การเงิน

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 32.45 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าสุดรอบ 30 เดือน

27 ก.ย. 67
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 32.45 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าสุดรอบ 30 เดือน

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 30 กันยายน 2567

29868

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 32.37 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 32.42 บาท/ดอลลาร์

* ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงสอดคล้องการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่ต่ำกว่าคาด โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.2% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.3% จากระดับ 2.5% ในเดือนก.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนส.ค. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.2% จากระดับ 0.2% ในเดือนก.ค. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 2.7% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 2.6% ในเดือนก.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนส.ค. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.2% จากระดับ 0.2% ในเดือนก.ค.

* เมื่อวันศุกร์ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 8,637 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,804 ล้านบาท

* กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 32.20- 32.50
*แนะนำ ซื้อ 32.20/ ขาย 32.50

EUR/THB 35.80- 36.30
* แนะนำ ซื้อ 35.80 / ขาย 36.30

JPY/THB 0.2230- 0.2280
* แนะนำ ซื้อ 0.2230/ ขาย 0.2280

GBP/THB 43.00- 43.50
AUD/THB 22.20- 22.70


วันที่ 27 กันยายน 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 32.45 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากวันก่อนหน้า

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 32.45 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 32.55 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าสุดในรอบ 30 เดือน

ค่าเงินบาทเงินบาทปรับตัวแข็งค่าตามการเคลื่อนไหวตามค่าเงินภูมิภาค โดยเฉพาะเงินหยวนของจีน เนื่องจากตลาดมีความหวังว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวหลังมีข่าวทางการจีนเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ ตลาดหุ้น และเพิ่มการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับราคาทองคําที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงเหนือ 2,650 เหรียญได้อย่างมั่นคง

ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในปีนี้ รวมถึงตลาดต่างมองว่าภาพรวมของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเอื้อต่อการปรับลดดอกเบี้ยของเฟด กดดันให้ดอลลาร์ยังคงอ่อนค่า แม้ว่าจะคลายความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ หลังการเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 2/2567 ที่แข็งแกร่ง และตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ต่ำกว่าคาดก็ตาม

ตลาดยังคงรอการรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนส.ค.ของสหรัฐในคืนวันศุกร์นี้ว่าจะออกมาอย่างไร ซึ่งจะมีผลต่อการคาดการณ์น้ำหนักในการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐในครั้งต่อไป

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 32.30-32.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 3,230 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,326  ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 32.30- 32.60
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 32.30

EUR/THB 36.10- 36.50
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 36.50

JPY/THB 0.2330- 0.2370

แนะนำ ทยอยขาย   0.2370

GBP/THB 43.30-43.70
AUD/THB 22.20- 22.60

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 26 กันยายน 2567

890783

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ 32.73 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 32.72 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดก่อนสิ้นปีนี้ รวมทั้ง ธปท. มีแถลงข่าวว่า ค่าเงินบาทผันผวนมากขึ้น โดยปรับแข็งค่าขึ้น 3.8% ตั้งแต่ต้นปี และปรับแข็งค่าเร็วอยู่ในกลุ่มนำสกุลภูมิภาค จากปัจจัยภายนอก

โดยเฉพาะการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ค่าเงินบาทยังมีปัจจัยในประเทศ ทั้งเงินลงทุนต่างชาติที่เริ่มไหลกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ไทย รวมถึงราคาทองคำที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่ที่ 2,670 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์โดยกล่าวว่าจะติดตามความเคลื่อนไหวของเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติ เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเศรษฐกิจ

จับตาช่วงปลายสัปดาห์นี้ มีถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมถึงการรายงานดัชนีราคาการ ใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ประจำเดือนส.ค.ในวันศุกร์นี้ ซึ่งเป็นดัชนีที่เฟดให้ความสำเนื่อคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และการเปิดเผยตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พ.ย.นี้ อาจจะเป็นแรงหนุนราคาทองคำพุ่งขึ้นด้วย เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองอาจส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวน ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 554 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 2,333 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 32.60-32.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 32.60/ ขาย 32.90

EUR/THB 36.30- 36.70
แนะนำ ซื้อ   36.30/ ขาย 36.70

JPY/THB 0.2240- 0.2280
แนะนำ ซื้อ   0.2240/ ขาย 0.2280

GBP/THB 43.50- 43.90
AUD/THB 22.20- 22.60

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 25 กันยายน 2567

313018

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 32.59 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 32.84 บาท/ดอลลาร์

* ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 98.7 ในเดือนก.ย. จากระดับ 105.6 ในเดือนส.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 104.0

* ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลง 6.9 จุดในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการร่วงลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2564 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ตลาดแรงงาน รวมทั้งแนวโน้มธุรกิจและรายได้ในอนาคต

* ขณะที่นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมว่าด้วยตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยธนาคารกลางสหรัฐ สาขานิวยอร์ก เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในวันพฤหัสบดีที่ 26 ก.ย.เวลา 09.20 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือ 20.20 น.ตามเวลาไทย โดยนักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงดังกล่าวเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดก่อนสิ้นปีนี้ รวมทั้งรอการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐที่จะประกาศในวันศุกร์นี้

* คาดว่าค่าเงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่าตามการปรับตัวสูงขึ้นของราคาทองคำ
ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นระดับ 2,658 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยนักลงทุนพากันเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลาง

* นอกจากนี้เงินบาทยังแข็งค่าตามภูมิภาคเอเชีย หลังจากผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีเป้าหมายที่จะพยุงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะเงินฝืด

* สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ วันที่ 24 ก.ย.67 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 2,556.04 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 627 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 32.40 -32.70
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 32.40/ ขาย 32.70

EUR/THB 36.30- 36.80
* แนะนำ ซื้อ   36.30 / ขาย 36.80

JPY/THB 0.2260 - 0.2300
* แนะนำ ซื้อ   0.2260 / ขาย 0.2300

GBP/THB 43.60 - 44.10
AUD/THB 22.30- 22.70

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 18 กันยายน 2567

200546

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.42 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.27 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.15 - 33.50 บาท/ดอลลาร์ โดยยังคงได้ปัจจัยบวกจากกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลที่เข้ามาในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทย อย่างไรก็ตามทิศทางค่าเงินดอลลาร์ฯ เมื่อเทียบกับสกุลหลักคาดว่าจะเริ่มทยอยฟื้นตัวขึ้นตามปัจจัยทางเทคนิค หลังจากที่ตลาดปรับตัวรับรู้การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) 0.50%เมื่อคืนนี้ไปแล้ว.

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติ 11 ต่อ 1 ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมเมื่อคืนนี้เป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด นอกจากนี้ยังส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวม 1.00% ในปี 2568 และลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในปี 2569 โดยรวมแล้ว Dot Plot บ่งชี้ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 2.00% หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้.

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.25-33.50 บาท/ดอลลาร์ฯ

เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 9,749 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 3,493  ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.25- 33.50
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 33.25

EUR/THB 36.90- 37.30
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 37.30

JPY/THB 0.2330- 0.2370
แนะนำ ทยอยขาย   0.2370

GBP/THB 43.80-44.20
AUD/THB 22.40- 22.80

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 17 กันยายน 2567

696290

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.25 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.24 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์เคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ เมื่อเทียบสกุลเงินหลัก โดยตลาดจับตาผลการประชุม FOMC ในวันที่ 17-18 กันยายน นี้ โดยคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25 - 0.50%

หากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามคาดในการประชุมครั้งนี้ ก็จะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดในปีนี้ และเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งขณะนั้นเฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงใกล้ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19

นอกจากนี้ ตลาดรอดูผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น BOJ ในวันที่ 19-20 ก.ย.นี้ และ ผลการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ ในวันที่ 19 ก.ย.นี้

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 350.23 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 66 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.10 -33.40
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.10/ ขาย 33.40

EUR/THB 36.80- 37.20
แนะนำ ซื้อ   36.80 / ขาย 37.20

JPY/THB 0.2340 - 0.2390
แนะนำ ซื้อ   0.2340 / ขาย 0.2390

GBP/THB 43.70 - 44.20
AUD/THB 22.20- 22.60

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 16 กันยายน 2567

508181

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.20 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 33.35 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ และร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 9 เดือนเมื่อเทียบกับเยน หลังการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงกว่าคาดในสัดาห์ที่ผ่านมา ได้กระตุ้นการคาดการณ์อีกครั้งว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้

ขณที่นายโจน ฟอสต์ ที่ปรึกษาอาวุโสของเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ระบุว่าถ้าเฟดมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนพ.ย.หรือธ.ค. ก็ควรที่จะดำเนินการดังกล่าวในการประชุมที่จะถึงนี้เลย ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ได้อยู่ในจุดที่จำเป็นต้องให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50%

ความเห็นของนายฟอสต์สอดคล้องกับบิล ดัดลีย์ อดีตประธานเฟดสาขานิวยอร์กซึ่งกล่าวว่า มีโอกาสอย่างมากที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากถึง 0.50% ในการประชุมคราวนี้ ส่งผลให้นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักให้กับการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุม วันที่ 17-18 กย.นี้

เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,718 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,761 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.05 - 33.35
แนะนำ ซื้อ 33.05 / ขาย 33.35

EUR/THB 36.55 - 37.05
แนะนำ ซื้อ 36.55 / ขาย 37.05

JPY/THB 0.2340 - 0.2380
แนะนำ ซื้อ 0.2340 / ขาย 0.2380

GBP/THB 43.35 - 43.75
AUD/THB 22.10 - 22.40

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 13 กันยายน 2567

253886

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.40 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.77 บาท/ดอลลาร์

* ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานในวันนี้ โดยภาพรวมคือ PPI ปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ขณะที่ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ปรับตัวสูงขึ้นกว่าคาด

ขณะที่ ECB ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เมื่อวานนี้ เป็นการปรับลดดอกเบี้ยก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมในสัปดาห์หน้า ซึ่งตลาดคาดว่าเฟดน่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เช่นกัน

* เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 240 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 830 ล้านบาท

* กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.30 - 33.80
*แนะนำ ซื้อ 33.30/ ขาย 33.80

EUR/THB 36.90- 37.40
* แนะนำ ซื้อ 36.90 / ขาย 37.40

JPY/THB 0.2340- 0.2390
* แนะนำ ซื้อ 0.2340/ ขาย 0.2390

GBP/THB 43.75- 44.25
AUD/THB 22.30- 22.70

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 10 กันยายน 2567

452069

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.90 แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.96 บาท/ดอลลาร์

*ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 3.7% โดยสัปดาห์นี้ จะมีการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐที่ ได้แก่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันพุธ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในวันพฤหัสบดีซึ่งจะบ่งชี้การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมเดือนนี้ในวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ นอกจากนี้จับตาการประชุมของ ECB ในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งคาดว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% นอกจากนี้ทางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มเข้าสู่ช่วงงดเว้นการแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงิน (Blackout Period) โดยเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่สองก่อนที่การประชุม FOMC จะเริ่มขึ้น และสิ้นสุดในวันพฤหัสบดีหลังการประชุม FOMC ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 77% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25%

*วานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นไทยสุทธิ 3,646 ล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตรไทย 411 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.80-34.20
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.80/ ขาย 34.20

EUR/THB 37.20- 37.60
* แนะนำ ซื้อ   37.20/ ขาย 37.60

JPY/THB 0.2340- 0.2380
* แนะนำ ซื้อ   0.2340/ ขาย 0.2380
GBP/THB 44.00- 44.40
AUD/THB 22.40- 22.80

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 9 กันยายน 2567

727014

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.78 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 33.50 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลักหลังจาก ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐ ออกมาผสมผสาน โดยตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนส.ค. แต่อัตราการว่างงานลดลง ซึ่งน่าจะสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ทั้งนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 142,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 164,000 ตำแหน่ง และกระทรวงแรงงานยังได้ปรับลดตัวเลขการจ้างงานในเดือนก.ค.สู่ระดับ 89,000 ตำแหน่ง จากเดิมรายงานไว้ที่ระดับ 114,000 ตำแหน่ง

ในขณะที่อัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 4.2% สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ จากระดับ 4.3% ในเดือนก.ค.

สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ระหว่างวันที่ 2-6 ก.ย.67 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 15,496 ล้านบาท และมีสถานะอยู่ในฝั่ง Net Inflows ในตลาดพันธบัตรไทย 9,517 ล้านบาท

ในสัปดาห์นี้มีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ รายละเอียดของนโยบายเศรษฐกิจไทยของรัฐบาลใหม่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และสถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนส.ค. นอกจากนี้ยังมีการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB)

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.60 -33.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.60/ ขาย 33.90

EUR/THB 37.20- 37.70
แนะนำ ซื้อ   37.20 / ขาย 37.70

JPY/THB 0.2340 - 0.2390
แนะนำ ซื้อ   0.2340 / ขาย 0.2390

GBP/THB 44.20 - 44.60
AUD/THB 22.30- 22.80

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 5 กันยายน 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.00 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 34.23 บาท/ดอลลาร์

934207

ค่าเงินบาทเงินบาทคลื่อนไหวในกรอบ sideways โดยแกว่งตัวในกรอบ 34.00-34.30 บาท/ดอลลาร์  โดยเมื่อวานนี้เงินบาทมีจังหวะอ่อนค่าลงบ้าง ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ของตลาดการเงิน จากการกลับมากังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ เสี่ยงชะลอตัวลง แต่การอ่อนค่าของเงินบาทก็ถูกจำกัดจากราคาทองคำที่สามารถรีบาวด์ขึ้นมายืนเหนือระดับ 2,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแรงหนุนจากการปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ  ตามความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Assets)

* ทิศทางค่าเงินดอลลาร์ฯ ยังคงมีโอกาสอ่อนค่า แม้จะเริ่มทยอยฟื้นตัวขึ้นตามปัจจัยทางเทคนิค หลังจากที่ตลาดปรับตัวรับรู้โอกาสความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ไปมากแล้ว โดยตลาดรอติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์ ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนนี้ 

**สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.90-34.20 บาท/ดอลลาร์ฯ

*เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 3,204 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 568  ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 33.90- 34.20
*แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 34.20

EUR/THB 37.50- 37.90
* แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 37.90

JPY/THB 0.2350- 0.2390
* แนะนำ ทยอยขาย   0.2390

GBP/THB 44.60-45.00
AUD/THB 22.70- 23.10

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT