ข่าวเศรษฐกิจ

เปิดเทอมนี้ ค่าใช้จ่ายผู้ปกครองพุ่ง แรงสุดในรอบ 14 ปี

8 พ.ค. 66
เปิดเทอมนี้ ค่าใช้จ่ายผู้ปกครองพุ่ง แรงสุดในรอบ 14 ปี

สัปดาห์หน้าเตรียมเข้าสู่เทศกาลเปิดเทอมสำหรับปีการศึกษา 2566 แล้ว ปีนี้พบว่า ผู้ปกครองต้องเตรียมควักเงินจ่ายค่าเล่าเรียนให้กับบุตรหลานสูงขึ้นจากปีก่อนอีกด้วย

ผลการสำรวจโพลหัวข้อ ประเมินผลกระทบของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม ปี 2566 ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า การจับจ่ายใช้สอยของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมปีนี้มีมูลค่าการใช้จ่ายรวม 57,885.63 ล้านบาท ขยายตัวจากปี 62 ที่ 5.30%  ไฮไลท์คือ ปีนี้ถือมีมูลค่าการใช้จ่ายสูงสุดนับตั้งแต่หอการค้าทำการสำรวจมาในรอบ 14 ปีเลยทีเดียว

ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของการเปิดเทอม 66 อยู่ที่ 19,507.33 บาทต่อบุตร 1 คน เพิ่มขึ้น 6.6% จากปี 62 ที่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ 18,299.94 บาทต่อบุตร 1 คน สำหรับค่าใช่จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม พบว่า ราคาสินค้าเมือเทียบกับปีที่ผ่านมา เครื่องแบบนักเรียน มองว่าแพงขึ้น46%  ไม่เปลี่ยนแปลง42% และถูกลง11%  ส่วนราคาถุงเท้า รองเท้า ส่วนใหญ่มองว่าไม่เปลี่ยนแปลง47% อุปกรณ์การเรียน ไม่เปลี่ยนแปลง35%และหนังสือไม่เปลี่ยนแปลง44%   ส่วนจำนวนการซื้อสำหรับรองเท้านักเรียน เพิ่มขึ้น24.5%  ส่วนชุดนักเรียนมีการซื้อลดลง30.5% เพราะสามารถใช้ซ้ำได้

 ประเมินผลกระทบของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม ปี 2566

ทั้งนี้ผลการสำรวจพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ 63% มีเงินเพียงพอกับการใช้จ่ายช่วงเปิดเทอม สูงสุดในรอบ 8 ปี แต่ที่เหลืออีก 36.5% นั้นตอบว่าเงินไม่เพียงพอ ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนต่ำสุดในรอบ 8 ปีนับตั้งแต่ปี 2559 เช่นกัน  โดยผู้ปกครองที่มีเงินไม่เพียงพอ จะมีการเบิกเงินจากบัตรเครดิต/ บัตรกดเงินสดมากขึ้น รองลงมา คือจำนำทรัพย์สิน กู้เงินในระบบ และยืมญาติพี่น้อง ส่วนการกู้เงินนอกระบบมีประมาณ 7% ซึ่งถือว่าไม่มาก

ประเมินผลกระทบของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอม ปี 2566

 เปิดเทอม 2566

แนะรัฐบาลชุดหน้าควรปฏิรูประบบการศึกษา

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เสนอแนะว่า รัฐบาลชุดหน้าควรเน้นเรื่องการปฏิรูประบบการศึกษาให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ขณะเดียวกันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือจะมีผู้เสียภาษีน้อยลง จึงต้องเพิ่มทักษะแรงงานโดยเร่งด่วน ด้วยการปรับปรุงระบบการศึกษา

จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายพรรคการเมืองด้านการศึกษา พบว่า กว่า 80% เห็นด้วยมากกับนโยบายโครงการให้อาหารฟรีให้กับเด็กนักเรียน และนโยบายกำจัดระบบแป๊ะเจี๊ยะ และกว่า 70% เห็นด้วยมากกับนโยบายมีโรงเรียน 2 ภาษาในทุกท้องถิ่น และนโยบายเรียนฟรีจนจบปริญญาตรี ขณะที่กว่า 60% เห็นด้วยมากกับนโยบายสร้างเด็กไทย 3 (ภาษาไทย/ ต่างประเทศ/ Coding) และกว่า 50% เห็นด้วยมากกับนโยบายยกเลิกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT