ข่าวเศรษฐกิจ

กอบศักดิ์ เตือน เฟดเตรียมใช้ยาแรง หลังเงินเฟ้อพุ่งไม่เลิก

13 มิ.ย. 65
กอบศักดิ์ เตือน เฟดเตรียมใช้ยาแรง หลังเงินเฟ้อพุ่งไม่เลิก
ไฮไลท์ Highlight
“ข้อมูลเงินเฟ้อที่ออกมาเมื่อคืนนี้ ได้เปลี่ยนมุมมองของหลายๆ คน หลังข้อมูลดังกล่าวออกมา ดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐ 2 ปี พุ่งสูงสุดในรอบ 14 ปี ปรับตัว +0.25% ใน 1 วันที่ผ่านมา สะท้อนความคาดการณ์ของนักลงทุนว่า ถ้าเงินเฟ้อเป็นอย่างนี้ ไม่ยอมลงมา แถมดูเหมือนจะดื้อยา เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยด้วยซ้ำไป สุดท้าย คุณหมอเฟดคงต้องเพิ่มขนาดยาให้แรงขึ้นไปอีกนิดด้วย” นายกอบศักดิ์ ระบุ

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และเลขานุการ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์ข้อความบน Facebook ส่วนตัว Kobsak Pootrakool เกี่ยวกับความกังวลใจว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อในระดับที่มากกว่าเคยส่งสัญญาณไว้กอนหน้านี้

 

หลังตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ ได้แก่ ดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐ 2 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.25% พุ่งสูงสุดในรอบ 14 ปี

 

istock-1400208591

 

“ข้อมูลเงินเฟ้อที่ออกมาเมื่อคืนนี้ ได้เปลี่ยนมุมมองของหลายๆ คน หลังข้อมูลดังกล่าวออกมา ดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐ 2 ปี พุ่งสูงสุดในรอบ 14 ปี ปรับตัว +0.25% ใน 1 วันที่ผ่านมา สะท้อนความคาดการณ์ของนักลงทุนว่า ถ้าเงินเฟ้อเป็นอย่างนี้ ไม่ยอมลงมา แถมดูเหมือนจะดื้อยา เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยด้วยซ้ำไป สุดท้าย คุณหมอเฟดคงต้องเพิ่มขนาดยาให้แรงขึ้นไปอีกนิดด้วย” นายกอบศักดิ์ ระบุ

 

นายกอบศักดิ์ ระบุว่า จากเดิมที่เฟดจะต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ไปอีก 2 ครั้ง ตอนนี้คิดว่าอาจปรับเป็นอย่างน้อย 3 ครั้ง ด้านนักลงทุนในตลาดหุ้นก็เตรียมหลบภัยแล้วเช่นกัน หลังดัชนี Dow Jones ลดลง 2 วัน -1,518 จุด หรือ -4.61% ทำให้ดัชนีที่ขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ค. 65 ได้เกือบจะกลับไปที่เดิมแล้ว สอดคล้องกับดัชนี NASDAQ ที่ลดลง -6.17% S&P500 ที่ลดลง -5.22% และเป็นสัปดาห์ลดมากสุดในรอบหลายเดือน

 

(s)istock-621364802

 

ขณะที่ค่าเงินสหรัฐที่อ่อนค่าลงไปช่วงหนึ่ง เริ่มแข็งค่ากลับมาที่ 104.2 อีกรอบ จากลงไปแตะ 101.3 เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา หลัง ECB ออกมาส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยด้วย เกือบ 3% ในช่วงสั้นๆ ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทบค่าเงินสกุลต่างๆ เช่น เงินเยนที่ตอนนี้อยู่ที่ 134.4 เยน/ดอลลาร์ อ่อนลง -5.5% จาก 127.1 เยน/ดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกัน และราคาทองคำที่ลดลงไปที่ 1,800 ดอลลาร์ ตอนนี้ขยับชั่วคราวมาอยู่ที่ 1,875 ดอลลาร์/ออนซ์

 

“ทั้งหมดนี้มาจากมุมมองของตลาดที่เปลี่ยนไปมาระหว่าง 1 เดือน เกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐ จากที่เคยคิดว่าน่าจะเอาอยู่ เปลี่ยนไปเป็นยังเอาไม่อยู่ Inflation is alive and well ! พร้อมจะกลับมา” นายกอบศักดิ์ ระบุ

 

นอกจากนี้ การที่จีนเริ่มเปิดเมือง กระตุ้นให้สงครามด้านเศรษฐกิจระหว่างรัสเซียกับสหรัฐและพันธมิตร ยังคงเดินหน้าด้วยมาตรการคว่ำบาตรใหม่ๆ ล่าสุด ประกาศจะลดการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย 90% ในช่วงปลายปีนี้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกที่เคยนิ่ง อยู่ในช่วง 100-110 ดอลลาร์/บาเรล ปรับขึ้นไปเป็นประมาณ 120-125 ดอลลาร์/บาเรล กดดันให้เงินเฟ้อเพิ่ม และอยู่ยาวนานขึ้น

 

istock-1160256703

 

“ตลาดจึงเริ่มปรับมุมมอง ปรับตัวอีกครั้ง แล้วมารอลุ้นกันว่า เฟดจะทำอะไรในการประชุมสัปดาห์หน้า จะมีอะไรมา surprise หรือไม่ แต่ที่ลุ้นยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ลุ้นว่าท่านประธานเฟดจะพูดอะไร !!! เพราะทุกครั้ง ผลประชุมเป็นไปตามคาด แต่ท่านประธานเฟดมักจะพูดเพิ่มเติมประเด็นให้คิดอยู่เสมอๆ จนตลาดเหวี่ยงไปมา” นายกอบศักดิ์ ระบุ 

 

สำหรับประเทศไทยอยากให้มองข้ามปัจจัยระยะสั้นที่จะเกิดขึ้นสัปดาห์ต่อสัปดาห์แล้วมองในภาพรวมว่า สงครามของเฟดกับเงินเฟ้อน่าจะยืดเยื้อ เพราะเป้าหมายของเฟดไม่ใช่แก้เงินเฟ้อไม่ให้ขึ้นต่อหรือเริ่มลง ซึ่งเป็นเพียงชัยชนะเบื้องต้นเท่านั้น แต่ชัยชนะแท้จริงที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของเฟดก็คือ “เงินเฟ้อต้องลงมาที่ 2.0%” ยิ่งเงินเฟ้อขึ้นไปสูงนานๆ ก็จะไม่ลดลงสู่เป้าหมายโดยง่าย ต่อให้ลงก็จะค้างอยู่ที่ประมาณ 3-4% ไปสักระยะ ทำให้เฟดยังแพ้สงครามกับเงินเฟ้ออยู่ ในที่สุดต้องใส่ยาเพิ่ม ขึ้นดอกเบี้ยไป จนเงินเฟ้อสยบ

 

“ความผันผวนส่วนหนึ่งจึงมาจากความพยายามของตลาดที่จะเดาว่า สงครามครั้งนี้จะจบยัง? ดอกเบี้ยขึ้นแค่นี้น่าจะพอแล้วใช่หรือไม่ จะได้เริ่ม Party รอบใหม่กันเสียที เพราะที่ลดลงมาก็ดูน่าสนใจมาก ขณะเดียวกันก็ไม่อยากเจ็บตัวเพิ่มหากตลาดจะลงต่ออีก ทำให้ละล้าละลังว่าจะเข้าดีหรือไม่ หรือจะรอก่อน ทุกคนจึงอ่อนไหวต่อข่าวต่างๆ ที่ออกมา นำมาซึ่งความปั่นป่วนของตลาด ที่จะอยู่กับเราไปอีกระยะ” นายกอบศักดิ์ ระบุ

 

ee4c3e31-22a0-48ce-a22d-a4eea

 

ในช่วงที่สงครามกับเงินเฟ้อยังไม่ชัดเจนว่าจะจบหมายความต่อไปว่า ปีนี้ลงทุนไม่ง่าย อะไรๆ ก็เกิดได้ เหวี่ยงไปมา เพียงเพราะจากตัวเลขหนึ่งตัวที่ประกาศจากลมปากที่พูดออกมา และจากการตัดสินใจของธนาคารกลางต่างๆ โดยราคาสินทรัพย์ต่างๆ พร้อมทดสอบ New low หรือ New high สมกับเป็น Economic Turbulence 2022

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT