ข่าวเศรษฐกิจ

ขีดความสามารถ "ประเทศไทย" ในเวทีโลกร่วง 5 อันดับ ตกสู่อันดับที่ 33

15 มิ.ย. 65
ขีดความสามารถ "ประเทศไทย" ในเวทีโลกร่วง 5 อันดับ ตกสู่อันดับที่ 33

IMD เผยขีดการแข่งขันของไทยในเวทีโลก "ร่วงลงทุกด้าน" ล่าสุดหล่น 5 อันดับสู่ที่ 33 จากทั้งหมด 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก


นายธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จัดทำโดย IMD ประจำปี 2565 พบว่า ผลกระทบสะสมจากโควิด-19 ส่งผลให้ปีนี้ประเทศไทยมีอันดับลดลงถึง 5 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 33 จากทั้งหมด 63 เขตเศรษฐกิจ โดยมีอันดับลดลงในทุกปัจจัยชี้วัด โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

thai1


จากปัจจัยหลักที่ IMD ใช้ในการจัดอันดับรวม 4 ด้าน พบการประเมินล่าสุด ดังนี้

  • ด้านเศรษฐกิจ (Economic Performance) - ลดลงมากสุดถึง 13 อันดับ อันเนื่องมาจากประเด็นการค้าระหว่างประเทศและเศรษฐกิจภายในประเทศ

  • ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) - ลดลง 11 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 31 ในปี 2565 เนื่องจากประเด็นด้านการคลังและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ ซึ่งลดลง 15 และ 8 อันดับตามลำดับ
  • ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) - ลดลงจากอันดับที่ 21 มาอยู่ที่อันดับ 30 โดยประเด็นด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพยังคงเป็นปัญหาหลัก
  • ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) - ลดลง 1 อันดับ จากอันดับที่ 43 มาอยู่ที่อันดับ 44

thai2

thairanking_1


สำหรับในระดับอาเซียน IMD มีการจัดอันดับเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้รวม 5 เขตเศรษฐกิจ โดย "สิงคโปร์" ยังคงเป็นผู้นำ ขึ้นจากอันดับที่ 5 ไปเป็นอันดับที่ 3 ของโลกในปีนี้

ในขณะที่ "มาเลเซีย" ตามมาในอันดับที่ 32 หรือลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 25 ส่วน "อินโดนีเซีย" อันดับลดลงจากที่ 37 ลงมาเป็นที่ 44 และ "ฟิลิปปินส์" ดีขึ้นจากอันดับที่ 52 ไปอยู่ที่ 48 ในปีนี้

ส่วนภาพรวมในระดับโลกนั้น เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2565 ได้แก่

  1. เดนมาร์ก - เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2 อันดับ
  2. สวิตเซอร์แลนด์ - ลดลงจากปีก่อน 1 อันดับ
  3. สิงคโปร์ - เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2 อันดับ
  4. สวีเดน - ลดลงจากปีก่อน 2 อันดับ
  5. ฮ่องกง - เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2 อันดับ



IMD พบว่าเขตเศรษฐกิจที่อยู่อันดับต้น ๆ ของโลกในปีนี้เป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็ก (Smaller economies) โดยมีจุดเด่นหรือความก้าวหน้าในด้านหลักๆ อาทิ

  • ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Advanced digital technologies)
    มีนโยบายสนับสนุนที่ดี (Good policies)
  • มีความชัดเจนในการส่งเสริมด้านความยั่งยืน (Sustainability)
  • มีภาคธุรกิจที่มีศักยภาพในการปรับตัวสูง (Agile companies)
  • ภาครัฐมีประสิทธิภาพแข็งแกร่ง (Government efficiency)


จุดเด่นเหล่านี้ ทำให้เขตเศรษฐกิจดังกล่าวมีความสามารถในการปรับตัวในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอน ทั้งจากผลกระทบของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) และการระบาดของไวรัสโควิด 19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT