ประเทศไทยมีศักยภาพจะเป็นจุดหมายในวัยเกษียณของกลุ่ม LGBTQ+ จากจุดแข็งหลายประการ ทั้งด้านวัฒนธรรม การแพทย์ ค่าครองชีพ และการเปิดกว้างให้เพศทางเลือกมากกว่าหลายประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก รับเทรนด์ ‘Pink Economy’ ที่กำลังเบ่งบานทั่วโลก
Pink Economy หรือ (หรือ Pink Money) ใช้อธิบายถึงกำลังซื้อของกลุ่ม LGBTQ+ ซึ่งมักมีอำนาจในการซื้อสูงกว่าคู่รักต่างเพศ (Heterosexual) เนื่องจากมักไม่มีลูก ซึ่งขณะนี้ กลุ่ม LGBTQ+ ในยุคเบบี้บูมเมอร์ กำลังย่างเข้าสู่วัย 50 ไปจนถึง 70 กว่าปี เป็นช่วงวัยที่เตรียมใช้ชีวิตในวัยเกษียณแล้ว โดยมีประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประชากร LGBTQ+ ของโลกอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับประเทศไทย โดยในอินเดียมีจำนวนมากกว่า 100 ล้านคน ในจีนมากกว่า 80 ล้านคน ส่วนไทย เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกมีมากกว่า 10 ล้านคน และผลสำรวจในปี 2018 โดย Out Now เผยว่ายอดเงินจับจ่ายที่กลุ่ม LGBTQ+ ใช้กับการท่องเที่ยวคิดเป็น 2.18 แสนล้านดอลลาร์ (7.7 ล้านล้านบาท)
Borderless.lgbt ซึ่งเป็นสายงานด้านสุขภาพและสุขภาวะที่ครอบคลุมของ Borderless Healthcare Group (BHG) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนประเทศไทยในการพัฒนา
รูปแบบการใช้ชีวิตหลังเกษียณ พร้อมด้วยกับการบริการระบบคลาวด์ด้านสุขภาพและสุขภาวะที่บ้านพักอาศัยอย่างสะดวกสบาย
“ตอนนี้ว่าด้วยเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของกลุ่ม LGBTQ+ ทั้งการดูแลผู้ป่วยในคลินิกและการดูแลผู้ที่สุขภาพดีที่บ้าน และแม้แต่ในรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ ซี่งมอบประสบการณ์การดูแลที่ไร้รอยต่ออย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน รูปแบบการดูแลแบบใหม่นี้พร้อมการมีทางเลือกให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีระดับในประเทศและระดับโลก มาให้ความรู้ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า ถือเป็นตัวเปลี่ยนเกมในชีวิตเกษียณของกลุ่ม LGBTQ+” ดร. เวนย์ โฮ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ Borderless.lgbt ที่พำนักอยู่ในสหรัฐฯ กล่าว ดร. โฮยังเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียและเป็นแพทย์ฝึกหัดที่เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของกลุ่ม LGBTQ+ ในสหรัฐอเมริกา
Borderless.lgbt ได้จัดตั้งศูนย์บริการการแพทย์ทางไกลแบบเสมือนจริงและห้องชุดสุขภาพที่ครอบคลุมเพื่อให้ลูกค้า LGBTQ+ สามารถจองเวลาของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและความงามชั้นนำของโลก และกำลังหารือกับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสำรวจการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อการเกษียณอายุที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศไทย
ด้านนายแพทย์ชัยวัฒน์ ทรงศิริพันธ์ุ ผู้ก่อต้ังและผู้อำนวยการด้านการแพทย์จาก Safe Clinic คลินิกโรคทางเพศและ HIV ส่วนตัวแห่งแรกในไทยที่ทำงานร่วมกับ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เผยว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการดึงดูดกลุ่ม LGBTQ+ ได้มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากวัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนาที่เปิดรับเพศที่หลากหลายมากกว่า สามารถเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์คุณภาพสูงได้อย่างสะดวก ไม่ต้องปกปิด มีสถานที่ท่องเที่ยวเยอะ และมีค่าครองชีพถูกกว่า เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก
ในแง่ของโอกาสทางธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมทางการแพทย์นั้น นายแพทย์ชัยวัฒน์ ให้มุมมองว่า การการดูแลรักษาสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ มีทั้งการรักษาเฉพาะด้าน (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, Hormone Replacement ซึ่งต้องได้รับการดูแลตลอดชีวิต) และการรักษาทั่วไป (สุขภาพร่างกาย, สุขภาพจิตใจ, และด้านความสัมพันธ์) แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีข้อจำกัดด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสมรส และการใช้คำนำหน้าที่ระบุเพศ ซึ่งแม้จะยังไม่สำเร็จ แต่ก็ได้รับการผลักดันอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะปลดล็อกได้ในเร็ววัน
ด้วยความพร้อมเหล่านี้ ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่พร้อมเป็นจุดหมายปลายทางการเกษียณสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องการการร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อมาร่วมออกแบบ ปลดล็อกข้อจำกัดที่มี และร่วมเปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้จาก Pink Economy เร็วกว่าประเทศอื่น
รู้จัก ‘Borderless.clinic’ พาหมอมือดีจากทั่วโลกมาใกล้คุณผ่านออนไลน์