ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อสกุลเงินดอลลาร์ในช่วงปลายเดือน ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
โดยในวันศุกร์นี้สหรัฐจะมีการประกาศดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วในช่วงนี้ มาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงการที่ราคาทองคำปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ หากเทียบการแข็งค่าของเงินบาท ถือว่ายังเคลื่อนไหวในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 9,440 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,761 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.90 - 34.20
แนะนำ ซื้อ 33.90 / ขาย 34.20
EUR/THB 37.65 - 38.15
แนะนำ ซื้อ 37.65 / ขาย 38.15
JPY/THB 0.2340 - 0.2380
แนะนำ ซื้อ 0.2340 / ขาย 0.2380
GBP/THB 44.75 - 45.15
AUD/THB 22.95 - 23.25
ค่าเงินบาทยังคงมีโมเมนตัมที่แข็งค่าขึ้นตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลหลัก อีกทั้งยังแรงหนุนจากตัวเลขการส่งออกของไทยที่ขยายตัวสูงขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์เผยตัวเลขส่งออกไทย เดือนกรกฎาคม 2567 ขยายตัว 15.2% โตสูงสุดในรอบ 28 เดือน ขณะที่ตัวเลขส่งออก 7 เดือนแรกของปี ขยายตัว 3.8% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยได้รับปัจจัยหนุนสำคัญจากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวถึง 434.1% ซึ่งหากหักทองคำออก การส่งออกของไทยเดือน ก.ค. 67 ขยายตัวที่ 11.0%.
ทิศทางค่าเงินดอลลาร์ฯ อาจจะเริ่มทยอยฟื้นตัวขึ้นตามปัจจัยทางเทคนิค หลังจากที่ตลาดปรับตัวรับรู้โอกาสความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ไปมากแล้ว และกลับมารอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อ PCE/Core PCE ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่เฟดติดตามซึ่งมีกำหนดจะรายงานออกมาในช่วงปลายสัปดาห์นี้
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวผันผวนตามราคาทองคำ และเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติทั้งในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทย โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.80-34.10 บาท/ดอลลาร์ฯ
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 4,015 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,081 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.80- 34.10
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 33.80
EUR/THB 37.80- 38.20
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 38.20
JPY/THB 0.2340- 0.2380
แนะนำ ทยอยขาย 0.2380
GBP/THB 44.80-45.20
AUD/THB 22.90- 23.30
* ดอลลาร์ปรับตัวไร้ทิศทาง โดยปรับตัวขึ้นเทียบยูโร แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยน ขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 3 ครั้งที่เหลือในปีนี้ รวม 1.00% โดยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนก.ย., 0.50% ในเดือนพ.ย. และ 0.25% ในเดือนธ.ค. หลังการกล่าวสุนทรพจน์ของนายพาวเวลบนเวทีการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง เมื่อวันศุกร์ที่ 23 ส.ค. นอกจากนี้นักลงทุนจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันศุกร์ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ
* เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,245 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 553 ล้านบาท
* กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.80- 34.10
*แนะนำ ซื้อ 33.80/ ขาย 34.10
EUR/THB 37.60- 38.10
* แนะนำ ซื้อ 37.60 / ขาย 38.10
JPY/THB 0.2320- 0.2370
* แนะนำ ซื้อ 0.2320/ ขาย 0.2370
GBP/THB 44.60- 45.10
AUD/THB 22.80- 23.30
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในคืนวันศุกร์ (23 ส.ค.) หลังนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า ถึงเวลาที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อพิจารณาจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่ลดลง
ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ การส่งออก และรายงานเศรษฐกิจการเงิน ของไทย สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคา PCE และ Core PCE เดือนก.ค. และประมาณการตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/2567 ของสหรัฐฯ รวมถึงตัวเลขกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค. ของจีนด้วยเช่นกัน
สถานะการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันธบัตร 2,087 ล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิหุ้นไทย 2,800 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.90 - 34.30
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 34.00/ ขาย 34.30
EUR/THB 37.90 - 38.40
แนะนำ ซื้อ 37.90/ ขาย 38.40
JPY/THB 0.2340 - 0.2390
GBP/THB 44.75 - 45.30
AUD/THB 23.00 - 23.40
ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก โดยเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ที่ปรับตัวสูงขึ้น แตะระดับ 3.85 ขณะที่ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าที่ตลาดคาดเช่นกัน
นักลงทุนจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด เพื่อหาสัญญาณความชัดเจนของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดในปีนี้
สถานะการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 850 ล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตรไทย 1,500 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 34.40 - 34.70
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 34.40/ ขาย 34.70
EUR/THB 38.30 - 38.70
แนะนำ ซื้อ 38.30/ ขาย 38.70
JPY/THB 0.2350 - 0.2400
แนะนำ ซื้อ 0.2350 / ขาย 0.2400
GBP/THB 45.20 - 45.60
AUD/THB 23.10 - 23.60
ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลัก หลังจากเฟดเปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 30-31 ก.ค. โดยระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นว่า หากข้อมูลที่เฟดได้รับมานั้นยังคงเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ก็เป็นเรื่องเหมาะสมที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป คือในวันที่ 17-18 ก.ย.
