Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567
โดย : ก่อกิจ เกตุบรรเทิง

รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567

15 พ.ย. 67
18:49 น.
|
2.7K
แชร์

ปี 2567 นับเป็นปีแห่งความผันผวนและความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมสื่อทั่วโลก คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงซัดกระหน่ำ ตั้งแต่สื่อยักษ์ใหญ่ระดับโลก ไปจนถึงสื่อท้องถิ่น ต่างต้องเผชิญกับแรงกดดันมหาศาล ข่าวการปลดพนักงาน การพักงาน และการปิดตัวลงของสำนักข่าวหลายแห่ง ดังที่ปรากฏในรายงานนี้ สะท้อนให้เห็นภาพวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสื่ออย่างรุนแรง

รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567

รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567

จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังคงมีความเสี่ยงและส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินโฆษณาในธุรกิจสื่ออย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ช่องน้อยสี ประกาศเลย์ออฟพนักงาน ปรับโครงสร้างองค์กร มีผลสิ้นปีนี้ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันมีความผันผวนและมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาในธุรกิจสื่อโดยรวมลดลงอย่างมาก ตัวอย่างเช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ ต่างได้รับผลกระทบจากการลดลงของงบประมาณด้านการตลาดของบริษัทต่างๆ ทำให้รายได้จากการโฆษณาของธุรกิจสื่อลดลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นวันนี้เราจะขอรวบรวม รายชื่อ สื่อไทย-เทศ ที่มีการประกาศ ปลดคน-พักจ่ายเงินเดือน ตลอดปี 2567

โมโน 29 ปรับโครงสร้างองค์กร ลดพนักงาน ประหยัด 11 ล้านบาทต่อเดือน

รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567

บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MONO ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับผลประกอบการประจำปี 2566 ว่า บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,895.4 ล้านบาท ลดลง 9.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และขาดทุน 255.1 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 324.4 ล้านบาท

เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว MONO จึงได้ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ในช่วงต้นปี 2567 โดยมุ่งเน้นการลดขนาดองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมกับปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยในปี 2567 นี้ MONO จะยังคงให้ความสำคัญกับธุรกิจผลิตคอนเทนต์ ทั้งในส่วนของช่องทางสื่อหลักอย่าง ทีวีดิจิทัล MONO29, ธุรกิจวิดีโอสตรีมมิ่ง MONOMAX และการขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ไปต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

การปรับโครงสร้างองค์กรในปี 2567 นี้ MONO ได้ปรับลดจำนวนพนักงานในทุกส่วนงาน ลดขนาดธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดกำไร ยุบหน่วยงานที่ซ้ำซ้อน และจ้างบริษัทภายนอก (Outsource) ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาทำงานแทน ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานลงได้ประมาณ 11 ล้านบาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 33% เมื่อเทียบกับก่อนการปรับโครงสร้าง

NATION พักการจ่ายเงินเดือนบางส่วนของพนักงาน

รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567

NATION ได้ออกมาประกาศมาตรการพักการจ่ายเงินเดือนบางส่วนของพนักงานที่มีรายได้ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567 เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันมีความผันผวนและมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาในธุรกิจสื่อโดยรวมลดลงอย่างมาก ตัวอย่างเช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ ต่างได้รับผลกระทบจากการลดลงของงบประมาณด้านการตลาดของบริษัทต่างๆ ทำให้รายได้จากการโฆษณาของธุรกิจสื่อลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องปรับลดค่าใช้จ่ายในหลายด้าน เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร และค่าใช้จ่ายด้านการตลาด เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยบริษัทได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าการพักการจ่ายเงินเดือนบางส่วนเป็นมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน

ดังนั้น NATION จึงขอแจ้งให้พนักงานทุกท่านทราบว่า บริษัทมีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการ "พักการจ่ายเงินเดือนบางส่วน" สำหรับพนักงานที่มีรายได้ตั้งแต่ 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567

ทั้งนี้ การพักการจ่ายเงินเดือนบางส่วนจะเป็นไปในลักษณะขั้นบันได โดยพักการจ่ายเงินเดือนในอัตรา 10% ถึง 30% ตามอัตราเงินเดือนของพนักงานแต่ละท่าน ยกตัวอย่างเช่น พนักงานที่มีเงินเดือน 50,000 บาท อาจถูกพักการจ่ายเงินเดือน 5,000 บาท (10%) ในขณะที่พนักงานที่มีเงินเดือน 100,000 บาท อาจถูกพักการจ่ายเงินเดือน 30,000 บาท (30%) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดผลกระทบต่อพนักงานที่มีรายได้น้อยที่สุด

Voice TV ประกาศอำลาผู้ชม ปิดฉาก 15 ปีวงการสื่อไทย

รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567

โดยวันที่ 26 เมษายน 2567 สถานีข่าว Voice TV (วอยซ์ทีวี) เผยแพร่ประกาศอำลาผู้ชมจากทีมงานวอยซ์ โดยมีใจความดังนี้ ตลอด 15 ปี ที่ผ่านมา วอยซ์เป็นสื่อมืออาชีพที่สร้างสรรค์แนวทางการนำเสนอใหม่ๆ ผลักดันให้สังคมตั้งคำถามกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และกระตุ้นให้เกิดการตื่นรู้ มีความหวัง และเลือกใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และประชาธิปไตย เราผ่านภาวะวิกฤตมามากมาย ผ่านเหตุการณ์สำคัญ ผ่านความรัก และความปลุกปั่นเกลียดชัง ทั้งทางการเมือง การชุมนุมและการรัฐประหาร ผ่านวิกฤตโควิด และวิกฤต disruption ของวงการสื่อ จากดาวเทียม สู่ดิจิทัลทีวี สู่ออนไลน์และแพลตฟอร์มโซเชียล

เราฝ่าฟันอุปสรรค เพื่อมุ่งสร้างกิจการให้มั่นคงตลอดมา ทุกครั้งที่เราเห็นผู้ประกอบการหลายราย พยายามฝ่าภาวะวิกฤตจากผลประกอบการ และหยุดกิจการไป เราก็ยังปักหลักปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการจากข้อจำกัดต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การแสวงหากำไรความยั่งยืนให้กับ Voice TV เพื่อเป็นหลักให้ผู้สื่อข่าวและผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้มีโอกาสทำหน้าที่ตามปรัชญาสื่อมวลชน ท่ามกลางการลดขนาดกิจการ เราประเมินสถานการณ์ตัวเองและเลือกที่จะฝ่าฟันเดินหน้า

วันนี้ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น ประเมินกิจการและภาวะวิกฤตในอุตสาหกรรมอย่างรอบด้านแล้ว มีความเห็นสรุปปิดกิจการ เนื่องจากกลไกตลาด เทคโนโลยีแพลตฟอร์มมีผู้ผลิตมากมายและหลากหลาย ที่สามารถสานต่อภารกิจสังคมต่างๆ ได้ ขณะที่ประชาธิปไตยกำลังลงหลักเพื่อเริ่มต้นต่อไปได้ จากนี้ทางบริษัทจะมีการจ่ายชดเชยให้พนักงานทุกคนตามกฎหมายอย่างเป็นธรรม โดยเราจะทยอยหยุดออกอากาศทั้งบนทีวีและออนไลน์ภายในเดือนพฤษภาคมนี้

ตลอด 15 ปี เราภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมผลิตผลงานเพื่อสังคม รวมถึงผู้ถือหุ้น กรรมการ ผู้บริหารพนักงาน อดีตพนักงาน ผู้สื่อข่าว ผู้ดำเนินรายการ ทั้งที่อยู่ปัจจุบัน และที่เคยมีส่วนร่วมสร้างมาด้วยกัน เราภาคภูมิใจในการสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม เราภูมิใจในสิ่งที่เราเป็นและสิ่งที่เราทำตลอดมา

จากรายงานของทางเพจ Voice TV ที่ได้แจ้ง ประกาศอำลาผู้ชม ปิดตำนาน ช่องข่าว วอยซ์ทีวี ที่อยู่มาตลอด 15 ปี โดยสาเหตุการเปิดตัวนี้มาจาก การประเมินกิจการและภาวะวิกฤตในอุตสาหกรรมอย่างรอบด้านแล้ว มีความเห็นสรุปปิดกิจการ เนื่องจากกลไกตลาด เทคโนโลยีแพลตฟอร์มมีผู้ผลิตมากมายและหลากหลาย ที่สามารถสานต่อภาระกิจสังคมต่างๆ ได้ ขณะที่ประชาธิปไตยกำลังลงหลักเพื่อเริ่มต้นต่อไปได้ จากนี้ทางบริษัทจะมีการจ่ายชดเชยให้พนักงานทุกคนตามกฎหมายอย่างเป็นธรรม โดยเราจะทยอยหยุดออกอากาศทั้งบนทีวีและออนไลน์ภายในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้

CNN ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ มุ่งสู่ดิจิทัล เลิกจ้างพนักงาน 100 คน

รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า CNN ได้เตรียมเลิกจ้างพนักงานประมาณ 100 ตำแหน่ง คิดเป็น 3% ของพนักงานทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันไปเสพข่าวสารผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น

โดย CNN จะหันมาเน้นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบดิจิทัลเต็มตัว ด้าน มาร์ค ทอมป์สัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ CNN Worldwide กล่าวในแถลงการณ์ภายในถึงพนักงานว่า "เรากำลังสร้างธุรกิจดิจิทัลแห่งอนาคตมูลค่านับพันล้านดอลลาร์" ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของเขาในการเปลี่ยนแปลง CNN ให้เป็นองค์กรข่าวชั้นนำในยุคดิจิทัล

สำหรับการปรับโครงสร้างครั้งนี้ จะรวมถึงการรวมทีมรวบรวมข่าวและข่าวดิจิทัลเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดความซ้ำซ้อน นอกจากนี้ CNN ยังจะเพิ่มการลงทุนในด้านการผลิตวิดีโอ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมเสพข่าวสารผ่านวิดีโอมากขึ้น และจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ข่าวแบบจ่ายเงินรายครั้ง (Pay Per View) เพื่อสร้างรายได้จากเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง

BBC เผชิญภาวะรายได้หด ประกาศปลดพนักงาน 500 ตำแหน่ง

รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567

สถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่แห่งสหราชอาณาจักรอย่าง บีบีซี กำลังเผชิญกับปัญหาทางการเงินอย่างหนัก ล่าสุดได้ออกแถลงการณ์เตรียมปรับลดพนักงานลงอีก 500 ตำแหน่ง ภายในเดือนมีนาคม ปี 2026 โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับลดงบประมาณให้ได้ถึง 200 ล้านปอนด์ หรือราว 9,300 ล้านบาท

บีบีซี ชี้แจงว่า การปรับลดพนักงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นสื่อดิจิทัลที่เข้าถึงผู้ชมได้ทุกที่ทุกเวลา โดยคาดว่าจะมีการยุบรวมบางแผนก และโยกย้ายทรัพยากรไปยังส่วนงานอื่นๆ ที่มีความสำคัญมากกว่า

การประกาศลดพนักงานครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางรายงานผลประกอบการที่น่าเป็นห่วง โดยในปีงบประมาณ 2023-2024 บีบีซี ขาดทุนจากการดำเนินงาน 263 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณก่อนหน้าที่ขาดทุน 193 ล้านปอนด์ หรือ 8,900 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าตัวเลขการขาดทุนในปี 2024-2025 จะพุ่งสูงขึ้นไปอีกถึง 492 ล้านปอนด์ หรือราว 22,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ รายได้รวมของ บีบีซี ยังลดลงจาก 5,700 ล้านปอนด์ เหลือ 5,300 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 246,000 ล้านบาท แม้ว่าแหล่งรายได้หลักของ บีบีซี จะยังคงมาจากค่าธรรมเนียมรับชมรายปี ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 3,600 ล้านปอนด์ หรือ 167,000 ล้านบาท แต่ บีบีซี ก็ไม่ได้ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อที่ทำให้มูลค่าที่แท้จริงของรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บีบีซี ได้ปรับลดพนักงานไปแล้วเกือบ 2,000 ตำแหน่ง หรือคิดเป็นเกือบ 10% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด การลดพนักงานครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามของ บีบีซี ในการรับมือกับวิกฤตทางการเงิน และปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยของสื่อดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ทีวีช่องดัง ประกาศเลย์ออฟพนักงาน ปรับโครงสร้างองค์กร

รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567

ล่าสุด มีกระแสข่าวว่า ทางสถานีโทรทัศน์ช่องดังแห่งหนึ่ง ได้ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ พร้อมกับข่าวที่สร้างความตกใจให้กับพนักงาน นั่นคือ การเตรียมเลย์ออฟพนักงานภายในสิ้นปีนี้ โดยฝ่ายบริหารได้เรียกประชุมพนักงาน เพื่อชี้แจงถึงสถานการณ์ของบริษัท โดยระบุว่า อุตสาหกรรมสื่อกำลังประสบปัญหาอย่างหนัก รายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง การแข่งขันสูง ทั้งในส่วนของการผลิตรายการ ละคร และคอนเทนต์ต่างๆ ส่งผลให้รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ขณะที่รายจ่ายประจำยังคงสูง

ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องปรับลดค่าใช้จ่ายลงให้ได้ 30% เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งนี้ มีแผนจะลดจำนวนพนักงานลง ซึ่งเดิมทีมีแผนจะดำเนินการตั้งแต่หลังสงกรานต์ 2567 แต่ก็พยายามยื้อมาจนถึงสิ้นปี สำหรับการลดพนักงานครั้งนี้ เป็นการประเมินผลงานของแต่ละแผนก โดยหัวหน้างานจะเป็นผู้ส่งรายชื่อพนักงานที่จะถูกเลย์ออฟ ภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะมีผลทันทีเมื่อเริ่มปี 2568

