แต่เสียงตอบรับจากนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างชาติ ที่สะท้อนได้จากภาพรวมตลาดหุ้นไทย ที่เปิดตลาดหุ้นไทยมานั้น ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา พบว่า
15 พ.ค.2566
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เปิดตลาดที่ 1,570.62 จุด
ปิดตลาดที่ 1,541.38 จุด
ลดลง 19.97 จุด หรือลดลง 1.28%
นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 691.15 ล้านบาท
16 พ.ค.2566
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เปิดตลาดที่ 1,514.11 จุด
ปิดตลาดที่ 1,539.84 จุด
ลดลง 1.54 จุด หรือลดลง 0.10%
นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 1,111.41 ล้านบาท
17 พ.ค.2566
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เปิดตลาดที่ 1,542.02 จุด
ปิดตลาดที่ 1,521.14 จุด
ลดลง 18.70 จุด หรือลดลง 1.21%
นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 4,439.34 ล้านบาท
โดยนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นสุทธิ ณ วันที่ 1-17 พ.ค.2566 อยู่ที่ 11,323.99 ล้านบาท และถ้าตั้งแต่ต้นปี ณ วันที่ 1 ม.ค.-17 พ.ค.2566 76,085.51 ล้านบาท
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ทรีนิตี้ กล่าวกับ SPOTLIGHT ถึงสาเหตุที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงว่า
ปัจจัยแรก คือ “ หลักๆ เป็นเรื่องความยืดเยื้อในการฟอร์มรัฐบาลไม่ได้จบในระยะสั้น แม้ว่าพรรคก้าวไกลจะสามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้ 310 เสียงแล้วก็ตาม แต่บริบทในปัจจุบันยังมีอะไรที่ยากจะคาดเดา”
โดยในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา ก็มีการส่งสัญญาณจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งยังมีปัจจัยมีหลายอย่าง แต่หากมีคะแนนเสียงให้ได้เกือบ 370 เสียงก็อาจจะช่วยลดความกังวลใจได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน
อีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีแรงเทขายจากนักลงทุน คือ การประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 1/2566 ที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก ทำให้นักลงทุนมีแรงเทขายหุ้นออกมา
สำหรับในช่วงสัปดาห์นี้คาดว่า ตลาดหุ้นไทยอยู่ Side Way หากดีขึ้นก็คงไม่ได้แรงมาก นอกเสียจากว่าแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสามารถรวบรวมคะแนนเสียงได้ใกล้เคียง 375 เสียง ก็มีโอกาสที่จะทำให้หุ้นไทยปรับตัวขึ้นแรงได้
แต่ในช่วง 1-2 เดือนนี้ คาดว่าตลาดหุ้นไทยยังคงซึมๆ ซึ่งในช่วง 1-2 วันนี้คงต้องติดตามสถานการณ์การเมืองว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป โดยหุ้นไทยที่มีแรงเทขาย จะเป็นหุ้นกลุ่มพลังงาน หุ้นที่เกี่ยวกับทุนผูกขาด