เมื่อวานนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อยู่ที่ 2.50% ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ โดย 1 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี
นักลงทุนจับตาการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เมืองแจ็กสัน โฮล ซึ่งจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีจนถึงวันเสาร์นี้ (22-24 ส.ค.) โดยนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดจะกล่าวสุนทรพจน์ในวันศุกร์ที่ 23 ส.ค. เวลา 10.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือ 21.00 น.ตามเวลาไทย ซึ่งนักลงทุนต่างก็คาดหวังว่านายพาวเวลจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด
สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 756.41 ล้านบาท และซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 3,693 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 34.10 - 34.40
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 34.10/ ขาย 34.40
EUR/THB 38.00 - 38.50
แนะนำ ซื้อ 38.00/ ขาย 38.50
JPY/THB 0.2350 - 0.2400
แนะนำ ซื้อ 0.2350 / ขาย 0.2400
GBP/THB 44.50 - 45.00
AUD/THB 23.00 - 23.50
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.12 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.21 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟดประจำวันที่ 30-31 ก.ค.ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพุธ (21 ส.ค.) รวมทั้งจับตาการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 22-24 ส.ค.
ในการประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮลครั้งนี้ นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดจะแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจในวันศุกร์ที่ 23 ส.ค. ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าถ้อยแถลงของนายพาวเวลในปีนี้จะเป็นบวกต่อตลาด และคาดหวังว่านายพาวเวลจะส่งสัญญาณเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 1 ปี และสกุลเงินในภูมิภาคก็แข็งค่าเช่นกัน ปัจจัยหลักเนื่องจากราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดรอติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ซึ่งคาดว่า จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ระดับเดิม
ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ประเด็นทางการเมืองและสัญญาณเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนเดือน ก.ค.
เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,542 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,789 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 34.00 - 34.30
แนะนำ ซื้อ 34.00/ ขาย 34.30
EUR/THB 37.70 - 38.20
แนะนำ ซื้อ 37.70 / ขาย 38.20
JPY/THB 0.2325 - 0.2365
แนะนำ ซื้อ 0.2325 / ขาย 0.2365
GBP/THB 44.35 - 44.75
AUD/THB 22.90 - 23.20
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.40 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.50 บาท/ดอลลาร์
*ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ที่มาพร้อมกับการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำที่ทะลุระดับ 2,500 ดอลลาร์ โดยได้แรงหนุนจากคาดการณ์ต่อดอกเบี้ยขาลงของสหรัฐ ทั้งนี้ปัญหาของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเท่าใด และนักลงทุนหวังว่านายพาวเวลจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวในการประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮลในปีนี้จะมีขึ้นในวันที่ 22-24 ส.ค.
*ในส่วนของการประชุม กนง. ในวันพรุ่งนี้ประเมินว่า กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% และอาจยังไม่ได้มีการส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มการทยอยปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย หากเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีและมีแนวโน้มเป็นไปตามคาดการณ์ของ กนง.
**สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวผันผวนตามราคาทองคำ และเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติทั้งในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทย โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 34.30-34.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ
*เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 5,098 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 10,487 ล้านบาท (นับรวมรายการ big lot หุ้น SCCC)
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 34.30- 34.60
*แนะนำ ทยอยซื้ิอที่ระดับ 34.30
EUR/THB 37.80- 38.20
* แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 38.20
JPY/THB 0.2330- 0.2370
* แนะนำ ทยอยขาย 0.2370
GBP/THB 44.50-44.90
AUD/THB 22.90- 23.30
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากนักลงทุนขายดอลลาร์เพื่อทำกำไร ขณะที่ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านที่น่าผิดหวังในสหรัฐกดดันดอลลาร์ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านดิ่งลง 6.8% สู่ระดับ 1.24 ล้านยูนิตในเดือนก.ค. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าอาจเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.34 ล้านยูนิต
นอกจากนี้นักลงทุนจับตาการประชุมประจำปีของเฟดในปีนี้ระหว่างวันที่ 22-24 ส.ค. โดยนายพาวเวลจะแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐในวันศุกร์ที่ 23 ส.ค. เวลา 10.00 น.ตามเวลาสหรัฐ
เมื่อวันศุกร์ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 2,587 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 335 ล้านบาท
* กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 34.40- 34.70
*แนะนำ ซื้อ 34.40/ ขาย 34.70
EUR/THB 38.20- 38.70
* แนะนำ ซื้อ 38.20 / ขาย 38.70
JPY/THB 0.2320- 0.2370
* แนะนำ ซื้อ 0.2320/ ขาย 0.2370
GBP/THB 44.80- 45.30
AUD/THB 23.00- 23.50
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.09 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.98 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังการเปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่ง และจำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่ต่ำกว่าคาด ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุมเดือนก.ย.
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 1% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% หลังจากลดลง 0.2% ในเดือนมิ.ย.และเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 7,000 ราย สู่ระดับ 227,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 236,000 ราย
เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 515 ล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตรไทย 8,832 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 34.80- 35.20
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 34.80/ ขาย 35.20
EUR/THB 38.40- 38.80
แนะนำ ซื้อ 38.40/ ขาย 38.80
JPY/THB 0.2340- 0.2380
แนะนำ ซื้อ 0.2340/ ขาย 0.2380
GBP/THB 45.00 - 45.40
AUD/THB 23.00 - 23.40
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลักหลังเปิดเผยดัชนี CPIต่ำกว่าที่คาดการณ์ ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุมเดือนก.ย. หลังการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อ และจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนี CPIทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.9% ในเดือนก.ค. ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 3.0% หลังจากปรับตัวขึ้น 3.0% ในเดือนมิ.ย. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.2% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2564 และต่ำกว่าที่คาดการณ์ จากระดับ 3.3% ในเดือนมิ.ย.
เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 438 ล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตรไทย 9,637 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 34.90- 35.30
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 34.90/ ขาย 35.30
EUR/THB 38.40- 38.80
แนะนำ ซื้อ 38.40/ ขาย 38.80
JPY/THB 0.2360 - 0.2400
แนะนำ ซื้อ 0.2360 / ขาย 0.2400
GBP/THB 44.80 - 45.20
AUD/THB 23.00 - 23.40
ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลัก หลังจากที่สหรัฐ เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนก.ย.
ทั้งนี้ ดัชนี PPI ทั่วไป (Headline PPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.2% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.3% จากระดับ 2.7% ในเดือนมิ.ย.
คืนนี้นักลงทุนจับตาการรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐ โดยคาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะปรับตัวขึ้น 3.0% ในเดือนก.ค.
สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 172.50 ล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตรไทย 6,867 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 34.90 - 35.20
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 34.90/ ขาย 35.20
EUR/THB 38.30 - 38.70
แนะนำ ซื้อ 38.30/ ขาย 38.70
JPY/THB 0.2360 - 0.2400
แนะนำ ซื้อ 0.2360 / ขาย 0.2400
GBP/THB 44.80 - 45.30
AUD/THB 23.00 - 23.50
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ขณะที่นักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
หลังจากที่ก่อนหน้านี้สหรัฐได้เปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค.ที่ต่ำกว่าคาด และอัตราว่างงานที่ปรับตัวสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า เฟดอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยแรงถึง 0.50% ในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 17-18 ก.ย.
ทั้งนี้ สหรัฐมีกำหนดเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ค. ในวันอังคาร (13 ส.ค.) ตามมาด้วยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ค. ในวันพุธ (14 ส.ค.) และยอดค้าปลีกเดือนก.ค. ในวันพฤหัสบดี (15 ส.ค.)
