กรมการค้าภายใน แจ้งแนวโน้มราคาจำหน่ายเนื้อสุกรชำแหละ มีการปรับขึ้นราคาจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ 12 เมษายน 2565 ขึ้นอีกกิโลกรัมละ 5 บาท ดังนี้
- ราคาเนื้อสันนอกอยู่ที่ 190–200 บาท/กก. ปรับขึ้นจาก 185–195 บาท
- ราคาเนื้อแดง สะโพก 180–190 บาท/กก. ปรับขึ้นจาก 180–185 บาทต่อกก.
- ราคาหมูสามชั้น 210–230 บาท/กก. ปรับขึ้นจาก 205–225 บาท
ขณะที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้ประกาศราคาแนะนำเนื้อหมู ประจำวันที่ 16 เมษายน 2565
- ราคาขายหมูเป็น (หน้าฟาร์ม) กิโลกรัมละ 96-98 บาท เพิ่มขึ้น 2-3 บาท/กก.
- ราคาขายส่ง กิโลกรัมละ 150-156 บาท เพิ่มขึ้น 3 บาท/กก.
- ราคาขายปลีก กิโลกรัมละ 190-196 บาท เพิ่มขึ้น 3 บาท/กก. – สูงสุด14 บาท /กก.
ทั้งนี้เนื่องจากเปรียบเทียบกัยราคาที่สมาคมประกาศ ณวันพระที่ 9 เมษายน 2565 ที่หมูเป็นอยู่ที่ กก.ละ 92-96 บาท ราคาแนะนำขายส่งอยู่ที่กก.ละ 147-153 บาท และราคาแนะนำขายปลีกอยู่ที่กก.ละ 182-192 บาท เพื่อลดภาวะขาดทุนจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่ง 30% รัฐVSเอกชนยังแก้ปัญหาไม่ลงตัว
ขณะที่ พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ระบุว่า ปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้นของอาหารสัตว์ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างสมบูรณ์ แม้ที่ผ่านมาจะมีการพูดคุยหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐแต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ ต้องปรับตัวกันเอง หากต้นทุนที่นำเข้ายังคงสูง แต่มีการควบคุมราคาปลายทาง ก็จำเป็นจะต้องลดกำลังการผลิตลง เพราะไม่สามารถแบกรับการขาดทุนได้ ผู้บริโภคต้องยอมรับในราคาอาหารที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น
โดยสมาคมฯได้แจ้งสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มาตั้งแต่ปลายปี 2564 ต้นปี2565 ก่อนสงครามรัสเซีย – ยูเครน จนถึงปัจจุบันต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับเพิ่มขึ้น 30% แล้ว ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากกิโลกรัมละ 10 บาท เพิ่มเป็น 13 บาท และไม่มีสินค้าด้วย
ที่ผ่านมามาคมฯเสนอให้ยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% ยกเลิกมาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี 3 : 1 ส่วน และเปิดให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้กรอบ WTO, AFTA ยกเลิกโควตา ภาษี และค่าธรรมเนียม ในปริมาณขาดแคลน ในปี 2565 แต่ไม่ได้รับพิจารณา โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบาย และบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา เห็นชอบให้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3.8 แสนตัน ซึ่งไม่เป็นธรรม และน้อยกว่าความต้องการใช้ที่ประมาณ 1.1 ล้านตัน อีกทั้งยังเหลือระยะเวลาการนำเข้าอีก 2 เดือนเท่านั้น คือต้องภายในเดือนกรกฎาคม 2565 ดังนั้นแนงทางการแก้ปัญหาร่วมกันจึงยังไม่ชัดเจน
สำหรับต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ในปี 2564 ปรับตัวสูงขึ้น 20- 25% และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าปศุสัตว์โดยตรง เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นต้นทุน 60-70% ของการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่สินค้าอาหารในหมวดโปรตีนจะอยู่ในระดับขึ้นต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไข่ไก่ขึ้นราคาอีก 10 สต./ฟอง เป็น 3.50 บาท/ฟอง มีผลพรุ่งนี้ ! อั้นไม่ไหวต้นทุนการเลี้ยงสูง