การเงิน

ลดหย่อนภาษี 2567 เช็คลิสต์ครบ! วางแผนภาษีฉบับมือใหม่ เช็คที่นี่!

19 ต.ค. 67
ลดหย่อนภาษี 2567 เช็คลิสต์ครบ! วางแผนภาษีฉบับมือใหม่ เช็คที่นี่!

ใกล้สิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มมองหาช่องทางลดหย่อนภาษี เพื่อให้เงินอยู่ในกระเป๋าเรามากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า การลดหย่อนภาษี นอกจากจะช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลงแล้ว ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อีกด้วย ดังนั้นในวันนี้เราขอนำเสนอข้อมูลอัพเดทล่าสุด เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่รวบรวมตัวเลขจากกรมสรรพากร มาให้ทุกท่านได้วางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนแบบง่ายๆ เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าเลี้ยงดูบุตร หรือการลดหย่อนแบบลงทุน เช่น กองทุน RMF, SSF และประกันชีวิต เรามีข้อมูลครบถ้วน พร้อมตัวอย่าง เพื่อให้คุณเข้าใจง่าย นำไปใช้ได้จริง

ลดหย่อนภาษี 2567 เช็คลิสต์ครบ! วางแผนภาษีฉบับมือใหม่ เช็คที่นี่

ลดหย่อนภาษี 2567 เช็คลิสต์ครบ! วางแผนภาษีฉบับมือใหม่ เช็คที่นี่

ใกล้สิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มมองหาช่องทางลดหย่อนภาษี เพื่อให้เงินอยู่ในกระเป๋าเรามากขึ้น วันนี้เราขอนำเสนอข้อมูลอัพเดทล่าสุด เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่รวบรวมตัวเลขจากกรมสรรพากร มาให้ทุกท่านได้วางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ

1.ลดหย่อนภาษีกลุ่มตัวเองและครอบครัว

รายการลดหย่อน รายละเอียด
จำนวนเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้
ตัวเอง   60,000 บาท
คู่สมรส (ไม่มีเงินได้)
  60,000 บาท
ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
 
ไม่เกิน 60,000 บาท
บุตร คนที่ 1 : 30,000 บาท คนที่ 2 เป็นต้นไป (เกิดตั้งแต่ปี 2561) : 60,000 บาท 30,000 บาท
ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ของตัวเอง หรือคู่สมรส
 
คนละ 30,000 บาท รวมไม่เกิน 120,000 บาท
ค่าเลี้ยงดูผู้พิการ/ทุพพลภาพ
 
คนละ 60,000 บาท
  • ตัวเอง: เริ่มต้นที่พื้นฐาน ลดหย่อนส่วนตัวได้ 60,000 บาท
  • คู่สมรส: สำหรับผู้มีคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนได้อีก 60,000 บาท
  • บุตร: ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท แต่พิเศษสำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  • ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร: มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ อย่าลืมเก็บหลักฐานมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 60,000 บาท
  • พ่อแม่: ดูแลตัวเองแล้วยังดูแลพ่อแม่ได้อีก ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ของตัวเองหรือคู่สมรสได้คนละ 30,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 120,000 บาท
  • ผู้พิการ/ทุพพลภาพ: หากมีบุคคลในบ้านเป็นผู้พิการหรือทุพพลภาพ สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

2.ลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน

ประเภท รายละเอียด
จำนวนเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้
ประกัน    
ประกันสังคม  
ไม่เกิน 9,000 บาท
ประกันสุขภาพพ่อแม่
 
ไม่เกิน 15,000 บาท
ประกันชีวิต / ประกันสะสมทรัพย์
 
ไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันสุขภาพตัวเอง
 
ไม่เกิน 25,000 บาท
รวมประกัน  
ไม่เกิน 100,000 บาท
กองทุน / เงินออม    
ประกันชีวิตแบบบำนาญ 15% ของเงินได้
ไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 30% ของเงินได้
ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) 30% ของเงินได้
ไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) 15% ของค่าจ้าง
ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
 
ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
 
ไม่เกิน 30,000 บาท
รวมกองทุน / เงินออม
 
ไม่เกิน 500,000 บาท
อื่นๆ    
เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise
 
ไม่เกิน 100,000 บาท
กองทุน ThaiESG ปี 67 - 69 30% ของเงินได้
ไม่เกิน 300,000 บาท

 

  • ประกันชีวิต/ประกันสะสมทรัพย์: วางแผนอนาคตพร้อมลดหย่อนภาษี เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป หรือแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพ: ดูแลสุขภาพตัวเองด้วย เบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท
  • ประกันสุขภาพพ่อแม่: ดูแลสุขภาพพ่อแม่ เบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • ประกันสังคม: มนุษย์เงินเดือนได้รับสิทธิ์นี้อยู่แล้ว ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
  • กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF): ลงทุนระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนเพื่อการออม (SSF): อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการออมระยะยาว ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD): สำหรับพนักงานบริษัทเอกชนที่สมัครเข้ากองทุน ลดหย่อนได้ 15% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน: ลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ: วางแผนรับเงินบำนาญหลังเกษียณ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.): ส่งเสริมการออมเพื่อวัยเกษียณ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท
  • กองทุนรวม ThaiESG: ลงทุนในกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนอย่างยั่งยืน ท่านจะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 300,000 บาท (ปี 2567-2569)
  • สนับสนุน Social Enterprise: ร่วมส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม ด้วยการลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาท

เงื่อนไขสำคัญ: การลงทุนใน RMF, SSF, PVD, กบข., ประกันชีวิตแบบบำนาญ และ กอช. เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี

3. ลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

รายการบริจาค รายละเอียด
จำนวนเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้
การศึกษา กีฬา (e-Donation) และ รพ. รัฐ 2 เท่าของจำนวนเงินบริจาค
ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นๆ
ทั่วไป  
ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นๆ
พรรคการเมือง  
ไม่เกิน 10,000 บาท

 

  • บริจาคทั่วไป: ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นๆ
  • บริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา โรงพยาบาลรัฐ (e-Donation) และองค์กรเพื่อการพัฒนาสังคม: ได้อานิสงส์ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นๆ
  • บริจาคพรรคการเมือง: ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท

4. ลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ

รายการกระตุ้นเศรษฐกิจ รายละเอียด
จำนวนเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้
Easy e-Receipt 1 ม.ค. - 15 ก.พ. 67
ไม่เกิน 50,000 บาท
ดอกเบี้ยบ้าน  
ไม่เกิน 100,000 บาท
เที่ยวเมืองรอง พ.ค. - พ.ย. 67 หมายเหตุ: ยังเป็นมติ ค.ร.ม. ขอให้ติดตามกฎหมายต่อไปว่ามีข้อแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่
ไม่เกิน 15,000 บาท
ค่าสร้างบ้านใหม่ 9 เม.ย. 67 – 31 ธ.ค. 68
10,000 บาท ต่อค่าก่อสร้าง 1 ล้านบาท รวมไม่เกิน 100,000 บาท

 

  • Easy e-Receipt : ลดหย่อนภาษีได้อย่างสะดวกสบาย เพียงใช้จ่ายผ่าน e-Tax Invoice / e-Receipt โดยท่านสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท ระหว่าง 1 ม.ค - 15 ก.พ. 67
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง : สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยว สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวเมืองรอง ระหว่างเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน 2567 มาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย: ผู้มีภาระผ่อนบ้าน สามารถนำดอกเบี้ยมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
  • ส่งเสริมการสร้างที่อยู่อาศัย: สำหรับผู้ที่มีแผนก่อสร้างบ้านใหม่ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 10,000 บาท ต่อค่าก่อสร้าง 1 ล้านบาท โดยต้องเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 - 31 ธันวาคม 2568 โดยยอดรวมไม่เกิน 100,000 บาท

วางแผนภาษีอย่างรอบคอบ เสริมสร้างความมั่งคั่งทางการเงิน

ลดหย่อนภาษี 2567 เช็คลิสต์ครบ! วางแผนภาษีฉบับมือใหม่ เช็คที่นี่

ท่านได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากร เพื่อประกอบการวางแผนภาษีล่วงหน้า การลดหย่อนภาษีเป็นสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ท่านควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างรอบด้าน ประกอบการพิจารณาวางแผนการเงินและการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานะทางการเงินของท่าน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เพื่อประสิทธิภาพในการลดหย่อนภาษี ขอแนะนำให้ท่านจัดเตรียมเอกสารประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้ครบถ้วน เช่น ใบเสร็จรับเงิน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นต้น และควรศึกษาเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของแต่ละรายการลดหย่อนภาษีให้ถี่ถ้วน เนื่องจากแต่ละรายการมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน การวางแผนการใช้จ่ายและการลงทุนล่วงหน้า จะช่วยให้ท่านเลือกรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงิน และช่วยในการลดหย่อนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม ท่านสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี เช่น นักวางแผนการเงิน หรือเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อท่านในการวางแผนภาษี เพื่อให้ท่านสามารถบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายทางการเงินของท่าน

ที่มา SCB Thailand

advertisement

SPOTLIGHT