เพียงแค่ 1 สัปดาห์โลกก็ต้องระทึกกับเหตุการณ์ภาคธนาคารที่มีปัญหามากถึง 5 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นแบงก์ในสหรัฐที่ล้มหรือถูกสั่งปิด 3 แห่ง คือ Silvergate Bank (8 มี.ค.), Silicon Valley Bank- SVB (10 มี.ค.) , Signature Bank (12 มี.ค.) ส่วนอีก 2 แห่งที่อาการน่าเป็นห่วงคือ First Republic ธนาคารในสหรัฐเช่นกัน และ Credit Suisse ธนาคารใหญ่อันดับ2ของสวิสเซอร์แลนด์
คำถามว่า ยังมีธนาคารไหนมีปัญหาอีกมั้ย? คำตอบ คือ มี หากว่าธนาคารกลางของประเทศที่ธนาคารมีปัญหาเอาไม่อยู่ ปัญหาก็อาจจะบานปลายได้
“สาเหตุสำคัญที่เป็นเช่นนั้น เพราะ “ขาดความเชื่อมั่น” มันคือสิ่งเดียวที่สามารถทำให้แบงก์ใหญ่แค่ไหนก็ล้มได้”
“ความเชื่อมั่น” นี้เองที่ทำให้เมื่อแบงก์เกิดปัญหา ปุ๊ป! ธนาคารกลาง ต้อง Take Action ปั๊ป ! ซึ่งเราเห็นชัดเจนว่า ธนาคารกลางสหรัฐ รีบจัดการ SVB , Signature ทันทีโดยใช้กลไกของ FDIC และ Bank Term Funding ประชาชนสามารถถอนเงินได้เต็ม100 % หรือ กรณีของ Credit Suisse ธนาคารใหญ่อันดับ2ของสวิสเซอร์แลนด์ ธนาคารกลางสวิส ก็รีบประกาศปล่อยกู้ให้แน่นอน และยืนยันว่า สถานะของ Credit Suisse ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
นั่นเพราะการแก้ปัญหาที่เร็ว ตรงจุด และแรงเพียงพอ นอกจากเป็นการช่วยแก้สถานการณ์แบงก์ที่มีปัญหาแล้ว ยังเป็นการฟื้นความเชื่อมั่นให้คน หยุดขาย หยุดถอนเงิน ได้ ยับยั้งสถานการณ์ไม่ให้ลุกลามบานปลาย
มีการเปิดเผย งบดุล Balance Sheet ของธนาคารกลางสหรัฐ ที่เป็นตัวบ่งบอกว่า เฟดได้เข้าไปช่วยเหลือภาคธนาคารที่มีปัญหาอย่างไรแล้วบ้างโดยพบว่า เฟดมียอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นเกือบ 3 แสนล้านดอลลาร์ นั่นคือ 297,381 ล้านดอลลาร์ หากเทียบระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ก่อนเกิดปัญหา SVB และ 15 มีนาคม 2566
เพจเฟซบุ๊กของ ดร.กอปศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) มีการโพสตั้งข้อสังเกตุการเพิ่มขึ้นของขนาดงบดุลเฟดว่า
3 แสนล้านดอลลาร์ใน 1 สัปดาห์ !!! คือจำนวนเงินที่เฟดต้องอัดฉีดออกไป เพื่อช่วยกอบกู้แบงค์ ไม่ให้ล้มเป็นลูกโซ่ สำหรับหลายคนที่อยากรู้ว่าหลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์แบงค์ในสหรัฐเป็นอย่างไรสถานการณ์ปัจจุบันแย่แค่ไหนดีขึ้นบ้างหรือไม่ จากข้อมูล Balance Sheet ของเฟดล่าสุด พบว่าเมื่อเทียบระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ก่อนเกิดปัญหา SVB และ 15 มีนาคม เฟดมียอดสินเชื่อเพิ่ม 297,381 ล้านดอลลาร์ จะเห็นได้ว่า ส่วนมากที่เพิ่มมาจาก
ตัวเลขเหล่านี้ เป็นดัชนีที่สามารถใช้ติดตามสถานการณ์แบงค์ในสหรัฐได้ทั้งนี้ เงินที่แบงค์ที่ยังปกติอยู่กู้ยืมจากเฟดในหมวดแรก คิดเป็นประมาณ 1% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของแบงค์ในสหรัฐอยู่ที่ 22 ล้านล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้ เป็นของแบงค์ใหญ่ๆ ในสหรัฐ 15 แห่งประมาณ 13.4 ล้านล้านดอลลาร์
และสำหรับในกลุ่มแบงค์ที่มีปัญหาที่เราได้ยินชื่อกันSilicon Valley Bank ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของสหรัฐSignature Bank ใหญ่เป็นอันดับที่ 29 First Republic Bank ใหญ่เป็นอันดับที่ 14 คงต้องมาดูว่าต่อไปจะมีใครอีกที่มีปัญหาจะมีแบงค์ใหญ่กว่านี้อีกหรือไม่เฟดจะขยาย Bank Term Funding เพิ่มอีกไหม เมื่อใช้ครบที่ตั้งไว้แล้วสุดท้าย ทั้งหมดจะมีนัยยะกับการประชุมเฟดและสัญญาณต่างๆ ที่จะถูกสื่อออกมา ในวันที่ 22 มีนาคมอย่างไร โดยกรรมการเฟดจะได้เห็นข้อมูลเพิ่มในอีก 4-5 วันที่เหลือว่า สถานการณ์แบงค์ทั้งหมดเป็นอย่างไร และคงนำมาประกอบการพิจารณา
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ ณ วันนี้ ( 18 มีนาคม 2566) ภาวะตลาดเงิน ตลาดทุน รวมไปถึงบรรยากาศทางเศรษฐกิจ ก็ยังเต็มไปด้วยความกังวล ความระแวง และความไม่มั่นใจ แถมยังขุดคุ้ย ค้นหาข้อมูลความเคลื่อนไหวสภาพและอาการของธนาคารต่างๆอย่างใกล้ชิด
โดยแบงก์ล่าสุดที่ต่อสู้กับภาวะเสี่ยงล้ม คือ ธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์ First Republic Bank หรือ FRB ซึ่งเป็นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐ แต่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 14 ของสหรัฐทรุดตัวลง 32.8% หลังธนาคารประกาศระงับการจ่ายเงินปันผล แม้ว่าธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐประกาศอัดฉีดเม็ดเงินรวมกันถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 1 ล้านล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ FRB ก็ตาม
ทั้งนี้ 10 ธนาคารขนาดใหญ่ที่ลงขันกันฝากเงินใน FRB คือ แบงก์ ออฟ อเมริกา, เวลส์ ฟาร์โก, ซิตี้กรุ๊ป และเจพีมอร์แกน ฝากรายละ 5 พันล้านดอลลาร์ ส่วนโกลด์แมน แซคส์ และมอร์แกน สแตนลีย์ ฝากเงินรายละ 2.5 พันล้านดอลลาร์ ฟากธนาคารทรูอิสต์ ไฟแนนเชียล, พีเอ็นซี, ยูเอส แบงคอร์ป, สเตทสตรีท และแบงก์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน ฝากเงินใน FRB รายละ 1 พันล้านดอลลาร์
ส่วนทาง SVB (Silicon Valley Bank) เมื่อคืนนี้ก็มีรายงานว่า SVB Financial Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ ได้ทำการยื่นเรื่องต่อศาลนิวยอร์กเพื่อขอรับการพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 11 ของกฎหมายล้มละลาย โดยบริษัทมีสภาพคล่อง 2.2 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์มูลค่า 2.09 แสนล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2565 ซึ่งการเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เป็นการเปิดทางเลือกเพิ่มเติมในการแก้ปัญหาสถานการณ์ของบริษัทได้มากขึ้น
ขณะที่ สินทรัพย์ทั่วโลก ยังตกอยู่ในความกังวล สะท้อนได้จากภาวะสินทรัยพ์ต่างๆที่บ่งบอกว่า ยังกังวล กับเหตุการณ์ธนาคารล้มตลาดหุ้นสหรัฐ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,861.98 จุด ลดลง 384.57 จุด หรือ -1.19%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,916.64 จุด ลดลง 43.64 จุด หรือ -1.10% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,630.51 จุด ลดลง 86.76 จุด หรือ -0.74% หากดูในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 0.1%, ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 1.4% และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 4.4% หุ้นทั้ง 11 กลุ่มของดัชนี S&P500 ปิดในแดนลบ โดยกลุ่มการเงินร่วงลงมากที่สุด
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันศุกร์ (17 มี.ค.) และร่วงลงรายสัปดาห์รุนแรงที่สุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่มาตรการสนับสนุนภาคธนาคารของรัฐบาลสหรัฐและยุโรปไม่ได้ช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตธนาคารระดับโลก โดยดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 436.31 จุด ลดลง 5.33 จุด หรือ -1.21% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,925.40 จุด ลดลง 100.32 จุด หรือ -1.43%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,768.20 จุด ลดลง 198.90 จุด หรือ -1.33% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,335.40 จุด ลดลง 74.63 จุด หรือ -1.01%
ตลาดหุ้นไทย ในวันศุกร์ (17 มี.ค.) ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,563.67 จุด ลดลง 2.25% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 79,285.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.57% จากสัปดาห์ก่อน SET Index ร่วงลงหนักท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสถาบันการเงินบางแห่งในสหรัฐฯ และสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงท้ายสัปดาห์
เงินบาททำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือนที่ 34.13 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงปลายสัปดาห์ท่ามกลางแรงกดดันเงินดอลลาร์ฯ จากปัญหาของแบงก์บางแห่งในสหรัฐฯ และการคาดการณ์ว่าเฟดอาจไม่สามารถส่งสัญญาณคุมเข้มได้มากนักในการประชุม FOMC วันที่ 21-22 มี.ค. นี้
ส่วนราคาทองคำ พุ่งขึ้น 500 บาทต่อบาททองคำในช่วงเช้าวันนี้ เช้านี้ราคาทองพุ่งขึ้นทีเดียว 500 บาท! ทองคำแท่ง รับซื้อ 31,650 บาท ขายออก 31,750 บาท ทองรูปพรรณ รับซื้อ 31,078 บาท ขายออก 32,250 บาท/บาททองคำ หวั่นปัญหาธนาคารล้ม!
ปิดท้ายที่ ราคาบิตคอยน์ ขึ้นมามากกว่า 30% ในรอบสัปดาห์อยู่ที่ 27,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ต่อ1 บิตคอยน์ ล่าสุด 11.45 น.ปรับขึ้นราว 6%ใน1วัน
VDO ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแบงก์ล้ม