ในยุคที่คนไทยคุ้นเคยกับประกันภัยมากขึ้น หลายคนอาจสงสัยว่าเคยได้ยินชื่อ "กองทุนประกันวินาศภัย" ผ่านหูผ่านตาบ้าง แต่ไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร บทความนี้จะมาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ
ปัจจุบันคนไทยคุ้นเคยกับประกันภัยมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคโควิด-19 หลายคนมองหาประกันเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่าย ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง ประกันอัคคีภัย ประกันรถยนต์ ฯลฯ แต่การซื้อประกัน หมายถึงการทำสัญญากับบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งปัจจุบันมีถึง 56 บริษัท ทำให้บางครั้งเราอาจไม่มีเวลาศึกษาบริษัทผู้รับประกันอย่างละเอียด อาจเลือกซื้อตามความสะดวก หรือ "ถกใจ" เท่านั้น
ดังนั้น กองทุนประกันวินาศภัย จึงมาทำหน้าที่แทนคุณ หรือเรียกง่ายๆว่าเปรียบเสมือน "ตาข่ายนิรภัย" ที่คอยคุ้มครองผู้เอาประกันภัย กรณีบริษัทประกันวินาศภัยที่ซื้อประกันด้วย ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หมายความว่า หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เงินชดเชยจากกรมธรรม์ของคุณจะไม่สูญหายไป ยังมีโอกาสได้รับเงินชดเชยตามสัญญา ตัวอย่างกรณีที่กองทุนประกันวินาศภัยเข้ามาช่วย
กองทุนประกันวินาศภัย ถือกำเนิดขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551) เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 กองทุนฯ ดำเนินงานในรูปแบบนิติบุคคล ไม่ได้เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ภารกิจสำคัญของ กองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนฯ มีบทบาทสำคัญในการปกป้อง "เจ้าหนี้" หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามสัญญาประกันภัย กรณีบริษัทประกันวินาศภัยที่ซื้อประกันด้วยเผชิญปัญหาล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต เป้าหมายหลักคือเพื่อรักษาเสถียรภาพของธุรกิจประกันวินาศภัย สร้างความมั่นใจให้กับผู้เอาประกัน และสร้างระบบคุ้มครองเงินของคุณในยามวิกฤต
วัตถุประสงค์ของกองทุนประกันวินาศภัย
โดยกองทุนนี้ช่วยให้คลายกังวล มั่นใจว่าเราจะได้รับเงินชดเชย หากบริษัทประกันเกิดล้ม นอกจากนี้กองทุนคุ้มครองประกันภัยหลายประเภท เช่น ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย ประกันชีวิต (เฉพาะเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต)และที่สำคัญเราไม่จำเป็นต้องสมัครสมาชิก ไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นสิทธิ์โดยอัตโนมัติเมื่อท่านซื้อประกันวินาศภัยแล้ว
ต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยที่ทำไว้กับ บริษัทประกันวินาศภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตฯ หรือ กรณี “บริษัทประกันภัย” ถูกปิดกิจการ สำหรับกระบวนการชำระหนี้ จากกองทุนประกัน วินาศภัย
ตัวอย่าง สมมติว่า คุณซื้อประกันรถยนต์กับบริษัท Y มูลค่า 500,000 บาท และบริษัท Y ล้มละลาย คุณมีสิทธิได้รับเงินชดเชยสูงสุด 500,000 บาท จากกองทุนฯ
ล่าสุดมีรายงานว่ากองทุนประกันวินาศภัยเผชิญวิกฤตหนัก! เงินทุนสำรองร่อยหรอ หนี้สินพุ่งสูงถึง 60,000 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่อเจ้าหนี้กว่า 600,000 ราย โดยช้อมูลเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2567 กองทุนประกันวินาศภัยได้ออกประกาศปรับเปลี่ยนรอบการขออนุมัติการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ สาเหตุหลักมาจากภาระหนี้สินที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการชำระหนี้แทนบริษัทประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
แม้กองทุนพยายามหาทางออกเพื่อชำระหนี้โดยเร็วที่สุด แต่ด้วยข้อจำกัดทางการเงิน จึงจำเป็นต้องปรับรอบการจ่ายเงินให้สอดคล้องกับรายได้และเงินส่งเข้ากองทุนจากบริษัทประกันภัย ระหว่างรอเงินทุน กองทุนจะเร่งพิจารณารับรองมูลหนี้ให้เจ้าหนี้ และหากได้รับเงินสนับสนุนจากช่องทางอื่น เช่น การกู้ยืมเงิน ออกตราสารการเงิน หรือเงินสนับสนุนจากรัฐบาล จะรีบนำมาชำระหนี้โดยเร็วที่สุด
กองทุนประกันวินาศภัย ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2478 มีหน้าที่คุ้มครองเจ้าหนี้ กรณีบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต และเพื่อพัฒนาเสถียรภาพของธุรกิจประกันวินาศภัย นับตั้งแต่ก่อตั้ง มีบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต 14 บริษัท โดยเฉพาะช่วงการระบาดของโควิด-19 (ปี 2562-2565) ส่งผลให้กองทุนต้องชำระหนี้แทนบริษัทประกันภัยเป็นจำนวนมาก
ล่าสุด กองทุนมีเงินทุนสำรองเหลือเพียง 3-4 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องปรับแผนชะลอการจ่ายหนี้ รอเงินสมทบจากบริษัทประกันภัยที่จะเข้ามาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567
วิกฤตการณ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความเสถียรของธุรกิจประกันวินาศภัย และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตการณ์บานปลาย และสร้างความมั่นใจให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวม