Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์หรือไม่?
โดย : ฐิภา นววัฒนทรัพย์

ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์หรือไม่?

24 ส.ค. 67
07:00 น.
|
193
แชร์

Highlight

ไฮไลต์

  • ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้ กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น โดยหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัยที่ได้รับความนิยม และถูกจัดให้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยสูงสุด คือ ทองคำ

  • ทองคำยังคงเหมาะสมกับต่อการใช้เป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ซึ่งจากแบบจำลองพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมของธนาคารโลก (World Bank) โดยใช้เกณฑ์ที่ทำให้อัตราส่วนผลตอบแทนส่วนเกินต่อส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Sharp ratio) สูงที่สุด  พบว่า ควรควรจัดสรรการลงทุนทองคำในพอร์ตที่สัดส่วน 7-10%  จากการพิจารณาผลตอบแทนในช่วงระยะ 20 ปีผ่านมา

ในรอบเดือนที่ผ่านมาความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ส่อแววทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยในฝั่งตะวันออกกลางที่มีใจกลางความขัดแย้งอยู่ที่การต่อสู่ระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส แต่กระนั้นในช่วงที่ผ่านมา ความขัดแย้งดังกล่าวได้มีการขยายผล นำเอาหลายประเทศในละแวกนั้นเข้ามามีส่วนร่วมในความขัดแย้งดังกล่าว โดยเฉพาะคู่ขัดแย้งที่สำคัญอย่างอิสราเอลและอิหร่าน ที่ทำให้สถานการณ์ในตะวันออกกลางมีความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ความตึงเครียดในรอบเดือนที่ผ่านมา ปะทุขึ้นจากเหตุการณ์ในวันที่ 31 ก.ค. นายอิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำการเมืองกลุ่มฮามาส ถูกลอบสังหาร ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ภายหลังการเข้าร่วมงานสาบานตนของผู้นำอิหร่านคนใหม่ ซึ่งทางการอิหร่านได้ทำการกล่าวโทษอิสราเอลและขู่ว่าจะทำการตอบโต้เพื่อลงโทษอิสราเอล อิสราเอลไม่ได้ยอมรับหรือปฏิเสธต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว

อายาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี (ขวา) และอิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำกลุ่มฮามาส
ภาพจาก AFP: โปสเตอร์ของผู้นำสูงสุดของอิหร่าน อายาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี (ขวา) และอิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำกลุ่มฮามาสชาวปาเลสไตน์ที่ถูกสังหาร ในกรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2024 ท่ามกลางความตึงเครียดในภูมิภาค

อย่างไรก็ดีอิสราเอลได้แจ้งกับหลายฝ่ายเกี่ยวกับเตรียมความพร้อมทั้งทางบกและอากาศ เพื่อป้องกันการโจมตีจากอิหร่านและประเทศตัวแทน โดยความตึงเครียดที่สูงขึ้นนั้น มีส่วนจากความเป็นไปได้ที่สหรัฐอาจเข้ามามีส่วนร่วมกับการสู้รบในครั้งนี้ หลังทางการสหรัฐมีการส่งเรือรบไปยังตะวันออกกลาง ซึ่งนับเป็นเคลื่อนทัพครั้งใหญ่สุด นับตั้งแต่การเริ่มต้นของการสู้รบอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ในช่วงเดือนต.ค. ปีที่ผ่านมา

นอกจากสถานการณ์ในตะวันออกกลางแล้วในช่วงเวลาเดียวกัน สมรภูมิรัสเซีย-ยูเครนนั้น นับว่ามีความเคลื่อนไหวที่สร้างความตึงเครียดเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน หลังกองกำลังยูเครนมีการรุบคืบโจมตีแคว้นเคิร์สก์ทางตะวันตกของรัสเซีย ขณะที่รัสเซียประกาศกร้าวปิดช่องทางเจรจาสันติภาพกับทางยูเครน

ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้ กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น โดยหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัยที่ได้รับความนิยม และถูกจัดให้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยสูงสุด คือ ทองคำ เนื่องด้วยทองคำมีคุณสมบัติรักษามูลค่าในตนเอง สามารถกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน จำกัดความสูญเสียจากความเสี่ยงทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง

อย่างไรก็ดี คำถามที่สำคัญ คือ ทองคำยังถือเป็นที่ป้องกันความเสี่ยงจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) หรือไม่ ทั้งนี้ สภาทองคำโลก (World Gold Council : WGC) ได้มีการประเมินผลกระทบของความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ต่อราคาทองคำ โดยพิจารณาที่ดัชนีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (GPR Index) ของ Dario Caldara และ Matteo Iacoviello (2022) พบว่า หากตัวชี้วัดดังกล่าวปรับตัวขึ้น 100 หน่วย ขณะที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นยังคงที่ มีแนวโน้มเพิ่มผลตอบแทนของทองคำที่ 2.5%

ลงทุนทองคำ

ที่มา : Matteo Iacoviello (https://www.matteoiacoviello.com/gpr.htm)

ดังนั้น ทองคำจึงยังคงเหมาะสมกับต่อการใช้เป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ซึ่งจากแบบจำลองพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมของธนาคารโลก (World Bank) โดยใช้เกณฑ์ที่ทำให้อัตราส่วนผลตอบแทนส่วนเกินต่อส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Sharp ratio) สูงที่สุด  พบว่า ควรควรจัดสรรการลงทุนทองคำในพอร์ตที่สัดส่วน 7-10%  จากการพิจารณาผลตอบแทนในช่วงระยะ 20 ปีผ่านมา

อนึ่ง ความตึงเครียดในประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ จะสามารถชี้นำการเคลื่อนไหวของราคาทองคำได้มากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับระดับการตอบสนองเชิงลบของนักลงทุน โดยหากสถานการณ์ความตึงเครียดทั้งในตะวันออกกลางและสมรภูมิรัสเซียยูเครน ไม่ได้ยกระดับความรุนแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นักลงทุนอาจไม่ได้เพิ่มการตอบสนองเชิงลบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวมากนัก ราคาทองคำจึงอาจถูกหนุนด้วยแรงซื้อในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพียงจำกัด ด้วยเหตุนี้ แนะนำติดตามประเด็นความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับปัจจัยชี้นำราคาทองคำอื่นร่วมด้วย อาทิ ประเด็นอัตราดอกเบี้ยของเฟด เป็นต้น เพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของราคาทองคำอย่างถี่ถ้วน

ฐิภา นววัฒนทรัพย์

ฐิภา นววัฒนทรัพย์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท YLG Bullion And Future จำกัด

แชร์

ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์หรือไม่?