Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
แนวโน้มเบี้ยประกันภัยรถยนต์ปี 2566 ถูกลงราว40%พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

แนวโน้มเบี้ยประกันภัยรถยนต์ปี 2566 ถูกลงราว40%พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน

4 ธ.ค. 65
10:46 น.
|
3.2K
แชร์

Priceza Money เว็บเปรียบเทียบประกันรถยนต์ และ  Insurance Content Creator  เผยแนวโน้มของวงการประกันภัยรถยนต์ในปี 2566 หลังวิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเนื่องในปี 2565 และคาดการณ์ว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อและการขายประกันรถยนต์ในประเทศไทยไปอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคในด้านราคาประกันรถยนต์อาจจะถูกลง 30-40% โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา วิกฤติโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อวงการประกันภัยในหลายๆด้าน เช่น วิกฤติประกันโควิด-19 และ นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบของพฤติกรรมการซื้อสินค้าประกันรถยนต์ของคนไทยอีกด้วย Priceza Money ได้สรุปเป็น 3 เทรนด์หลักๆ ดังนี้

screenshot2565-12-04at10.

 

  • Personalize insurance หรือ ประกันรถยนต์ที่ออกแบบตามความต้องการของผู้ใช้

 

ก่อนหน้า วิกฤติโควิด-19 คนไทยคุ้นเคยกับการซื้อประกันรถยนต์แบบคุ้มครองจัดเต็ม ราคาหลัก 10,000-20,000 บาท กันมาโดยตลอดแต่พอถึงช่วงโควิด-19 ระบาด คนส่วนใหญ่ที่เคยใช้รถยนต์อย่างเคยชินกันทุกวัน แทบจะไม่ได้ใช้รถยนต์เลย ทำให้หลายๆคนเริ่มรู้สึกไม่คุ้มค่าที่จะต้องจ่ายค่าประกันภัยรถยนต์ในราคาสูงๆอีกต่อไป จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดกระแสความสนใจประกันรถยนต์แบบตามความต้องการของผู้ใช้ (Personalize insurance) ขึ้นมาครับ

จากสถิติของ Priceza Money จะเห็นแนวโน้มของ ‘ประกันเติมไมล์’ หรือ ประกันที่คุ้มครองตามระยะทางการขับรถเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงโควิด-19 ระบาด นอกจากนี้ ประกันรถยนต์แบบเปิด-ปิด ที่คุ้มครองตามชั่วโมงการขับรถ ก็มีคนค้นหาใน google มากขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันด้วยครับ และ ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ผู้ขับ จากรู้ใจประกันภัยก็เป็นอีกบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นในระหว่างช่วงโควิด-19 ครับ


ซึ่งเทรนด์ประกันรถยนต์ตามความต้องการของผู้ใช้ (Personalize insurance) ในต่างประเทศถือเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ใช้ประกันรถยนต์มาหลายปีแล้วครับ เช่น

  • https://www.bymiles.co.uk/ ประกันรถยนต์จากประเทศอังกฤษที่คิดราคาเบี้ยตามระยะทางการขับขี่

  • https://www.tesla.com/insurance ประกันรถยนต์ของ tesla มีการให้ reward เป็นส่วนลดค่าประกัน ถ้าหากผู้ขับขี่ขับรถแบบปลอดภัย

โดยข้อดีของประกันรถยนต์ตามความต้องการของผู้ใช้ (Personalize insurance) มีราคาเฉลี่ยที่ถูกกว่าประกันรถยนต์แบบคุ้มครองจัดเต็มถึง 30-40% (ข้อมูลจาก Priceza Money)

อย่างในประเทศไทย ตัวอย่างของประกันรถยนต์ตามความต้องการของผู้ใช้ (Personalize insurance) ได้แก่

  • ประกันรถยนต์ TIP Shock Price : ลดความคุ้มครองที่ไม่เป็นบางส่วนลงมา ทำให้ราคาประกันถูกลง
  • ประกันตามโปรไฟล์ผู้ขับขี่ Roojai : ยิ่งอายุมากยิ่งราคาถูก เพราะบริษัทประกันมองว่ามีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุน้อย
  • ประกันระยะสั้นคุ้มครอง 1-3 เดือน : สำหรับคนที่ไม่ต้องการจ่ายเบี้ยประกันรถยนต์เป็นก้อนใหญ่ๆ

ในปัจจุบันหลังจากวิกฤติโควิด-19 ผ่านไปแล้ว แต่ ประกันรถยนต์ตามความต้องการของผู้ใช้ (Personalize insurance) ก็ยังมีอัตราเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องครับ

ซึ่งเรามองว่าอนาคตในปี 2566 ที่จะถึงและปีต่อๆไป จะมีคนที่สนใจและเลือกซื้อประกันรถยนต์ตามความต้องการของผู้ใช้ (Personalize insurance) มากขึ้นเรื่อยๆอย่างแน่นอน จากราคาที่ถูกลง และการใช้งานที่เหมาะสมกับแต่ละคนมากขึ้น ยังไม่รวมการมาถึงของ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่จะสามารถเก็บข้อมูลการขับขี่ได้ละเอียดขึ้น ทำให้บริษัทประกันสามารถบริหารความเสี่ยงในการเลือกรับประกันภัยให้กับลูกค้าแต่ละคนได้ดีขึ้นอีกด้วยนั่นเอง

 

  • Direct to customers หรือ การขายประกันรถยนต์ตรงจากบริษัทประกัน

 

เทรนด์การขายแบบ Direct to customers ในฝั่งของ e-commerce เราจะเห็นกันมาซักพักแล้วอย่างเช่น official store ใน shopee หรือ lazada ส่วนในฝั่งของประกันรถยนต์ ในอดีตมาถึงปัจจุบัน สัดส่วนการขายส่วนใหญ่ถึง 90% จะเป็นการซื้อขายผ่านตัวแทนประกันรถยนต์ (Agent) หรือ นายหน้าประกันรถยนต์ (Broker) โดยบริษัทประกันรถยนต์จะทำหน้าที่เป็น back office ให้กับตัวแทนและนายหน้าเท่านั้น

แต่ด้วยผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ที่ทำให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าต่างๆของคนไทยเปลี่ยนไป เริ่มคุ้นเคยกับการ ‘ซื้อออนไลน์’ กันมากขึ้น

  • ทำให้บริษัทประกันรถยนต์หลายๆบริษัทมองเห็นโอกาสที่จะเข้าถึงลูกค้าโดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ของตัวเอง ซึ่งจากสถิติของ คปภ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จะเห็นได้เลยว่าการซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์โตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงโควิด-19 ครับ
  • และเมื่อประกอบกับ การขายประกันรถยนต์ตามความต้องการของผู้ใช้ (Personalize insurance) ที่ทำให้เบี้ยประกันรถยนต์ถูกลง 30-40% ทำให้ประกันรถยนต์กลุ่มนี้ไม่ได้เป็นที่นิยมสำหรับตัวแทนและโบรคเกอร์มากนัก เพราะได้ค่านายหน้า (commission) น้อยลงอย่างมาก

    เมื่อพิจารณาจากทั้ง 2 ปัจจัยที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทประกันรถยนต์มีโอกาสในการสร้างช่องทาง Direct to customers ได้ โดยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับตัวแทนและนายหน้าที่เป็นช่องทางการขายหลักๆให้มากที่สุด

screenshot2565-12-04at10._3

screenshot2565-12-04at10._4

  • โดยกรณีศึกษาที่เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างบริษัท ไทยวิวัฒน์ประกันภัย ที่เน้นขายประกันรถยนต์ตามความต้องการของผู้ใช้ (Personalize insurance) อย่างเดียวในหน้าเว็บ Thaiviat.co.th และ ยกประกันของไทยวิวัฒน์ที่มีความคุ้มครองแบบจัดเต็มให้ตัวแทนและนายหน้าขาย เพื่อพยายามให้เกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด

  • อีกกรณีศึกษาคือ ทิพยประกันภัย ที่เปิดตัวเน้นขายประกันรถยนต์แบบ Direct to customers ในทุกๆแผนประกัน โดยข้อดีคือทำให้ราคาประกันรถยนต์ของทิพยประกันภัยดึงดูดลูกค้ามาก เพราะเอาค่า commission ที่จะให้ตัวแทนหรือนายหน้า มาเป็นส่วนลดให้ลูกค้าแทน ส่วนข้อเสียก็ทำให้เกิดความขัดแย้งกับตัวแทนและโบรคเกอร์ ทำให้ตัวแทนและโบรคเกอร์ในปัจจุบันเลือกที่จะขายประกันรถยนต์ของทิพยประกันภัยเป็นตัวเลือกท้ายๆ

  • และสุดท้าย บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ยอดขายอันดับ 1 อย่าง วิริยะประกันภัย ที่ช่องทางการขายในอดีตและปัจจุบันเป็นการขายผ่านตัวแทนและนายหน้าเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้ลงมาทำการตลาดเองอย่างเงียบๆผ่านการทำ SEO (Search Engine Optimization) และ การสร้าง content ที่มีสาระให้ลูกค้า ตั้งแต่ปลายปี 2021 เพื่อดึงลูกค้าเข้าเว็บ viriyah.com ที่มีระบบการซื้อประกันออนไลน์ได้โดยตรงผ่านบริษัทเอง


โดยถ้าเรามองภาพรวมในประเทศไทยในปัจจุบัน ช่องทางการขายประกันรถยนต์แบบ Direct to customers มีสัดส่วนราวๆ 1% จากช่องทางการขายประกันรถยนต์ทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีสัดส่วนการซื้อแบบ Direct to customers เฉลี่ยสูงถึง 20% และ ใน สหราชอาณาจักร (UK) ก็มีสัดส่วนเฉลี่ยสูงถึง 35% ก็อาจจะหมายความว่าช่องทาง Direct to customers ในประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะเติบโตอีกเยอะมากๆครับ

 

  • พฤติกรรมการเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่เปลี่ยนไปหลังโควิด-19 ของคนไทย

 