โดยกระแสข่าวได้อ้างถึงแหล่งข่าวภายในบริษัท ระบุว่า ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทได้มีการเรียกประชุมพนักงานผ่านระบบออนไลน์ (townhall) โดยแจ้งถึงความจำเป็นในการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อให้บริษัทสามารถอยู่รอดได้ พร้อมทั้งยืนยันว่า การเลย์ออฟพนักงานครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า พนักงานที่ถูกเลิกจ้างไม่มีความสามารถ แต่เป็นความจำเป็นขององค์กรในภาพรวม

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการระบุจำนวนพนักงานที่จะถูกเลย์ออฟอย่างชัดเจน รวมถึ งรายละเอียดเกี่ยวกับค่าชดเชยต่างๆ แต่ทางบริษัท ยืนยันว่า จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้ เพื่อให้พนักงานมีเวลาในการเตรียมตัว และตัดสินใจวางแผนอนาคต

วิกฤตสื่อยุคดิจิทัล ความท้าทาย การปรับตัว และโอกาสในการเติบโต

รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567

สถานการณ์อันน่าวิตกในอุตสาหกรรมสื่อปี 2567 นับเป็นบททดสอบสำคัญที่สื่อทั้งในและต่างประเทศต้องเผชิญ การเลิกจ้างพนักงาน การระงับการจ่ายเงินเดือน และการยุติกิจการของสื่อหลายแห่ง ล้วนเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสื่อทั่วโลกอย่างรุนแรง

หนึ่งในปัจจัยหลักที่เร่งให้เกิดวิกฤตการณ์นี้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันไปรับข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้สื่อต่างๆ อาทิเช่น โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ต้องประสบภาวะจำนวนผู้ชมและผู้อ่านลดลงอย่างต่อเนื่อง เม็ดเงินโฆษณาซึ่งถือเป็นรายได้หลักของสื่อจึงหดตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันการแข่งขันในโลกดิจิทัลก็ทวีความรุนแรงขึ้น แพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่ เช่น Facebook, YouTube, และ Netflix ต่างช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณาและฐานผู้ชมจากสื่อหลัก

ยิ่งไปกว่านั้น สื่อ แบบดั้งเดิม ยังต้องแบกรับภาระต้นทุนการดำเนินงานที่สูง ไม่ว่าจะเป็นค่าตอบแทนพนักงาน ค่าเช่าสถานที่ และค่าอุปกรณ์ ซึ่งเป็นภาระหนักหน่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่รายได้ลดลง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจสื่อ ทำให้หลายองค์กรต้องปรับโครงสร้างองค์กร ลดขนาดองค์กร และลดจำนวนพนักงาน เพื่อประคับประคองธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้

ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ มิได้ส่งผลกระทบต่อบุคลากรในวงการสื่อ ที่ต้องเผชิญกับการสูญเสียงานและความไม่มั่นคงในอาชีพเท่านั้น หากแต่อาจส่งผลต่อคุณภาพของข่าวสารและรายการ เนื่องจากการลดต้นทุน อาจทำให้สื่อขาดแคลนงบประมาณและบุคลากร ในการผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ

อย่างไรก็ดี วิกฤตการณ์ครั้งนี้ ก็เป็นโอกาสอันดีที่สื่อจะได้ปรับตัวและพัฒนาไปสู่ยุคใหม่ สื่อ แบบดั้งเดิม จำเป็นต้องเร่งปรับตัว โดยนำเสนอเนื้อหาผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น และพัฒนาแพลตฟอร์มของตนเองให้มีความแข็งแกร่ง เพื่อเข้าถึงผู้ชมยุคดิจิทัล นอกจากนี้ การสร้างรายได้รูปแบบใหม่ เช่น การสมัครสมาชิก การจำหน่ายสินค้า และการจัดกิจกรรม ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ

สิ่งสำคัญที่สุด คือ สื่อต้องไม่ละเลยหน้าที่หลัก ในการนำเสนอข่าวสารที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม การสร้างความแตกต่าง โดยมุ่งเน้นการผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้ชม และสะท้อนความหลากหลายของสังคม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้สื่ออยู่รอดและเติบโตต่อไปได้

ในขณะเดียวกัน ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้การสนับสนุน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อ ให้สามารถทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงและแหล่งข้อมูลที่สำคัญของสังคมต่อไป สำหรับวิกฤตการณ์ในอุตสาหกรรมสื่อ เป็นความท้าทายที่สื่อทุกแขนงต้องร่วมกันฝ่าฟัน ด้วยการปรับตัว สร้างสรรค์ และยึดมั่นในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เพื่อนำพาอุตสาหกรรมสื่อ ก้าวข้ามผ่านวิกฤตการณ์ และเติบโตอย่างยั่งยืน ในยุคดิจิทัล

แชร์
รวม สื่อไทย-เทศ ประกาศปลดพนักงาน พักการจ่ายเงินเดือน ในปี 2567