ราคาทองในวันนี้ร่วงดิ่งลงอย่างหนักตลอดทั้งวัน เริ่มตั้งแต่เปิดตลาดราคาทองในประเทศช่วงเช้า ดิ่งลงครั้งเดียว -850 บาท และระหว่างวันมีการปรับขึ้นลงถึง 17 ครั้ง ทำใ้ห้ปิดตลาดทอง ปรับลดลงถึง -1,050 บาทต่อบาททองคำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ด้วยท่ามกลางความผันผวนของตลาด เศรษฐกิจที่ชะลอตัว การแสวงหา "สินทรัพย์ปลอดภัย" (Safe Haven) อาทิ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นDefensive เงินสด และทองคำ จึงกลายเป็นสิ่งที่แต่ละประเทศให้ความสำคัญ สินทรัพย์เหล่านี้ เปรียบเสมือนที่หลบภัยให้กับเงินทุน ช่วยรักษาหรือเพิ่มพูนมูลค่าในยามวิกฤต โดยมีคุณสมบัติตรงข้ามกับสินทรัพย์เสี่ยง ดังนั้นในวันนี้ Spotlight เราจะพาไปหาคำตอบว่าทำไม ธนาคารกลางทั่วโลก ถึงต้องสะสม ทองคำ และ ประเทศไทยมีทองคำสำรองมากขนาดไหน
เพราะว่าทองคำสำรองมีความสำคัญมากต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ทองคำทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บมูลค่าที่เชื่อถือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน ในช่วงปลายยุค 1800 และส่วนใหญ่ของยุค 1900 ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกยึดตามระบบที่เรียกว่า "มาตรฐานทองคำ" ระบบนี้กำหนดให้ประเทศต่างๆ รักษาค่าเงินกระดาษของตัวเองอ้างอิงกับปริมาณทองคำ ด้วยการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ระหว่างสกุลเงินของประเทศกับทองคำ หมายความว่าเงินแต่ละหน่วยที่ออกมานั้นมีมูลค่าเท่ากันในทองคำ และคนทั่วไปก็สามารถเอาเงินกระดาษไปแลกเป็นทองคำจริงได้ตามอัตราที่กำหนดไว้
แม้ว่าระบบมาตรฐานทองคำจะถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในช่วงทศวรรษ 1970 แต่หลายประเทศก็ยังคงเก็บทองคำเป็นทุนสำรองอยู่ เพราะเมื่อเศรษฐกิจไม่แน่นอน ทำให้ความต้องการทองคำสำรองเพิ่มขึ้น ธนาคารกลางของแต่ละประเทศเริ่มหันมาชอบทองคำมากขึ้นอีกครั้งในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ทองคำสำรองยังคงมีบทบาทอย่างต่อเนื่องในการกำหนดความน่าเชื่อถือทางการเงินและภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศ ถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันจะพัฒนาไปมากแล้วก็ตาม
ด้วยคุณสมบัติที่ไม่สามารถเสื่อมสลาย หมดเกลี้ยง หรือถูกพิมพ์เพิ่มได้ง่าย ทองคำจึงเปรียบเสมือนหลักประกันความมั่นคง ยามเศรษฐกิจตกต่ำ มูลค่าของทองคำมักเพิ่มสูงขึ้น ต่างจากสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น ที่มูลค่ามักร่วงลง ด้วยเหตุนี้ ทองคำจึงได้รับการขนานนามว่า สินทรัพย์ปลอดภัย ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความไว้วางใจมาจนถึงปัจจุบัน
อันดับ & ประเทศ | จำนวนทองคำสำรอง (ตัน) | มูลค่าทองคำสำรอง (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) & % ของทุนสำรองทั้งหมด |
1 สหรัฐอเมริกา | 8,133.46 | 543,499.37 (69.89%) |
2 เยอรมนี | 3,352.65 | 224,032.81 (69.06%) |
3 อิตาลี | 2,451.84 | 163,838.19 (65.89%) |
4 ฝรั่งเศส | 2,436.88 | 162,844.72 (67.28%) |
5 รัสเซีย | 2,332.74 | 155,880.00 (26.05%) |
6 จีน | 2,235.39 | 149,374.61 (4.37%) |
7 สวิตเซอร์แลนด์ | 1,040.00 | 62,543.91(7.64%) |
8 ญี่ปุ่น | 845.97 | 56,530.15 (4.37%) |
9 อินเดีย | 803.58 | 53,697.34 (8.54%) |
10 เนเธอร์แลนด์ | 612.45 | 40,925.77 (58.34%) |
11 ตุรกี | 540.19 | 36,096.67 (27.38%) |
12 ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) | 423.63 | 25,476.21 (4.32%) |
13 โปรตุเกส | 382.63 | 25,568.48 (72.15%) |
