ผลไม้สด แช่แย็น แช่แข็งและแห้งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศไทยอันดับที่ 3 มูลค่า 5 เดือนแรกอยู่ที่ 3,766.8 ล้านเฉพาะการส่งออกผลไม้สดเดือน พ.ค. เพิ่ม 28.7%โดยมังคุด เพิ่ม 566.1% สับปะรดสด เพิ่ม 410% ลำไยแห้ง เพิ่ม 214.9% ทุเรียนสด เพิ่ม 11.4%
สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทย ยังเป็นดาวเด่นในภาคการส่งออกอย่างต่อเนื่องท่าม กลางวิกฤติอาหารโลกที่เกิดจากสงครามรัสเซีย ยูเครน ไทยมีสถานะเป็น “ครัวของโลก” ได้ในเวลานี้ สินค้าโดดเด่นมากคือการส่งออกผลไม้สด แช่แย็น แช่แข็งและแห้ง ยังขยายตัวได้ถึง 27.6% ในเดือนพฤษภาคม มูลค่ารวม 1,601.4 ล้านดอลาร์สหรัฐ
กระทรวงพาณิชย์เพิ่งจะมีการประกาศตัวเลขการส่งออกของไทย ประจำเดือนเดือนพฤษภาคม 2565 พบว่า การส่งออกไทย มีมูลค่า 25,509.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 854,372 ล้านบาท ขยายตัว10.5 % ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 แล้ว ภาพรวมการส่งออก 5 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-พฤษภาคม) มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 122,631.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 12.9
ทางด้านตลาดส่งออก ตลาดที่ขยายตัวสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือน พ.ค.65 ได้แก่ 1.เอเชียใต้ เพิ่ม 55.7% 2.แคนาดา เพิ่ม 45.3% 3.ตะวันออกกลาง เพิ่ม 37.9% 4.สหรัฐฯ เพิ่ม 29.2% 5.ลาตินอเมริกาเพิ่ม 22.5% 6.เกาหลีใต้ เพิ่ม 14.5% 7. CLMV เพิ่ม 13.1% 8.สหภาพยุโรป เพิ่ม 12.8% 9.แอฟริกา เพิ่ม 10.2% และ 10. อาเซียน (5) เพิ่ม 8.3%
หมวดสินค้าเกษตร เพิ่ม 21.5% เพิ่มขึ้น 3 เดือนต่อเนื่อง โดยสินค้าสำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่ม 81.4% ผลไม้สด เพิ่ม 28.7% เฉพาะมังคุด เพิ่ม 566.1% สับปะรดสด เพิ่ม 410% ลำไยแห้ง เพิ่ม 214.9% ทุเรียนสด เพิ่ม 11.4% และข้าว เพิ่ม 24.7% สินค้าหมวดอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่ม 32.7% บวก 15 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวสูง เช่น น้ำตาลทราย เพิ่ม 171.2% อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 32.5% อาหารสัตว์เลี้ยง เพิ่ม 25.4%
โดย ผลไม้สด แช่แย็น แช่แข็งและแห้ง เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศไทยอันดับที่ 3 มูลค่า 5 เดือนแรกอยู่ที่ 3,766.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาจาก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ ซึ่งถึงแม้ทั้ง 2 สินค้านี้จะมีมูลค่ามากกว่ากลุ่มผลไม้แต่ แต่ในแง่การขยายตัวยังคงติดลบแตกต่างจากกลุ่มผลไม้ที่ขยายตัว 27.6% เทียบจากปีที่แล้ว และขยายตัว 2.1 ในช่วง5 เดือนของปีนี้
สถิติการส่งออกเฉพาะผลไม้สดเดือน พ.ค. เพิ่ม 28.7% เฉพาะมังคุด เพิ่ม 566.1% สับปะรดสด เพิ่ม 410% ลำไยแห้ง เพิ่ม 214.9% ทุเรียนสด เพิ่ม 11.4%
โดยตลาดสำคัญของการส่งออกผลไม้ไทย ได้แก่ จีน มาเลเซีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งนี้หากย้อนดูข้อมูลของทั้งปี 2564 พบว่า ผลไม้ดาวเด่นของไทย 5 รายการแรกที่มีมูลค่าส่งออกสุูงสุดในปี 2564 ได้แก่
ผลไม้ไทยได้ชื่อว่ารสชาติดี เป็นเอกลักษณ์ แม้ปัจจุบันเราจะส่งออกได้มูลค่าดี แต่การแข่งขันจากต่างประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสินค้าส่งออกเป็นสิ่งที่ไทยต้องยกระดับด้วยเช่นกัน
หากดูข้อมูลจะพบว่า การส่งออกในภาพรวมที่ขยายตัวดีในช่วง 5เดือนของปีนี้ สามารถทำเงินเข้าประเทศแล้ว 4 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากมาตรการส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ โดยมีการส่งออกผลไม้ไปจีนผ่านทางอากาศและทางเรือทดแทนทางบกได้สำเร็จ
นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ ยังชี้แจงว่า ผลสำเร็จจากการจัดงานTHAIFEX - ANUGA ASIA 2022 ที่ทำรายได้มากกว่า 6หมื่นล้านบาท มีการใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ มินิเอฟทีเอ รวมทั้งตลาดโลกมีความต้องการอาหารมากขึ้น ขณะที่การผลิตทั่วโลกยังขยายตัว เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกเช่นกัน ส่วนเงินบาทที่อ่อนค่ายังทำให้สินค้าไทยแข่งขันราคาได้ดี
โดยในช่วง7 เดือนที่เหลือคาดว่าการส่งออกยังเติบโตต่อเนื่อง ทั้งปีจะขยายตัวเกินเป้าที่4-5% ทำรายได้รวมเกินเป้าหมาย 9 ล้านล้านบาท โดยยังเป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทำให้จีดีพีเติบโตดี
.