อีกเทรนด์ที่น่าสนใจหลังวิกฤติโควิด-19 ของฝั่งประกันรถยนต์ก็คือ ‘การเปลี่ยนไปของพฤติกรรมการซื้อประกันรถยนต์’ ครับ

ข้อมูลจาก Priceza Money ระบุว่า ช่วงก่อนโควิด-19 ถึง ระหว่างโควิด-19 พฤติกรรมการเลือกซื้อประกันรถยนต์ของลูกค้าจะเลือกจากการเน้นดู ‘ราคาถูก’ เป็นหลัก เนื่องจากลูกค้ายังไม่ได้ตระหนักถึงความแตกต่างกันของบริษัทประกันแต่ละแห่ง จึงเน้นว่า ‘ที่ไหนขายถูก ก็เลือกที่นั่น’

ในช่วงปี 2019-2021 บริษัทประกันรถยนต์ที่ลูกค้านิยมเลือกมากที่สุดคือ สินมั่นคงประกันภัย ไทยศรีประกันภัย และ รู้ใจประกันภัย ที่มีเบี้ยประกันรถยนต์ชั้น 1 เฉลี่ยที่ราคา 9,000 - 12,000 บาท แต่พอถึงช่วงปลายปี 2021 เข้าปี 2022 เกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบมาจากโควิด-19 นั่นก็คือ’ประกันโควิด-19’ ที่ทำให้บริษัทประกันหลายๆบริษัทถึงกับต้องปิดกิจการ ทิ้งให้ลูกค้าที่เคลมประกันโควิดรอเงินค่าเคลมกันมาถึงปัจจุบัน

ส่งผลกระทบต่อ ‘ความตระหนักถึงความสำคัญของบริษัทประกันภัย’ ขึ้นมาทันที หลายๆคนเอาบริษัทที่ตัวเองทำประกันโควิดด้วยแล้วจ่ายเร็ว เคลมได้ อย่างวิริยะประกันภัย มาเปรียบเทียบว่าไว้ใจได้ มีความน่าเชื่อถือ ไม่ทิ้งลูกค้า เป็นที่มาให้สถิติการซื้อประกันรถยนต์ของลูกค้าในปี 2022 ถึงปัจจุบัน บริษัทที่มีชื่อเสียงที่ดี มีความน่าเชื่อถือ อย่าง วิริยะประกันภัย และ ธนชาติประกันภัยในเครือของธนาคาร TTB ที่ถึงแม้จะขายเบี้ยประกันรถยนต์ที่แพงกว่าเจ้าอื่นๆ ได้รับความนิยมจากลูกค้าเพิ่มขึ้นเต็มๆ

ราคาเบี้ยประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ลูกค้าเลือก โดยเฉลี่ยในปี 2022 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 15,000-18,000 บาท โดยบริษัทยอดนิยมที่ถูกเลือกมากที่สุดคือ วิริยะประกันภัย ธนชาติประกันภัย กรุงเทพประกันภัย สวนทางกับบริษัทที่กำลังฟื้นฟูกิจการอยู่อย่างสินมั่นคงประกันภัย ที่ถึงแม้จะยังขายประกันรถยนต์ในราคาที่ถูกมากๆ (เฉลี่ย 9,000 บาท) แต่ลูกค้าหลายๆคนก็เลือกที่จะไม่ไว้วางใจที่จะซื้อประกันด้วยแล้วนั่นเองครับ

screenshot2565-12-04at10._1

screenshot2565-12-04at10._2

โดยแนวโน้มของเทรนด์ ‘การเลือกบริษัทประกันก่อนราคา’ ก็น่าจะดำเนินต่อไปในปีหน้าอย่างแน่นอนครับ ซึ่งบริษัทประกันเล็กๆที่ไม่ได้มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานก็จะต้องใส่ใจในเรื่องของบริการและการรับประกันคุณภาพให้ลูกค้ามั่นใจมากขึ้น แทนที่จะสนใจแต่ราคาถูกอย่างเดียว และบริษัทใหญ่ๆก็จะได้เปรียบในการแข่งขันไปอีกสักพักอย่างแน่นอนครับ

สุดท้ายนี้ Priceza Money ได้กล่าวว่า ไม่ว่าเทรนด์ของประกันรถยนต์จะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเท่าไหร่ แต่ platform เว็บเปรียบเทียบประกันรถยนต์ ของ Priceza Money ก็จะตอบโจทย์ในการรวบรวมประกันรถยนต์จากทุกบริษัท ทุกผู้ขาย และ ทุกแบบ มาให้คนไทยได้พิจารณาและเลือกประกันรถยนต์ที่เหมาะกับตัวเองอย่างแน่นอนครับ


เพราะ Priceza Money เป็นเว็บเปรียบเทียบประกันรถยนต์ที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องค่า commission จากบริษัทประกัน ทำให้สามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ทุกรูปแบบให้คนไทยได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่เชียร์ขายเจ้าใดเจ้าหนึ่ง นั่นเองครับ

 

 

แชร์

แนวโน้มเบี้ยประกันภัยรถยนต์ปี 2566 ถูกลงราว40%พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน