมือนการเปิดประตูให้น้ำไหลออกได้อย่างอิสระและไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อใดที่แบงก์ชาติตัดสินใจลดอัตรานโยบาย อาจถูกมองว่าเป็นการเปิดประตูสู่เงื่อนไขการเงินที่ผ่อนคลายขึ้น
อีกทั้ง จะยิ่งกระตุ้นความคาดหวังภายในตลาดการเงิน หรือทำให้ผู้ที่อยู่ในตลาดเงินและตลาดทุนดำเนินกิจกรรมไปในการกดดันให้อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงหรือมีผลข้างเคียงต่ออัตราแลกเปลี่ยนและกิจกรรมหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอื่นอย่างไม่ตั้งใจและควบคุมไม่ได้
เหมือนกับน้ำที่ไหลผ่านประตูที่เปิดออกและไม่สามารถย้อนกระแสน้ำให้ไหลกลับได้ การดำเนินนโยบายการเงินมีความสำคัญที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและการมองไกล โดยเน้นว่าการตัดสินใจเบื้องต้นสามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองต่อเนื่องที่สามารถกำหนดแนวทางของตลาดในทางที่ลึกซึ้งและมักไม่สามารถย้อนกลับได้
CIMBT ได้คาดการณ์ว่า เงินบาทจะอ่อนค่าถึง 37.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในสิ้นปี 2567 จากการประเมินก่อนหน้านี้ที่ระดับ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้ปรับมุมมองหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยช้ากว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า โดยเฟดอาจเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและการจ้างงานที่ยังแข็งแกร่ง ซึ่งจะกระทบต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายจากตลาดเกิดใหม่
กสิกรแนะเป็นศูนย์กลางการผลิต EV & Data Center ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้มองว่าในการขับเคลื่อนทั้งเรื่องการเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ศูนย์กลางด้าน Data Center หรือการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติในการลงทุนรูปแบบอื่นๆ มีกุญแจสำคัญคือ ประเทศไทยต้องมีพลังงานสะอาดเพียงพอในราคาที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเชิง Green Economy เข้ามาเพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทย