เอสซีจี ย้ำเดินหน้าสร้างสังคม Net Zero ให้เติบโตอย่างยั่งยืนแก้วิกฤตโลกเดือดมุ่งสู่ยอดขายนวัตกรรมกรีนร้อยละ 67 ในปี 2573 เปิดแนวคิด‘Passion for Inclusive Green Growth’ ผ่าน 4 เครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนองค์กร
1) องค์กรคล่องตัว 2) นวัตกรรมกรีน 3) องค์กรแห่งโอกาส 4) ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
เริ่มต้นปี 2567 เอสซีจีเข้าสู่ยุคการบริหารองค์กรโดยคุณธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี คนล่าสุด ที่ประกาศเป้าหมายให้ เอสซีจี จากนี้ไปเป็นธุรกิจที่มุ่งสร้างสังคม Net Zero ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมกรีน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังหรือแนวคิด ‘Passion for Inclusive Green Growth’
‘เอสซีจี อยู่มา 111 ปีแล้ว และจะต้องอยู่ต่อไปอีกนานเป็น 50-100ปี ดังนั้นการทำธุรกิจต้องสร้างรากฐานเพื่อให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน และอยากให้เป็นการเติบโตในแบบ Inclusive Green Growth คือทุกธุรกิจที่เราดำเนินการทั้งหมดและทุกคนในห่วงโซ่คุณค่า ต้องเเติบโตแบบกรีนไปด้วยกัน’ คุณธรรมศักดิ์ กล่าวในงาน แถลงข่าว SCG Business Purpose (15 ก.พ.67)
SCG ต้องเตรียมตัวให้พร้อมทรานส์ฟอร์มโครงสร้าง สร้างความคล่องตัว ดันธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพเติบโตสูง เพื่อขยายขีดความสามารถของแต่ละธุรกิจให้พร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างทันท่วงทีและความผันผวนของสถานการณ์โลกประกอบด้วย
เอสซีจี เร่งพัฒนานวัตกรรมโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งป็นที่ต้องการสูงของตลาดโลก ให้ทุกคนมีส่วนร่วมสร้างสังคม Net Zero เช่น นวัตกรรมปูนคาร์บอนต่ำ ซึ่งปัจจุบันเอสซีจีพัฒนาเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 3 แล้ว โดยความต้องการจากตลาดโลกสูงมากในปี 2566 เห็นได้จากยอดการสั่งซื้อปูนซีเมนต์ 70% เป็นปูนคาร์บอนต่ำเจนเนอเรชั่นที่ 1 และในไตรมาสที่4/2566 มีลูกค้าสั่งซื้อ ปูนคาร์บอนต่ำ เจนเนอเรชั่นที่ 3 นับแสนตัน แสดงถึงความต้องการในตลาดที่มากและเป็นโอกาสของธุรกิจ ทั้งนี้ในปี 2567 เอสซีจี จะเปิดตัว ปูนคาร์บอนต่ำ เจนเนอเรชั่นที่ 2 และภายใน 3 ปีข้างหน้าจะเปิดตัว ปูนคาร์บอนต่ำ เจนเนอเรชั่นที่ 3 ที่ลดคาร์บอนไดออกไซต์ได้ 30-40%
นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมกรีนอีกหลากหลาย ทั้งสมาร์ทโซลูชันเพื่อการอยู่อาศัย พลาสติกรักษ์โลก บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนที่ใช้ซ้ำ รีไซเคิลได้ พลังงานสะอาดครบวงจร พร้อมขยายเข้าสู่อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยระดับโลกเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน อาทิ ‘Norner AS’ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลาสติก ประเทศนอร์เวย์ และ ‘มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด’ ประเทศอังกฤษ
ทั้งนี้ SCG ตั้งเป้ารายได้จากนวัตกรรมรักษ์โลก SCG Green Choice ร้อยละ 67 จากยอดขายทั้งหมด ภายในปี 2573 พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการผลิตคาร์บอนต่ำ ตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2593 (Net Zero 2050) ปัจจุบันคืบหน้าตามแผน
คุณธรรมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ต่างๆที่ต้องการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนล้วนเกิดมาจากคน SCG ต้องมีคนที่มีความรู้ความสามารถทำให้คนรุ่นใหม่สามารถปล่อยพลังได้เต็มที่เปิดโอกาสให้สร้างสรรค์นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ ๆ ผ่านโครงการสตาร์ทอัพในเอสซีจี อาทิ
โครงการ ZERO TO ONE by SCG สร้างโอกาสให้พนักงานก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ ปั้นธุรกิจศักยภาพสูงมากมาย เช่น ‘Dezpax.com’ แพลตฟอร์มออนไลน์แพคเกจจิ้งครบวงจรรายแรกในไทย สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ฟู้ดเดลิเวอรี่ และคาเฟ่ ในการสร้างแพคเกจจิ้งเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในจำนวนน้อย ราคาเหมาะสมกับ SMEs ซึ่งเติบโตกว่าร้อยละ 300 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ยอมรับจากผู้ประกอบการกว่า 10,000 รายทั่วประเทศ
Urbanice’ แพลตฟอร์มสื่อสาร บริหารจัดการ สำหรับชุมชนที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียมและหมู่บ้าน เพื่อการอยู่อาศัยแบบสมาร์ท สะดวก และมีความสุข มีผู้ใช้งานกว่า 250,000 คน ใน 850 โครงการทั่วประเทศ ตลอดจนสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ ตอบเทรนด์อนาคต ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนภายนอกเอสซีจี เช่น ‘NocNoc’ ศูนย์รวมสินค้าและบริการเรื่องบ้านออนไลน์ ที่กำลังขยายธุรกิจทั้งในไทยและอาเซียน
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแพลตฟอร์มสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ‘Prompt Plus’ ยกระดับการบริหารจัดการต้นทุนและสต๊อกสินค้าให้แก่ร้านค้ารายย่อยกว่า 10,000 รายในเครือข่ายเอสซีจี
เอสซีจี ชวนทุกคนในห่วงโซ่คุณค่า (Supply Chain) เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปพร้อมกัน ด้วยการผลักดัน ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย’ เพื่อเรียนรู้ปัจจัยความสำเร็จ ข้อจำกัดในการเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และส่งเสริม ‘การเกษตรคาร์บอนต่ำ’ เช่น การทำนาเปียกสลับแห้งและการปลูกพืชพลังงานอย่างหญ้าเนเปียร์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน
พร้อมทั้งสร้างเครือข่าย ‘Big Brothers for SMEs’ ใน จ.สระบุรี เพื่อส่งต่อความรู้ให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ทั้งด้านพลังงานสะอาด นวัตกรรมรักษ์โลก การหาแหล่งเงินทุน ตลอดจน ‘พัฒนาทักษะอาชีพที่ตลาดต้องการ’ 50,000 คน ในปี 2573
กระดับแรงงานไทย มีอาชีพมั่นคง ลดเหลื่อมล้ำ เช่น ช่างติดตั้งและทำความสะอาดหลังคาโซลาร์ และนักเขียนแบบโดยใช้โปรแกรม BIM (Building Information Modelling) รวมทั้งจับมือกับชุมชน ‘ดูแลระบบนิเวศให้อุดมสมบูรณ์และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ’ ผ่านโครงการรักษ์ภูผามหานที มุ่งสู่เป้าหมายปลูกต้นไม้ 1.5 ล้านไร่ในปี 2593 ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 2 ล้านตันต่อปี ส่งต่อความยั่งยืนให้คนรุ่นต่อไป”
“เอสซีจี พร้อมนำความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี มาเร่งพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกสบาย ปลอดภัย ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ เพื่อให้ทุกคนทั้งอาเซียนและระดับโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีบนสังคม Net Zero” กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ย้ำทิ้งท้าย