เมื่อวันศุกร์ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 9,012 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 52 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 34.95 - 35.25
แนะนำ ซื้อ 34.95/ ขาย 35.25
EUR/THB 38.15 - 38.65
แนะนำ ซื้อ 38.15 / ขาย 38.65
JPY/THB 0.2365 - 0.2405
แนะนำ ซื้อ 0.2365 / ขาย 0.2405
GBP/THB 44.65 - 45.05
AUD/THB 23.00 - 23.30
ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ ที่มาพร้อมกับการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำที่ทะลุระดับ 2,450 ดอลลาร์
โดยได้แรงหนุนจากคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนก.ย.นี้
รวมถึงการแข็งค่าขึ้นของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ที่ความผันผวนของค่าเงินเยนในช่วงนี้ส่งผลกระทบมายังค่าเงินบาทค่อนข้างสูง ทั้งนี้การทยอยลดสถานะ Short JPY หรือ Unwind JPY Carry Trade ของผู้เล่นในตลาดอาจทำให้ เงินเยนญี่ปุ่นทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นต่ำกว่าโซน 147 เยนต่อดอลลาร์อีกครั้ง.
ขณะที่นักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่ต่ำกว่าคาด โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 17,000 ราย สู่ระดับ 233,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 241,000 ราย
ตลาดรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในสัปดาห์หน้า รวมทั้งการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 22-24 ส.ค.เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดต่อไป.
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 35.10-35.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 4,859 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 499 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.10- 35.40
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 35.40
EUR/THB 38.30- 38.70
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 38.70
JPY/THB 0.2380- 0.2420
แนะนำ ทยอยขาย 0.2420
GBP/THB 44.80-45.20
AUD/THB 23.10- 23.50
ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนจับตาทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ นอกจากนี้นักลงทุนยังจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในสัปดาห์หน้า รวมทั้งการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 22-24 ส.ค.
สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 6.9% ในสัปดาห์ที่แล้ว หลังอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองปรับตัวลง
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 8,214 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,667 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.50- 35.85
*แนะนำ ซื้อ 35.50/ ขาย 35.85
EUR/THB 38.50- 39.00
แนะนำ ซื้อ 38.50 / ขาย 39.00
JPY/THB 0.2400- 0.2450
แนะนำ ซื้อ 0.2400/ ขาย 0.2450
GBP/THB 44.80- 45.30
AUD/THB 23.00- 23.50
ค่าเงินบาทเช้านี้เเปิดตลาด 35.52 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 35.55 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก จากการสูงขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และการลดความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย หลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.4 ในเดือนก.ค ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 51.0
นอกจากนี้ เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ มีการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18
ปัจจัยที่ยังคงต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนก.ค. และประเด็นการเมืองภายในประเทศ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนก.ค. ของสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ยูโรโซนและอังกฤษ ตลอดจนข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.ค.ของจีน อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค และตัวเลขการส่งออก
เมื่อวาน นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 13,250 ล้านบาท ขณะที่ขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 700 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.30- 35.70
แนะนำ ซื้อ 35.30/ ขาย 35.70
EUR/THB 38.70- 39.00
แนะนำ ซื้อ 38.70/ ขาย 39.00
JPY/THB 0.2430- 0.2460
GBP/THB 45.00- 45.50
AUD/THB 23.00- 23.40
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก สอดคล้องการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จากความกังวลการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังตัวเลขว่างงานสูงขึ้นต่อเนื่อง และมากกว่าที่ตลาดคาด ขณะที่ก่อนหน้านี้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐก็ลงมาต่ำกว่าระดับ 50 หนุนคาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจต้องปรับลดดอกเบี้ยโดย FedWatch Tool ของ CME Group ให้น้ำหนัก 99.5% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมเดือนก.ย. นอกจากนี้ นักลงทุนให้น้ำหนัก 80.3% ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมเดือนพ.ย. และให้น้ำหนัก 57.4% ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.00-4.25% ในการประชุมเดือน ธ.ค.
ปัจจัยทางเศรฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 55.0 ในเดือน ก.ค. จากระดับ 55.3 ในเดือน มิ.ย. และตัวเลขดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.4 ในเดือน ก.ค. โดยฟื้นตัวขึ้นจากระดับ 48.8 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 51.0
เมื่อวาน นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 890 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 72 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.30- 35.60
แนะนำ ซื้อ 35.30/ ขาย 35.60
EUR/THB 38.60- 39.00
แนะนำ ซื้อ 38.60/ ขาย 39.00
JPY/THB 0.2420- 0.2460
แนะนำ ซื้อ 0.2420/ ขาย 0.2460
GBP/THB 45.20- 45.60
AUD/THB 23.00- 23.40
ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลัก หลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่อ่อนแอของสหรัฐทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย และได้เพิ่มการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในเดือน ก.ย.นี้
สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 114,000 ตำแหน่งในเดือน ก.ค. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 177,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 179,000 ตำแหน่งในเดือน มิ.ย.
ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.3% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2564 และสูงกว่าที่คาดการณ์ที่ระดับ 4.1%
วันนี้ มองว่า เงินบาทยังคงแข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์ หลังตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐอ่อนแรงลง และเงินบาทแข็งค่าตามเงินเยน หลัง BOJ ขึ้นดอกเบี้ย รวมทั้งเงินบาทแข็งค่าจากที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ระหว่างวันที่ 29 ก.ค. - 2 ส.ค. 2567 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 1,647 ล้านบาท แต่มีสถานะ Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทย 22,331 ล้านบาท
ส่วนในสัปดาห์นี้ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ค. และปัจจัยทางการเมืองของไทย รวมถึงถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี ISM และ PMI ภาคบริการเดือน ก.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.20 - 35.50
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 35.20/ ขาย 35.50
EUR/THB 38.30 - 38.80
แนะนำ ซื้อ 38.30/ ขาย 38.80
JPY/THB 0.2400 - 0.2450
แนะนำ ซื้อ 0.2400 / ขาย 0.2450
GBP/THB 45.00 - 45.50
AUD/THB 22.80 - 23.30
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ดอลลาร์เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เมื่อเทียบสกุลเงินหลัก ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐหลังการเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตที่อ่อนแอ รวมทั้งตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานที่สูงเกินคาด
เมื่อวานนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 5.00% ถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี หลังจากที่ได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% ติดต่อกัน 7 ครั้งนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2566
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่เปิดเผยเมื่อคืนนี้ สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 46.8 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.2566 จากระดับ 48.5 ในเดือน มิ.ย. และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าดัชนีจะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 48.8
กระทรวงแรงงานสหรัฐมีการเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 14,000 ราย สู่ระดับ 249,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.2566 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 236,000 ราย
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือน ก.ค.ของสหรัฐในวันนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางตลาดแรงงาน โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 177,000 ตำแหน่งในเดือน ก.ค. จากระดับ 206,000 ตำแหน่งในเดือน มิ.ย. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.1% ในเดือน ก.ค.
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 7,957ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 206 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.45-35.75
แนะนำทยอยซื้อที่ 35.45/ขาย 35.75
EUR/THB 38.15 - 38.65
แนะนำทยอยซื้อที่ 38.15 / ขาย 38.65
JPY/THB 0.2370 - 0.2410
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2370/ ขาย 0.2410
GBP/THB 45.05 - 45.55
AUD/THB 22.95 - 23.25
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) จากโซน 152 เยนต่อดอลลาร์ สู่โซน 150 เยนต่อดอลลาร์ หลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและปรับลดปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งการแข็งค่าขึ้นของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ได้กดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดย BOJ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 0.25%
ขณะที่การแถลงของ ผู้ว่าการ BOJ เมื่อวานนี้ บ่งชี้ถึงโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ทําให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่นอายุ 2 ปี ดีดตัวขึ้น สู่ระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี หนุนเงินเยนแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์ และทำให้ทองคําปรับขึ้นทองคำทะลุแนวต้านระยะสั้นมายืนเหนือ 2,470 อีกครั้ง.
ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ 5.25% ถึง 5.5% เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยประธานเฟดได้ระบุในแถลงการณ์ว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเงินเฟ้อมีความคืบหน้าในการปรับตัวสู่เป้าหมายของเฟด และเฟดพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในการประชุมครั้งหน้า คือในเดือน ก.ย. หากข้อมูลทางเศรษฐกิจยังคงเป็นไปในทิศทางปัจจุบัน
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 35.35-35.65 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,886 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 301 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.35- 35.65
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 35.35
EUR/THB 38.30- 38.70
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 38.70
JPY/THB 0.2350- 0.2380
แนะนำ ทยอยขาย 0.2380
GBP/THB 45.60-46.00
AUD/THB 23.10- 23.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)