ข่าวเศรษฐกิจ

1 บาท = 4 เยน ทำไม 'เยน'เทียบ 'บาท' อ่อนค่าสุดในรอบ 26 ปี

3 พ.ค. 66
1 บาท =  4 เยน  ทำไม 'เยน'เทียบ 'บาท' อ่อนค่าสุดในรอบ 26 ปี

ค่าเงินเยนปรับตัวอ่อนค่าลงมาอย่างต่อเนื่อง จนตอนนี้ ค่าเงินเยน เมื่อเทียบกับค่าเงินบาท อยู่ที่ 1 บาท = 4 บาท ถือเป็นการอ่อนค่าสูงสุดในรอบ 26 ปี นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2540 

โดยเมื่อเทียบตั้งแต่ปลายปี จนถึงปัจจุบัน พบว่า ค่าเงินเยน อ่อนค่า เป็นอันดับ 2 อ่อนค่าลง 3.64% รองลงมาจากเงินวอน ของไตัหวัน ที่อ่อนค่าที่สุด ที่ 5.38% ขณะที่รูเปียของอินโดนีเซีย แข็งค่าสุด ที่ระดับ 5.84% ขณะที่ค่าเงินบาทของไทย แข็งค่าเป็นอันดับ 2 ที่ระดับ 1.68% เมื่อเทียบค่าเงินในภูมิภาคเอเซีย

106261

SPOTLIGHT จะพามาดูสาเหตุของการอ่อนค่าลงของค่าเงินเยน เมื่อเทียบกับบาท

สาเหตุค่าเงินเยนอ่อนเทียบบาทอ่อนสุดรอบ 26 ปี

862143

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ หัวหน้านักกลยุทธ์ ฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวกับ “SPOTLIGHT” ถึง 3 สาเหตุที่ค่าเงินเยนอ่อน

 

  • นโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่ผ่านมา BOJ ยังคงดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายอยู่ เพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ทุกประเทศทั่วโลกได้หันมาใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด เพื่อสกัดเงินเฟ้อกันหมดแล้ว
  • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญีุ่่ปุ่น ขณะนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังรออานิสงค์ของการเปิดเมืองอยู่ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว นักลงทุนเข้าประเทศ แต่ขณะนี้ตัวเลขภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ฟื้น และนักลงทุนยังมองว่า ค่าเงินของสหรัฐฯ และยุโรปยังเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอยู่ในขณะนี้ และยังมีเงินทุนไหลเข้าอยู่
  • ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ยังปรับตัวแข็งค่าขึ้น และนักลงทุนยังมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และเศรษฐกิจสหรัฐฯ เอง ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ได้มีการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ค่าเงินเยน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าลงมาแล้วประมาณ 10% ตั้งแต่ 13 มกราคม 2566 

 

เงินเยนมีโอกาสแข็งขึ้น Q3/66

แนวโน้มค่าเงินเยนมีสัญญาณที่จะปรับตัวแข็งค่าขึ้นได้ในไตรมาส 3/66 เมื่อเฟดหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย คาดว่าจะเห็นค่าเงินเยนปรับตัวแข็งค่าขึ้น จากปัจจุบันที่อ่อนค่าลงไปประมาณ 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และเชื่อว่า BOJ จะต้องมีการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น คงต้องจับตาดูนโยบายการเงินของ BOJ และหากเป็นเช่นนั้น ค่าเงินเยนมีโอกาสปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นไปถึง 20-30% ได้เลยทีเดียว 

เพราะเมื่อเฟดหยุดขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 5% เชื่อว่าจะมีเงินไหลออกจากสหรัฐฯ ไปหาแหล่งลงทุนอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งอาจจะทำให้มีเงินไหลเข้าไปที่ญี่ปุ่น และส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วได้

เงินเยนอ่อนโอกาสของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

เมื่อค่าเงินเยนอ่อนตัวลงก็จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไปท่องเที่ยวในญี่ปุ่นมากขึ้น แต่ขณะนี้ก็ยังไม่เห็นตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในญี่ปุ่นเท่าไหร่นัก

ขณะที่ญี่ปุ่นได้เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบแล้ว หลังยกเลิกมาตรการคัดกรองเพื่อป้องกันโควิด-19 ทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวเข้าไปในญี่ปุ่นในไตรมาสแรกของปีนี้ รวมถึง 4,790,300 คน 

โดยประเทศและเขตการปกครองที่มีประชากรเดินทางเข้าญี่ปุ่นมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  1. เกาหลีใต้ เข้าไปทั้งหมด 1,600,700 คน
  2. จีน เข้าไปทั้งหมด 786,700 คน
  3. ไต้หวัน เข้าไปทั้งหมด 416,200 คน
  4. ฮ่องกง เข้าไปทั้งหมด 378,000 คน
  5. ไทย เข้าไปทั้งหมด 244,700 คน

เพราะฉะนั้น ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเทียบกับค่าเงินบาทอาจจะส่งผลดีกับนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่ใช้เงินแลกน้อยลงได้ค่าเงินเยนมากขึ้น แต่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยก็ได้ในแง่นักลงทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในไทย 

ที่มา : JNTO

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT