Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ส่องสิทธิ LGBTQ+ ประเทศเพื่อนบ้าน หลังไทยมีสมรสเท่าเทียมชาติแรกอาเซียน
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

ส่องสิทธิ LGBTQ+ ประเทศเพื่อนบ้าน หลังไทยมีสมรสเท่าเทียมชาติแรกอาเซียน

23 ม.ค. 68
15:37 น.
|
188
แชร์

วันที่ 23 มกราคม 2025 ไทยเฉลิมฉลองการมีสมรสเท่าเทียม เปิดโอกาสให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ และยังมีสิทธิต่างๆทางกฎหมาย นับเป็นชาติแรกในอาเซียนที่กฎหมายตัวนี้ Spotlight World พาไปสำรวจสิทธิของ LGBTQ+ในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของไทยว่าเป็นเช่นไรบ้าง ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีและศาสนา

 

สิงคโปร์

-       ในช่วงปลายปี 2022 รัฐบาลได้ยกเลิกมาตรา 377A ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเคยกำหนดให้การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายที่ยินยอมกันเป็นความผิดทางอาญา

-       ทัศนคติของสังคมสิงคโปร์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ยอมรับมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่

-       การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันยังไม่ได้รับการยอมรับในกฎหมายของสิงคโปร์

สปป.ลาว

-       รักเพศเดียวกันไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ปัจจุบันยังไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับ LGBTQ+

-       มีการจัดตั้งองค์กร “Proud to be Us Laos” เพื่อการสร้างความตระหนักรู้และรณรงค์สิทธิ

-       กลุ่มคนรุ่นใหม่ เริ่มมีความยอมรับและเปิดกว้างต่อชุมชน LGBTQ+ มากขึ้น แม้ยังคงมีการไม่ยอมรับและตีตรา ลดคุณค่า LGBTQ+

เวียดนาม

-       ปี 2015 กฎหมายครอบครัวและการสมรสของเวียดนามได้ถูกแก้ไข เพื่อลบการห้ามการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน แต่ยังไม่มีการรับรองทางกฎหมาย

-       แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง เพื่ออนุญาตให้บุคคลข้ามเพศสามารถเปลี่ยนชื่อและเพศในเอกสารทางกฎหมายได้

-       ทัศนคติของกลุ่ม LGBTQ+ แตกต่างกันออกไป บางพื้นที่ยังมีการตีตราและไม่ยอมรับ

 

กัมพูชา

-        แม้การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันจะถูกกฎหมาย แต่กฎหมายกัมพูชายังไม่มีบทบัญญัติที่ปกป้องกลุ่ม LGBTQ จากการเลือกปฏิบัติหรือการก่ออาชญากรรมจากความเกลียดชัง

-       สมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนีทรงสนับสนุนการรับรองการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน

เมียนมา

-       ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันยังคงถือว่าผิดกฎหมายอาญา ส่งผลให้กลุ่ม LGBTQ ต้องเผชิญกับอุปสรรค

-        ไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมายต่อการเลือกปฏิบัติที่เกิดจากรสนิยมทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ

 

มาเลเซีย

-       การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (sodomy) ถือเป็นอาชญากรรมในมาเลเซีย

-       ไม่มีกฎหมายที่ปกป้องชุมชน LGBTQ จากการเลือกปฏิบัติหรือความเกลียดชัง

-       มีรายงานความรุนแรงที่เกิดจากรสนิยมทางเพศซึ่งรัฐไม่ได้มีมาตรการป้องกัน

-       มีการบำบัดเปลี่ยนเพศวิถีเป็นสิ่งที่ยังคงปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในมาเลเซีย และได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองและผู้นำศาสนา

-       ในปี 2023 ดัชนี Global Trans Rights Index จัดอันดับมาเลเซียเป็นประเทศที่มีสิทธิของบุคคลข้ามเพศแย่เป็นอันดับสองของโลก

 

ฟิลิปปินส์

-       มีก้าวหน้าในด้านสิทธิของ LGBTQ+ โดยเฉพาะในเรื่องของการยอมรับจากสาธารณะและการออกกฎหมายในบางพื้นที่

-       ยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายระดับชาติที่ห้ามการเลือกปฏิบัติตามรสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ หรือการแสดงออกทางเพศ (SOGIE)

-       การสำรวจความคิดเห็นสาธารณะแสดงให้เห็นถึงการยอมรับที่เพิ่มขึ้นต่อบุคคลในชุมชน LGBTQ+ ในสังคมฟิลิปปินส์

-       บุคคลในกลุ่ม LGBTQ+ ยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ เช่น การเลือกปฏิบัติ ความรุนแรง และการขาดการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ เนื่องจากการตีตราทางสังคม

 อินโดนีเซีย

-       รัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกกฎระเบียบที่ห้ามการส่งเสริมสิทธิของ LGBTQ ในสื่อ การศึกษา และพื้นที่สาธารณะอื่นๆ

-       ไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิของชุมชน LGBTQ

-       ชาว LGBTQ เผชิญกับการเลือกปฏิบัติ และการปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานและบริการต่างๆ

-       ในจังหวัดอาเจะห์มีการออกกฎหมายที่ทำให้การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันเป็นความผิด และมีบทลงโทษ

บรูไน

-       การแสดงออกทางเพศเดียวกันทั้งในผู้ชายและผู้หญิงถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

-       การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายและชาย หรือหญิงและหญิงในบรูไนเป็นความผิดที่มีบทลงโทษ

-       องค์การ OutRight Action International ชี้ว่า บรูไนเป็นประเทศที่มีสถานการณ์สิทธิของ LGBTQ ที่น่ากังวลที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

-       มีความพยายามตั้งกลุ่ม "The Brunei Project" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2015 มุ่งมั่นส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และกลุ่มได้จัดงานกิจกรรมเฉลิมฉลอง "วันต่อต้านโฮโมโฟเบียสากล" ครั้งแรกในบรูไนในปี 2016

แชร์
ส่องสิทธิ LGBTQ+ ประเทศเพื่อนบ้าน หลังไทยมีสมรสเท่าเทียมชาติแรกอาเซียน