หลังจาก ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านการลงมติจาก สว.แล้วเมื่อวานนี้ จากนี้ไปกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ เตรียมไปจดทะเบียนเป็นคู่สมรสกันได้อย่างถูกกฏหมาย ซึ่งเมื่อเป็นคู่สมรสแล้ว สิทธิต่างๆในเรื่อง ทรัพย์สิน มีหลายประเด็นที่ควรต้องรู้ไว้
กระบวนการจากนี้ไปของร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะถูกส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา และหลังจาก 120 วัน ทุกคนก็สามารถไปที่อำเภอหรือสำนักงานเขตเพื่อจดทะเบียนสมรสได้ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย และประเทศแรกในอาเซียน ที่มีกฎหมายส่งเสริมการสมรสเท่าเทียม ตามต่อจาก ไต้หวัน และเนปาล
ข้อมูลจาก LGBT Capital คาดการณ์ว่าอำนาจการใช้จ่ายโดยรวมทั่วโลกของกลุ่ม LGBTQIAN+ ในปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 4.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี จากจำนวนประชากร 388 ล้านคนทั่วโลก โดยในจำนวนนี้คิดเป็น LGBTQIAN+ ชาวไทยประมาณ 3.7 ล้านคน และมีอำนาจการใช้จ่ายอยู่ที่ 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่มนี้ และยังเป็นโอกาสของภาคธุรกิจ พร้อมกับเศรษฐกิจสีรุ้งอีกด้วย
นอกจากพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถสมรสกันได้ตามกฎหมายแล้ว ยังมาพร้อมสิทธิในการสมรสที่ครอบคลุมทุกมิติ ดังนี้
คู่สมรส LGBTQIAN+ จะได้รับสิทธิตามกฎหมายในการหมั้น หรือแต่งงาน ซึ่งสามารถจดทะเบียนสมรสในไทยและใช้สิทธิคู่สมรสได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิง รวมไปถึงในกรณีที่ต้องการหย่าร้างทั้งโดยสมัครใจหรือฟ้องหย่า ก็มีสิทธิได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมเช่นกัน
ช่วยให้คู่สมรส LGBTQIAN+ สามารถรับบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายเป็นบุตรบุญธรรมของตนได้ ต่างจากเดิมที่กลุ่ม LGBTQIAN+ จะสามารถเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมได้เพียงคนเดียว เนื่องจากไม่ได้เป็นคู่สมรสกันตามกฎหมายเหมือนคู่ชายหญิง
ซึ่งมีสิทธิในการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่ายได้ในฐานะคู่สมรส และเป็นผู้ตัดสินใจแทนเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ คู่สมรส LGBTQIAN+ ยังมีสิทธิรับประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรสเช่นกัน ซึ่งรวมไปถึงสิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล และสิทธิประกันสังคม
หากผู้ที่ได้รับมรดกเป็นคู่สมรส LGBTQIAN+ ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง คู่สมรสจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดก และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตจะถือเป็นทายาทโดยธรรมอันมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมายเช่นกัน
คู่สมรส LGBTQIAN+ จะมีสิทธิในการบริหารจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือโดยระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ซึ่งรวมไปถึงการถือครองอสังหาฯ อย่างบ้าน/คอนโดมิเนียมเช่นกัน
สำหรับสิทธิในการกู้ซื้อบ้านร่วมกันปัจจุบันเริ่มมีหลายธนาคารที่จัดแคมเปญพิเศษเพื่อเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถกู้ซื้อบ้าน/คอนโดฯ ร่วมกันได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเพศอีกต่อไปมี แต่ถ้าหากอนาคตสามารถจดทะเบียนสมรสกันได้แล้วถือเป็นบันไดก้าวสู่สิทธิพื้นฐานสำหรับคู่รักทุกเพศ ส่วนรายละเอียดเบื้องต้นที่สถาบันการเงินต้องการจากคู่รัก LGBTQIAN+ คล้ายคลึงกัน เช่น
นอกจากนี้ผู้กู้ยังต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั่วไป คือต้องมีภาระหนี้ไม่เกิน 30-40% ของรายได้ มีเงินออมอย่างน้อย 10% ของราคาที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีบันทึกการเคลื่อนไหวบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน โดยวงเงินกู้ที่ได้รับอาจได้ 100% ตามที่ยื่นกู้หรือแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
ข้อควรคำนึงที่สำคัญเมื่อคู่รักทุกเพศวางแผนจะกู้ร่วมคือกรรมสิทธิ์บ้านจะเป็นของทั้งสองฝ่าย หากในอนาคตมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการจะโอนหรือขายให้แก่ผู้อื่น จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้กู้ร่วมทุกราย แม้ว่าความจริงผู้กู้หลักจะเป็นผู้ผ่อนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม นอกจากนี้ หากมีปัญหาต้องการกรรมสิทธิ์คืน ผู้กู้อาจจะต้องดำเนินการฟ้องร้องและหาหลักฐานการผ่อนชำระ เพื่อมาสนับสนุนให้เห็นว่าผู้กู้หลักเป็นผู้ผ่อนแต่เพียงผู้เดียวจริง ๆ และอาจใช้เวลาในการฟ้องร้องพอสมควร
ข้อมูลจากดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ระบุถึงข้อจำกัดในการขอกู้ร่วมของคู่รัก LGBTQIAN+ จึงทำให้เกิดทางเลือกในการใช้สินเชื่อประเภทอื่นในการซื้อที่อยู่อาศัยโดยบางธนาคารจะมีสินเชื่อเพื่อธุรกิจหรือ SME ที่คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อสินทรัพย์ถาวรเพื่อประกอบกิจการได้ เช่น สถานประกอบการพร้อมที่ดิน หรือที่ดินเปล่าเพื่อใช้ดำเนินกิจการ
อย่างไรก็ดี การใช้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ถือได้ว่าเป็นเพียงทางเลือกในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย เนื่องจากมาพร้อมความท้าทายที่ควรพิจารณา ทั้งในเรื่องของระยะเวลากู้นานสุดที่ได้เพียง 10 ปีเท่านั้น ต่างจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งให้ระยะเวลาผ่อนสูงสุดถึง 30-40 ปี และอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ที่มีอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั่วไปอีกด้วย
ดังนั้น คู่รัก LGBTQIAN+ จึงควรพิจารณาและศึกษารายละเอียดของแคมเปญสินเชื่อต่าง ๆ ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย โดยคำนึงจากพื้นฐานความเหมาะสมในการอยู่อาศัยจริงและความพร้อมทางการเงินเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ข้อควรคำนึงที่สำคัญเมื่อคู่รักทุกเพศวางแผนจะกู้ร่วมคือกรรมสิทธิ์บ้านจะเป็นของทั้งสองฝ่าย หากในอนาคตมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการจะโอนหรือขายให้แก่ผู้อื่น จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้กู้ร่วมทุกราย แม้ว่าความจริงผู้กู้หลักจะเป็นผู้ผ่อนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม นอกจากนี้ หากมีปัญหาต้องการกรรมสิทธิ์คืน ผู้กู้อาจจะต้องดำเนินการฟ้องร้องและหาหลักฐานการผ่อนชำระ เพื่อมาสนับสนุนให้เห็นว่าผู้กู้หลักเป็นผู้ผ่อนแต่เพียงผู้เดียวจริง ๆ และอาจใช้เวลาในการฟ้องร้องพอสมควร
ข้อมูลจาก : DDproperty