ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ถือเป็นสถาบันหลักที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การดำเนินนโยบายการเงินอย่างอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง จึงเป็นหลักประกันสำคัญของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
วันนี้ (11 พ.ย.) เวลา 10.00 น. ธนาคารแห่งประเทศไทย มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการธปท. ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในภาคประชาชนมีเสียงออกมาคัดค้านกันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีตผู้ว่าธปท. นักวิชาการ ภาคประชาชน
เมื่อเวลา 8.30 น. ตัวแทนคณะศิษยานุศิษย์ที่น้อมนำธรรมองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (คณะศิษย์ฯ) ได้เข้ายื่นหนังสือขอคัดค้านการคัดเลือก “นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง” ขึ้นทูลเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ ธปท.
ต่อมาเวลา 10.30 น.กองทัพธรรม คปท.และ ศปปส.นำรายชื่อประชาชนกว่า 51,980 รายชื่อ ยื่นต่อคณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อแสดงข้อห่วงใยเกี่ยวกับการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง และร่วมกันแสดงเจตนารมณ์คัดค้านการแทรกแซง ธปท. จากฝ่ายการเมือง จึงเป็นสัญญาณเตือนที่ทุกภาคส่วนพึงตระหนัก และร่วมกันปกป้อง เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระของสถาบันอันทรงเกียรตินี้ ให้สามารถทำหน้าที่เป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย ที่มั่นคง ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง
โดยเนื้อหาในหนังสือได้ระบุถึงความกังวลว่า การแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย บั่นทอนความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางในฐานะองค์กรอิสระ และอาจนำไปสู่ความอ่อนแอของหน่วยงานหลักทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติในระยะยาว
นอกจากนี้ หนังสือยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาความลับของชาติ รวมถึงการกำหนดนโยบายการเงิน ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนต่างๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ปราศจากประวัติอันเป็นที่เสื่อมเสีย และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและธุรกิจใดๆ เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน อันอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อประเทศชาติ
ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม และภาคส่วนต่างๆ ในสังคมกว่า 1,000 คน ซึ่งได้ร่วมกันแสดงความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการแทรกแซงนโยบายการเงินของประเทศ โดยชี้ว่าการดำเนินนโยบายที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ระยะสั้น อาจส่งผลเสียหายรุนแรงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว
สาระสำคัญของหนังสือแสดงเจตนารมณ์ดังกล่าว ประกอบด้วย
ด้วยเหตุผลข้างต้น ประชาชนผู้ร่วมลงชื่อจำนวน 51,980 คน จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เป็นสถาบันหลักทางเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนสืบไป
การยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อประชาชนจำนวน 51,980 รายชื่อในครั้งนี้ นับเป็นการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของพลเมืองไทย ในอันที่จะธำรงไว้ซึ่งความสุจริต โปร่งใส และธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันอันสำคัญยิ่ง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีบทบาทหน้าที่อันเป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดนโยบายการเงินและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ
เสียงสะท้อนจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจำนวนมากนี้ ย่อมเป็นเครื่องชี้วัดและสัญญาณอันทรงพลัง ส่งไปยังองค์กรและบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ให้ตระหนักในความสำคัญยิ่งของการธำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองและการยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล อันได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม และหลักความรับผิดชอบ ในการบริหารกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า
ในการนี้ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคคล เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งอันสำคัญยิ่งในธนาคารแห่งประเทศไทยพึงกระทำโดยยึดถือคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และที่สำคัญยิ่ง คือ ความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นอิสระ ปราศจากการครอบงำใดๆ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อองค์กรและประเทศชาติ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ
ท้ายที่สุด ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและประชาชนจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้า บนพื้นฐานของความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และธรรมาภิบาล เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความกินดีอยู่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน