GMM Grammy เตรียมดัน ‘GMM MUSIC’ ธุรกิจเพลงแบบครบวงจรเข้าตลาดหุ้น ระดมทุนสร้างการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมเพลงไทยภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘New Music Economy’ ผ่าน 7 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่
ขยายการผลิต เป็นอีกเท่าตัวจากการผลิตในปัจจุบัน โดย GMM MUSIC มีแผน “จะเพิ่มการผลิต”
ขยาย Scale ของ Music Festival ที่ครอบคลุมสูงสุดทั่วประเทศ สู่การรองรับจำนวนผู้ชมซึ่งจะมากกว่า 500,000 คนต่อปี ด้วยความตั้งใจร่วมมือกับทุกค่ายเพลง พร้อมต่อยอดแหล่งรายได้ให้เติบโตอย่างรวดเร็ว กวาดรายได้ทั้งในประเทศ และจากต่างประเทศ ในขณะที่ Arena Concert นอกจากจะมี Line Up ที่ครอบคลุมตั้งแต่ศิลปินยุคแจ้งเกิดของบริษัทจนถึงศิลปินยุคปัจจุบัน GMM MUSIC จะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งใน และต่างประเทศในการขยาย Segment เดินหน้าสู่การเป็นผู้จัด International Fan Meeting & Concert อย่างเป็นรูปธรรม และพร้อมจับมือกับ Promoter เจ้าต่าง ๆ ใน Southeast Asia เพื่อการขยายตัว
ขยายพันธมิตรทางดนตรี ร่วมจับมือกับค่ายเพลงในประเทศไทย ผ่านการ M&A (Mergers & Acquisitions) หรือ JV (Joint Venture) เพื่อสร้าง Synergy Value ในการขยายการผลิต และการเติบโตทางธุรกิจทุกช่องทาง ร่วมกันสร้างให้อุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตใหญ่ยิ่งขึ้นในระบบเศรษฐกิจมหภาค โดยสามารถสร้างการขยายตัวได้ทั้งในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ พร้อมการสร้างรายได้ที่มากขึ้น
ขยายการจับมือกับบริษัทชั้นนำในต่างชาติผ่านการ JV (Joint Venture) เพื่อการสร้างงานเพลง และส่งเสริมศิลปินไทย เดินหน้าสู่ศักยภาพ และมาตรฐานใหม่ในระดับสากล (Thailand Soft Power) ซึ่งการเดินหน้าจับมือในครั้งนี้ บริษัทได้วางแผนที่จะจับมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้นำในภูมิภาคต่าง ๆ (Global Leader) อาทิเช่น สหรัฐอเมริกา, สแกนดิเนเวีย, จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านในแถบ Southeast Asia ซึ่งการเดินหน้า JV ต่าง ๆ นี้จะคล้ายคลึงกับการ JV ของ GMM MUSIC กับ บริษัท YG Entertainment ในการจัดตั้ง JV YGMM เพื่อคัดสรร และผลิตศิลปินไทยป้อนสู่ระดับสากลที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
ขยายวงล้อมการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพในทุกรูปแบบ และทุกช่องทางการสื่อสารผ่านการสร้าง Partnership Deal หรือ JV เพื่อแลกเปลี่ยนศักยภาพทางธุรกิจที่ต่อยอดได้ไม่รู้จบทั้งสื่อทางด้าน On Air On Board Online และ On Ground ส่งเสริมการ Promote ศิลปินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ขยายศักยภาพการบริหารจัดการข้อมูล Big Data ผ่านการลงทุนเพิ่มด้าน Data Scientist Machine Learning และระบบ AI พร้อมสร้าง Tools ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งในเชิงการค้า การบริหารจัดการ และการพัฒนาศิลปิน รองรับธุรกิจแห่งอนาคตที่ให้ความสำคัญด้าน Personalization Offering
ขยายทีมงานแห่งอนาคตด้วยการลงทุนในบุคลากรรุ่นใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยความเชี่ยวชาญใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเติมเต็ม สืบทอด ต่อยอด รองรับการก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจเพลง
ด้านหัวเรือของ GMM MUSIC ผู้พาบริษัทก้าวข้ามอุปสรรคยุคโควิด-19 และสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดท่ามกลางยุคดิจิทัล นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GMM MUSIC กล่าวว่า “อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกได้เติบโตกลับมาถึงจุดที่เรียกว่า “Music Second Wave” ซึ่งหมายความว่า อุตสาหกรรมทั่วโลกมียอดรายรับ “ทะลุจุดสูงสุดที่เคยสร้างไว้ในอดีต” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “อุตสาหกรรมเพลงได้กลับมาสู่จุดรุ่งเรืองสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง และกำลังเติบโตขึ้น” จากตัวเลขการคาดการรายรับ (World Business Projection) อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกจะเติบโตขึ้นอีกเป็นเท่าตัว (X2) ภายในปี 2030 ซึ่งแน่นอนว่าเหตุผลหลักของการเติบโตนั้นมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ การเติบโตของธุรกิจ Digital Streaming และการเติบโตของธุรกิจ Showbiz ที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้ การ Spin-Off ในครั้งนี้จะทำให้มูลค่าของ GMM MUSIC สะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริงของ GMM MUSIC ในอุตสาหกรรมเพลง ซึ่ง GMM MUSIC มีความพร้อมที่จะขยายตัวได้อีกมาก”
“ปีนี้ GMM Grammy มีอายุครบรอบ 40 ปี หากแต่เราไม่ได้มองแค่เพียงความสำเร็จของตัวเราในวันนี้แล้ว เรามองไปอีก 40 ปีข้างหน้า ว่าต่อจากนี้ เราจะทำอย่างไร ที่จะทำให้อุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตร่วมไปกับทุกศิลปิน ทุกค่ายเพลง เพื่อความเจริญรุ่งเรือง สร้างเศรษฐกิจใหม่ที่เติบโตไม่แพ้สัดส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจเพลงในตลาดโลก (For The Next 40 years of Music Legacy) ภายใต้กรอบความคิดใหม่ ๆ จากคนรุ่นใหม่ และคนหัวคิดสมัยใหม่ ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา เราเดินทางสร้างตลาด เปลี่ยนผ่านจากความเป็น Music Company สู่ Music Infrastructure จนวันนี้เราจะเดินหน้าสู่การเป็น New Music Economy ที่จะสร้างผลลัพธ์ที่เป็นเลิศให้กับทุกคนในอุตสาหกรรมเพลงไทยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”
การจะพาอุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตขึ้นในจังหวะเดียวกับตลาดโลกได้ แน่นอนว่า GMM MUSIC จะต้องพาพันธมิตรใหม่ๆ มาร่วมสร้างการเติบโตไปด้วยกัน นายฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค กล่าวเสริมว่า “การ Spin-Off ที่จะเกิดขึ้นนี้ บริษัทตั้งอยู่บนพื้นฐานของธุรกิจที่มีความแข็งแรง ทั้งขนาดรายได้ ขนาดกำไร คุณภาพของศิลปิน และคุณภาพของทีมงาน ผมมั่นใจว่าหากเราผลักดัน New Music Economy ได้นั้น อาจหมายถึงการเติบโตการผลิตได้ถึง 2 เท่า เราก็ควรที่จะสร้างรายได้เติบโตได้เป็น 2 เท่าเช่นกัน และหากเราสามารถสร้างความร่วมมือ และพันธมิตรได้มากขึ้นเป็น 2 เท่า ตลาดก็น่าที่จะเติบโตได้เป็น 2 เท่าเช่นกัน”
“มุมความคิดเหล่านี้ ล้วนสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของตลาดโลก ที่ไม่ได้เติบโตแค่ในเชิงของคุณภาพเพียงแค่นั้น หากแต่เติบโตด้วยเรื่องของขนาด (Scale) เป็นอีกนัยยะสำคัญหนึ่งเช่นกัน การเติบโตที่เราเชื่อมั่นมาจากทั้งพื้นฐานธุรกิจที่มั่นคง (Sustainable Growth) และความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ และพันธมิตรทุกสาขา (Strategic Growth) ณ ปัจจุบัน ผม และบริษัทได้เตรียมการที่จะเดินหน้าด้าน Strategic Investment อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันเราได้ทำการเจรจา และอยู่ในขั้นตอนการสรุปดีลกับ Partner ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศความร่วมมือต่าง ๆ ได้ภายในไตรมาส 3 ถึงไตรมาส 4 ของปี 2566 นี้”
นายภาวิต จิตรกร กล่าวปิดท้ายว่า “บริษัทตั้งประมาณการที่จะสร้างรายได้ที่ 3,800 ล้านบาท ในปี 2566 นี้ และพร้อมที่จะเดินหน้าสู่การสร้างผลประกอบการแบบ New High ภายในปี 2567 ที่จะถึงนี้ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของ New Music Economy ยังมีฉากทัศน์อีกมากมายที่จะเกิดขึ้นภายใต้การ Spin-Off ของ GMM MUSIC ในครั้งนี้”
ปัจจุบัน GMM MUSIC มีที่มาของรายได้จาก 5 แหล่งธุรกิจหลัก ได้แก่
*หมายเหตุ: ข้อมูลอ้างอิงจากรายได้ 12 เดือนย้อนหลังของธุรกิจเพลง นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2565 ถึงไตรมาส 1 ปี 2566
ก่อนหน้านี้เราได้เห็นการประกาศความร่วมมือของ 2 ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ GMM MUSIC และ RS MUSIC ในการประกาศความร่วมมือ สร้างปรากฏการณ์ ‘Grammy RS Concerts’ รวมศิลปินดังจากทั้งสองค่ายมาจัดคอนเสิร์ตร่วมกันหลากหลายซีรีส์ ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม รวมถึงการประกาศดัน RS MUSIC เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2567 ทำให้เห็นว่าอุตสาหกรรมเพลงไทยได้ฟื้นคืนชีพกลับมาแล้ว
และฉากทัศน์คงเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนมาก จากภาพค่ายเพลงที่คอยสู้กันแบบหมัดต่อหมัด กลายเป็นอุตสาหกรรมความบันเทิงที่สอดประสาน และทำงานร่วมกันทั้งค่ายใหญ่ ค่ายเล็ก เพราะศัตรูของค่ายเพลงไม่ใช่ค่ายเพลงด้วยกันอีกต่อไป แต่เป็นความสนใจของคนดูที่ใน 24 ชม. นั้นถูกแบ่งสรรปันส่วนให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ หลายแพลตฟอร์ม