14 อุซเบกิสถาน | 371.37 | 24,816.10 (71.42%) |
15 โปแลนด์ | 358.69 | 23,968.87 (12.36% |
16 ซาอุดิอาระเบีย | 323.07 | 19,428.77 (4.24) |
17 สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) | 310.29 | 20,734.20 (11.64%) |
18 คาซัคสถาน | 294.24 | 19,661.66 (54.44%) |
19 เลบานอน | 286.83 | 17,249.75 (54.45%) |
20 สเปน | 281.58 | 18,815.76 (18.23%) |
อันดับ & ประเทศ | จำนวนทองคำสำรอง (ตัน) | มูลค่าทองคำสำรอง (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) & % ของทุนสำรองทั้งหมด |
1.ไทย (22 ของโลก) | 244.16 | 16,315.44 (7.26%) |
2.สิงคโปร์ (23 ของโลก) | 230.02 | 15,370.82 (4.27%) |
3.ฟิลิปปินส์ (26 ของโลก) | 164.77 | 9,909.14 (10.09%) |
4.อินโดนีเซีย (42 ของโลก) | 78.57 | 4,724.89 (3.5%) |
5.กัมพูชา (50 ของโลก) | 42.49 | 2,612.02 (14.21%) |
6.มาเลเซีย (53 ของโลก) | 38.88 | 2,598 (2.29%) |
7.พม่า (73 ของโลก) | 7.27 | 423.87 (5.21%) |
8.สปป. ลาว (98 ของโลก) | 0.88 | 51.37 (4.21%) |
ตามการประเมินของสภาทองคำโลก (World Gold Council) ณ ไตรมาส 4 ปี 2566 ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 1 ใน โซน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ อันดับที่ 22 ของโลก โดยมี จำนวนทองคำสำรอง 244.16 ตัน มูลค่าทองคำสำรอง 16,315.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 7.26% ของทุนสำรองทั้งหมดในประเทศ
มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้ประเทศต่างๆ ถือทองสำรองไว้ นี่คือบางส่วนที่สำคัญๆ
สรุป "ทองคำ" เปรียบเสมือน "ที่พึ่ง" ของธนาคารกลางทั่วโลก ช่วยให้แต่ละประเทศสามารถผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ รักษาเสถียรภาพทางการเงิน และดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
ถึงแม้ว่า ทองคำ จะเป็นหนึ่งในสินทรัพย์การลงทุนยอดนิยม ที่อยู่ในนิยาม Safe Haven แต่ทว่า ราคาทองคำก็มีความผันผวนอยู่เสมอ และอะไรที่เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางราคาทองคำ ?
1. ความต้องการซื้อขายคือแรงขับเคลื่อนหลัก : ราคทองคำเปรียบเสมือนลูกตุ้ม แกว่งไกวไปตามแรงโน้มถ่วงของ "ความต้องการซื้อขาย" ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก:
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อ "แรงขาย" ทองคำ เช่น การเทขายทองคำจากเหมือง การเทขายทองคำจากธนาคารกลาง และปริมาณทองคำที่หมุนเวียนในระบบ
2. สงคราม คือ ตัวเร่งปฏิกิริยา : ยามเกิดสงคราม ทองคำมักกลายเป็น "สินทรัพย์หลบภัย" ผู้คนต่างแสวงหาความมั่นคง เทเงินซื้อทองคำ ผลักดันราคามีแนวโน้มสูงขึ้น
3. เงินเฟ้อคือตัวบ่งชี้ทิศทาง : เงินเฟ้อ เปรียบเสมือน "มอนสเตอร์" ค่อย ๆ กัดกร่อนมูลค่าของเงิน ทองคำจึงกลายเป็น "โล่ห์ป้องกัน" รักษามูลค่าของเงิน ยามเงินเฟ้อพุ่งสูง ราคาทองคำมักมีแนวโน้มสูงขึ้น
4. อัตราดอกเบี้ย คือ แรงดึงดูดและดาบสองคม : อัตราดอกเบี้ย เปรียบเสมือน "แรงดึงดูด" ดึงดูดเม็ดเงินลงทุน ยามอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น นักลงทุนมักเทขายทองคำ หันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูงกว่า ส่งผลให้ราคาทองคำมีแนวโน้มลดลง
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับราคาทองคำนั้น ซับซ้อนกว่าที่กล่าวมา ขึ้นอยู่กับปัจจัยเศรษฐกิจอื่น ๆ ร่วมด้วย
นอกจากปัจจัยหลัก 4 ประการข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อราคาทองคำ เช่น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมัน
ที่มา World gold council และ forbesindia