วิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาด มีผลต่อกระทบต่อธุรกิจมากหรือน้อยขึ้นกับบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกันของธุรกิจ หนึ่งในธุรกิจที่โดนผลกระทบด้วยเช่นกัน คือ ตลาดรวมนมยูเอชทีและนมพาสเจอไรซ์พร้อมดื่มของไทยปี 2564 มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 32,145 ล้านบาท หรือมีปริมาณบริโภคราว ๆ 588,266 ตัน/ปี
โดย บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายนมพร้อมดื่ม “โฟร์โมสต์” (Foremost) เคยให้มูลผ่านสื่อว่าในปี 2563-2564 ภาพรวมตลาดนมติดลบ 2 ปีติดต่อกัน จากปกติตลาดไม่เคยมีการติดลบมาก่อน
ด้วยสถานการณ์โควิดที่ระบาดเกิดขึ้น มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมนมในการทำธุรกิจอย่างมาก เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยเฉพาะการนำเข้าวัตถุดิบหรือนมดิบจากต่างประเทศ เพราะไม่ใช่แค่ตลาดในประเทศไทยที่โดนผลกระทบ แต่ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ในต่างประเทศเองก็ได้รับผลกระทบจากโควิดด้วยเช่นกัน จึงมีผลกระทบลุกลามทำให้วัตถุดิบในการผลิตมีไม่เพียงพอ รวมถึงปัญหาการขนส่งจากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด และโรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดื่มนมของนักเรียนในโรงเรียนในส่วนนี้ให้ลดลงอีกด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขายของผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
ขณะที่หากเปรียบเทียบข้อมูลการดื่มนมของคนไทย พบว่า คนไทยไม่ได้นิยมดื่มนมมากนักซึ่งจากข้อมูลเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉลี่ยคนไทย 1 คนดื่มนม 18 ลิตรต่อคนต่อปี หรือเพียง 2 แก้วต่อสัปดาห์เท่านั้น ขณะที่ค่าเฉลี่ยคนทั่วโลกอยู่ที่ 113 ลิตรต่อคนต่อปี
ค่าเฉลี่ยทวีปเอเชียอยู่ที่ 66 ลิตรต่อคนต่อปี ส่วนคนยุโรปดื่มนมเฉลี่ยมากถึง 274 ลิตรต่อคนต่อปี ด้านสหรัฐอเมริกาดื่มนมเฉลี่ยมากถึง 237 ลิตรต่อคนต่อปี
ล่าสุด บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 'นมโฟร์โมสต์' ระบุผ่าน เฟสบุ๊คว่า ขอแจ้งว่าบริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า จะยุติการผลิตและการจัดจำหน่ายนมพาสเจอร์ไรซ์ในประเทศไทยทั้งนี้ ท่านยังคงสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายอื่นๆ ของโฟร์โมสต์ที่ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไปได้ตามปกติ
โดยชี้แจงต่อเป็นการพิจารณาอย่างรอบคอบตามกลยุทธ์ของบริษัทฯ เพราะต้องการมุ่งเน้นไปผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมที่หลากหลาย สามารถเก็บรักษาได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น
ล่าสุด บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตนมโฟร์โมสต์ เผยแพร่เอกสารแถลงการณ์ ชี้แจงกรณีเลิกผลิตและทำตลาดนมพาสเจอไรซ์ในประเทศไทย โดยระบุว่า หลังพิจารณาเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจโดยรอบคอบแล้ว จึงตัดสินใจยุติการดำเนินธุรกิจนมพาสเจอไรซ์ในประเทศไทย และปิดโรงงานที่หลักสี่ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา
พร้อมย้ำว่า จะให้ความช่วยเหลือแก่พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานดังกล่าวอย่างสุดความสามารถ
ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยในระยะยาว โดยยังเดินหน้าผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ได้แก่ โฟร์โมสต์ ยูเอชที, โฟร์โมสต์ โอเมก้า, ฟอลคอน เรือใบ มายบอย และเดบิด
นมพาสเจอร์ไรส์ คือ นมชนิดหนึ่ง ที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนระดับการพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งเป็นความร้อนที่ใช้เพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในคน ทำให้น้ำนมปลอดภัยในการบริโภคและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ทำให้น้ำนมเสีย หลังการพาสเจอร์ไรส์ต้องเก็บรักษาน้ำนมไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส มีอายุการเก็บรักษาได้ไม่เกิน 10 วัน ถือว่ามีอายุการเก็บรักษาที่สั้นที่สุดเมื่อเปรียบกับนมประเภท UHT และนมสเตอริไลซ์มีอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 5 เดือนถึง 1 ปี
หากลองวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ 'โฟร์โมสต์' ประกาศเลิกการผลิตและนมพาสเจอร์ไรซ์ในไทย ส่วนหนึ่งเพราะคไทยมีการดื่มนมที่มากๆ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของคนทั่วทั้งโลกที่ดื่มต่ำมาก แถมยังจำนวนคนที่ไม่ได้มากเมื่อเปรียบกับตลาดของประเทศอื่นๆ อีกทั้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาภาพรวมใตลาดนมของไทยต้องเผชิญกับการเติบโตที่ติดลบเป็นครั้งแรก และนมพาสเจอร์ไรส์ ที่ผลิตออกมาแล้วมีข้อจำกัดของอายุในการเก็บรักษาที่สั้นเอามากๆ ดังนั้นถือเป็นประเด็นที่ยากในการบริหารสต็อคและต้นทุนการผลิต ทำให้การปรับกลยุทธ์ในครั้งนี้ของ 'ฟรีสแลนด์คัมพิน่า' น่าจะเป็นกลยุทธที่เป็นทางออก
บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่ามีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมืองอัมเมอร์ฟอร์ตประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งจากการรวมกลุ่มของสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม 18,000 คน ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมันนี และ เบลเยี่ยม โดยการจัดหาและผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมซึ่งจำหน่ายทั่วโลกมานานกว่า 149 ปี เริ่มขยายตลาดทางเอเชียด้วยแบรนด์อย่างโฟร์โมสต์ ฟริสเชี่ยนแฟลก อลาสก้ามิลค์ และ ดัตช์เลดี้ มีประสบการณ์และความชำนาญในด้านการผลิตผลิตภัณฑ์จากนมวัวที่มีคุณภาพ
ในประเทศไทยผลิตภัณฑ์ 'โฟร์โมสต์' เป็นแบรนด์สินค้าที่ผู้บริโภคในประเทศไทยให้ความไว้วางใจอยู่ในประเทศไทยมานานมากว่า 65 ปี เริ่มจากการที่บริษัทผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีมและนมคืนรูปที่โรงงานหลักสี่ในปี พ.ศ. 2499 ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 บริษัทเพิ่มสายการผลิตนมข้นหวานและนมข้นจืดที่โรงงานสำโรง และผลิตเพื่อการส่งออกไปยังประเทศในแถบทวีปเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และลาว ในปี พ.ศ.2521 ในปี พ.ศ.2527
บริษัทเริ่มจำหน่ายนมพร้อมดื่มสำเร็จรูป UHT ตามด้วยนมเปรี้ยวพร้อมดื่มสำเร็จรูป UHT ในปี พ.ศ. 2536 และในปี 2535 บริษัทได้ขายธุรกิจไอศกรีมเพื่อที่จะให้ความสำคัญในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นมอันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค ปัจจุบันกลุ่ม บริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่าประเทศไทยผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์มากมายในรูปแบบ นมยูเอชที นมพาสเจ อร์ไรส์ นมข้นหวาน นมข้นจืด และ โยเกิร์ตพร้อมดื่ม และเป็นหนึ่งในผู้รับซื้อน้ำนมดิบรายใหญ่จากสหกรณ์โคนมไทยกว่า 100 ล้านลิตรต่อปี
ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลว่า ข้อมูลล่าสุดปีนี้พบว่าเด็กไทยดื่มนมน้อย เฉลี่ยเพียงครึ่งแก้วต่อวัน แบ่งเป็นสัดส่วนกลุ่มตามวัยเรียนดื่มนมทุกวันเพียง 31.1% ส่วนวัยรุ่นสัดส่วน 14.9% เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ คนไทยดื่มนม 18.6 ลิตร/คน/ปี ขณที่อินเดีย 59.6 ลิตร/คน/ปี ญี่ปุ่น 32.1 ลิตร/คน/ปี เกาหลีใต้ 30 ลิตร/คน/ปี สอดคล้องกับข้อมูลปัจจุบันพบว่าเด็กเตี้ยเพิ่มมากขึ้นจากสัดส่วน 9.7% เพิ่มเป็น 12.9% โดยส่วนสูงเฉลี่ยเด็กอายุ 12 ปี เพศชาย 147.1 เซนติเมตร เพศหญิง 148.1 เซนติเมตร ส่วนสูงเฉลี่ยอายุ 19 ปี เพศชาย 170.9 เซนติเมตร เพศหญิง 158.1 เซนติเมตร
นมเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 2 และวิตามินบี 12 โปรตีนในนมเป็นโปรตีนคุณภาพดี แคลเซียมในนมมีปริมาณมาก และดูดซึมได้ดีที่สุด มีความสำคัญมาก ต่อมวลกระดูก และการขยายตัวของกระดูก โดยเฉพาะในวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และมีความสำคัญมากขึ้นในช่วงวัยรุ่นที่เริ่มมีช่วงโตเร็ว จะมีการสะสมมวลกระดูกเพิ่มขึ้นมาก ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยเพิ่มส่วนสูง
นอกจากนี้ นมยังมีวิตามินเอช่วยในการมองเห็น และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย วิตามินบี 2 ช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ป้องกันโรคปากนกกระจอก ส่วนวิตามินบี 12 ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดแดง
สำหรับปีนี้ กรมอนามัยร่วมกับราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายนมดีทุกวัยดื่มได้ทุกวัน ส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนวัยรุ่น รณรงค์ วัยเรียนวัยรุ่นดื่มนมจืดให้ได้ 2 แก้วทุกวัน ( 400 มิลลิลิตร) ขอความร่วมมือผู้ปกครองเตรียมนมไว้ที่บ้านสำหรับเด็กให้เด็กไทยดื่มนมจืดแก้วที่ 2 ที่บ้าน ร่วมกับส่งเสริมให้เด็กกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ เสริมการออกกำลังกายที่มีการกระแทกของข้อต่อ เช่น กระโดดวันละ 60 นาที รับแสงแดดและนอนให้เพียงพอ เพื่อให้เด็กมีส่วนสูงที่ดีขึ้น บรรลุเป้าหมายเด็กไทยอายุ 12 ปี เด็กชายสูงเฉลี่ย 152 ซม. เด็กหญิงสูงเฉลี่ย 153 ซม. และส่วนสูงเมื่ออายุ 19 ปี ชายสูงเฉลี่ย 175 ซม. ในปี 2570