ข่าวเศรษฐกิจ

ดับฝันสหพัฒน์! 'จุรินทร์ ' สั่งห้ามขึ้นราคา "มาม่า"

10 มิ.ย. 65
 ดับฝันสหพัฒน์! 'จุรินทร์ ' สั่งห้ามขึ้นราคา "มาม่า"
ไฮไลท์ Highlight
"ก็เห็นใจผู้ผลิต ซึ่งทราบว่าหลังจากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมาก เพราะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ต้นทุนการผลิตอาหารเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ขอความร่วมมือให้ช่วยกันตรึงราคาสำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้นานที่สุด เราก็เห็นใจผู้ผลิต เพราะหากผลิตไปแล้วไม่มีผลกำไร แล้วหยุดผลิต ปัญหาใหม่จะตามมา ไม่ใช่ของแพง แต่เป็นปัญหาของขาดตลาด สำหรับผู้บริโภคเราก็เห็นใจ ถ้าจะต้องปรับขึ้น ก็ให้กระทบน้อยที่สุด" นายจุรินทร์ กล่าว

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กรณีที่กลุ่มสหพัฒน์ฯ เตรียมขอปรับขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หลังต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงจากผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครน ว่า ปัจจุบัน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขายอยู่ซองละ 6 บาท ซึ่งผู้ผลิตได้มีการร้องขอปรับราคามาหลายเดือนแล้ว แต่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่มีการอนุญาตให้ปรับขึ้น

 

ทั้งนี้ จากที่มีข่าวเรื่องปรับราคาก่อนหน้านี้ คือ การปรับราคาระบบการบริหารจัดการภายในเป็นทอดๆ เช่น จากโรงงานไปร้านค้าปลีก เป็นต้น แต่ปลายทางยังราคาซองละ 6 บาท สำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพื้นฐานทั่วไป ขณะนี้กรมการค้าภายในยังไม่มีการอนุญาตให้ปรับขึ้นราคา และจะให้กรมการค้าภายในจะไปเจรจากับผู้ผลิต เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ร่วมกันได้ ภายใต้วิน-วินโมเดล

 

"ก็เห็นใจผู้ผลิต ซึ่งทราบว่าหลังจากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมาก เพราะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ต้นทุนการผลิตอาหารเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ขอความร่วมมือให้ช่วยกันตรึงราคาสำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้นานที่สุด เราก็เห็นใจผู้ผลิต เพราะหากผลิตไปแล้วไม่มีผลกำไร แล้วหยุดผลิต ปัญหาใหม่จะตามมา ไม่ใช่ของแพง แต่เป็นปัญหาของขาดตลาด สำหรับผู้บริโภคเราก็เห็นใจ ถ้าจะต้องปรับขึ้น ก็ให้กระทบน้อยที่สุด" นายจุรินทร์ กล่าว

 

มาม่าขึ้นราคา


ขณะที่ล่าสุดก่อนหน้านี้ นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC ระบุว่า หากภาครัฐควบคุมการขึ้นราคาสินค้าเป็นระยะเวลานาน มีโอกาสที่สินค้าจะขาดตลาด เพราะผู้ผลิตอาจลดกำลังการผลิตลงหรือชะลอการผลิต ทำให้เกิดการกักตุนสินค้าและท้ายที่สุดก็ขาดตลาด แต่หากปล่อยให้ทยอยปรับขึ้นก็จะไม่เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งขณะนี้สหพัฒน์ได้จองและสต๊อกสินค้าให้เพียงพอต่อกระบวนการผลิต

 


ด้านนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาราคาสินค้าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน สนค. จึงได้ติดตามและประเมินสถานการณ์ หลังประเทศอินโดนีเซียยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม โดยน้ำมันปาล์มบรรจุขวด เป็นหนึ่งในสินค้าที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงพาณิชย์

 

ทั้งนี้ จากสถิติราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดในปี 64 พบว่า ราคาน้ำมันปาล์มดิบกึ่งบริสุทธิ์อยู่ที่ขวดละ 54-55 บาท ขณะที่ปัจจุบัน (พ.ค. 65) ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ขวดละ 68 บาท สืบเนื่องจากราคาเฉลี่ยของผลปาล์มดิบปรับเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ย 6.5 บาทต่อกิโลกรัม ในปี 64 เป็น 9.6 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565

 

สำหรับการขยับขึ้นของราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลก เกิดขึ้นจาก 4 สาเหตุหลัก คือ

 

น้ำมันปาล์ม

 

1.การฟื้นตัวของความต้องการน้ำมันปาล์มในตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดอินเดีย

 

2. มาตรการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซีย เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนในประเทศ โดยในปี 65 ได้ออกมาตรการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มแล้ว 2 ครั้ง คือ เดือนม.ค.-มี.ค. และเดือนพ.ค.

 

3. ผลกระทบด้านพลังงานที่เกิดจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้มีการใช้น้ำมันปาล์มผสมเป็นไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นในฐานะพลังงานทดแทน

 

4. ผลกระทบจากภัยแล้งในแอฟริกาใต้ ทำให้ปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองลดลง ภาคการผลิตอาหารส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องหันมาใช้น้ำมันปาล์มเป็นทางเลือกมากขึ้น

 

นายรณรงค์ กล่าวว่า ประเด็นที่อินโดนีเซียประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. 2565 นั้น สนค. ประเมินว่า แม้ว่าอินโดนีเซียจะเริ่มส่งออกน้ำมันปาล์มได้อีกครั้ง แต่คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกจะยังคงทรงตัวระดับสูงในระยะสั้น โดยวิกฤติด้านราคาน่าจะคลี่คลายลงในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า เมื่ออุปทานน้ำมันปาล์มจากอินโดนีเซียเข้าสู่ตลาดอย่างเต็มที่

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

1.สหพัฒน์ อั้นไมไหว ขอขึ้นราคามาม่า ผงซักฟอก หลังต้นทุนพุ่งต่อเนื่อง

 

2."มาม่า" ขึ้นราคาครั้งแรกรอบ 15 ปี อั้นไม่อยู่หลังต้นทุนผลิตพุ่ง คาดเริ่มมีผลต้น พ.ค. นี้

 

advertisement

SPOTLIGHT