Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เทียบค่าแรงขั้นต่ำ 10 ชาติอาเซียน ปีนี้ใครขึ้นเท่าไร เช็กได้ที่นี่!
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

เทียบค่าแรงขั้นต่ำ 10 ชาติอาเซียน ปีนี้ใครขึ้นเท่าไร เช็กได้ที่นี่!

23 ส.ค. 65
16:32 น.
|
28K
แชร์

เทียบค่าแรงขั้นต่ำ 10 ชาติอาเซียน ปีนี้ใครขึ้นเท่าไร เช็กได้ที่นี่!


ในขณะที่'ประเทศไทย'บ้านเรา เป็นชาติสุดท้ายในอาเซียนที่ยังไม่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปีนี้ โดยอยู่ระหว่างรอลุ้นการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีให้ทันเดือนตุลาคมว่า จะปรับขึ้นในเรทตามที่กระทรวงแรงงานเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-8% จากอัตราค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบันอยู่ที่  313-336  บาทต่อวัน หรือไม่นั้น

ทีมข่าว Spotlight จะพาไปดูเปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำ 10 ชาติอาเซียน ที่ส่วนใหญ่มีการปรับขึ้นค่าแรงรับยุคเงินเฟ้อแรง-ของแพงขึ้น กันไปหมดแล้ว ดังนี้


ค่าแรงขั้นต่ำอาเซียน


อินโดนีเซีย

ในปี 2563 'อินโดนีเซีย' ไม่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (สำหรับรอบปี 2564) เพราะเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เพิ่งจะมาปรับขึ้นของรอบปี 2565 นี้ แต่ก็ถือเป็นขึ้นที่จำกัดมาก เนื่องจากให้ขึ้นค่าแรงได้พื้นที่เพียง 5 จังหวัดเท่านั้น จากทั้งหมด 34 จังหวัดทั่วประเทศ

ส่วนอัตราการปรับขึ้นก็แตกต่างกันไป เช่น ในกรุงจาการ์ตา จะปรับขึ้นประมาณ 5.1% จาก 4,416,186 รูเปียะห์ เป็น 4,641,854 รูเปียะห์ แต่ค่าแรงที่ปรับขึ้นในชวากลาง อยู่ที่เพียง 1,813,011 รูเปียะห์ ทำให้เมื่อหารเฉลี่ยกันแล้วถือว่าปีนี้ปรับขึ้นค่าจ้างเพียง 1.09% เท่านั้น และแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งไปเกือบแตะ 5% หรือสูงสุดในรอบ 7 ปีไปแล้ว แต่อินโดนีเซียก็ยังไม่มีการปรับขึ้นรอบสองในปีนี้แต่อย่างใด


เมียนมา

โดยปกติแล้ว 'เมียนมา'จะมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกๆ 2 ปี ภายใต้กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำปี 2556 (ค.ศ. 2013) แต่หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การพิจารณาปรับฐานค่าแรงขั้นต่ำก็ถูกระงับชั่วคราว เรียกได้ว่าเมียนมาไม่มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมา 4 ปีแล้ว โดยมีค่าแรงขั้นต่ำต่อวันอยู่ที่ 4,800 จ๊าต หรือประมาณ 80 บาท (ค่าเงินเมียนมาอ่อนค่าลงต่อเนื่อง) และยังไม่เห็นสัญญาณว่าจะมีการขึ้นค่าแรงในเร็วๆ นี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของเมียนมายังไม่ฟื้นตัวดีขึ้นมากนัก นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารในปี 2564



ลาว 


'สปป.ลาว' เพิ่งปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งล่าสุดในปีนี้ มีผลไปเมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่เพิ่งผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 1 แสนกีบ เป็น 1.2 ล้านกีบ/เดือน หรือประมาณเดือนละเกือบ 3 พันบาท แต่เนื่องจากค่าเงินกีบของลาวอ่อนค่าลงหนักมาในปีนี้ ทำให้เมื่อคำนวณเป็นเงินบาทแล้ว จะได้น้อยลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ยังไม่ขึ้นค่าแรงเพิ่ม ทั้งนี้ การพิจารณาขึ้นค่าแรงขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างสมาคมนายจ้าง องค์กรแรงงาน และผู้แทนรัฐบาล  

 


ฟิลิปปินส์ 

'ฟิลิปปินส์' ประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีผลไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 โดยเป็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ ในอัตราที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค พื้นที่ค่าแรงแพงที่สุดยังคงเป็นเมืองหลวงกรุงมะนิลา โดยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก 33 เปโซ (0.63 ดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้ค่าแรงขั้นต่ำนอกภาคเกษตรขึ้นไปอยู่ที่ 570 เปโซ/วัน และสำหรับค่าแรงในภาคเกษตรอยู่ที่ 533 เปโซ/วัน



เวียดนาม 


'เวียดนาม' ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีผลเมื่อเดือน กรกฎาคม 2565 โดยเป็นการปรับขึ้นเฉลี่ยประมาณ 6% ขึ้นอยู่กับภูมิภาคต่างๆ และถือเป็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งแรกในรอบ 2 ปี 

ครั้งนี้ เวียดนามขึ้นค่าแรงเฉลี่ยประมาณ 180,000 - 260,000 ด่อง ทำให้ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนถูกปรับขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 3.25 - 4.68 ล้านด่อง (142 - 201.6 ดอลลาร์สหรัฐ) ส่วนค่าแรงขั้นต่ำเป็นรายชั่วโมงนั้น จะอยู่ที่ประมาณชั่วโมงละ 15,600 - 22,500 ด่อง (ราว 0.67 - 0.97 ดอลลาร์)


มาเลเซีย


'มาเลเซีย' ถือว่ามีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปีนี้สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยปรับขึ้นจาก 1,200 ริงกิต/เดือน (9,600 บาท) ขึ้นเป็น 1,500 ริงกิต/เดือน (12,000 บาท) หรือปรับขึ้นเฉลี่ย 25% ประมาณ 2,400 บาท มีผลไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา

การปรับขึ้นค่าแรงในมาเลเซียนั้น มีปัจจัยในการพิจารณาหลักๆ คือ เส้นแบ่งความยากจน ค่าครองชีพ แนวทางการใช้ชีวิตของประชาชน รวมถึงเงินเฟ้อในประเทศ ซึ่งแม้ว่าปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวสูงขึ้นมา แต่การขึ้นค่าแรงถึง 25% ก็ทำให้ภาคเอกชนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมาเลเซียหลังโควิด ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนมองว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลมาเลเซียนั้นมีแรงจูงใจทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง เพราะกำลังจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงสิ้นปีนี้



กัมพูชา 


'กัมพูชา' มีการเคาะขึ้นค่าแรงของปี 2565 กันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยปรับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 2 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 192 ดอลลาร์/เดือน เป็น 194 ดอลลาร์/เดือน ทำให้ค่าแรงขั้นต่ำของกัพูชาอยู่ที่ประมาณวันละ 230 บาท หรือเดือนละ 6,875 บาท

บรูไน'บรูไน' ไม่มีระบบค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งประเทศขนาดเล็กที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากรน้ำมันแห่งนี้ มีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 20,900 บาทต่อเดือน



สิงคโปร์


'สิงคโปร์' เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ไม่มีค่าแรงขั้นต่ำ โดยใช้หลัก Demand-Supply เป็นตัวกำหนดค่าแรงในตลาดแรงงาน แต่นั่นก็เป็นเรื่องในเชิงหลักการเท่านั้น

ระบบที่คล้ายกับค่าแรงขั้นต่ำในสิงคโปร์ เรียกว่า Progressive Wage Model (PWM) โดยใช้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำสำหรับบางอาชีพ เช่น พนักงานทำความสะอาด และพนักงานรักษาความปลอดภัย และคาดว่าจะขยายให้ครอบคลุมอาชีพอื่นๆ เพิ่มอีกในปีหน้า 2023 เช่น งานค้าปลีก งานบริการด้านอาหาร งานกำจัดของเสีย งานขับรถ และงานประเภทผู้ช่วยธุรการ

สิงคโปร์ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ PWM ไปเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 ซึ่งจะมีอายุ 1 ปี ไปถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2023 (พิจารณากันรายปี) 

แต่ค่าจ้างขั้นต่ำของ PWM ก็ไม่ได้เป็นอัตราเดียวตายตัวสำหรับทุกอาชีพเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น พนักงานทำความสะอาดตามบริษัทเอกชน จะได้ขั้นต่ำอยู่ที่ 1,274 ดอลลาร์สิงคโปร์/เดือน แต่ถ้าเป็นพนักงานทำความสะอาดของสถานที่ราชการ จะได้ขั้นต่ำที่ 1,486 ดอลลาร์สิงคโปร์/เดือน แต่ภายใต้เรทใหม่ที่เพิ่งปรับขึ้นไป แม่บ้านเอกชนจะอยู่ที่ 1,312 และแม่บ้านรัฐบาลอยู่ที่ $1,530 ดอลลาร์สิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังอาจมีเงินเพิ่มอีกตามการอบรมเฉพาะด้าน หรือสกิลความสามารถพิเศษ เช่น ภาษา เป็นต้น

แชร์

เทียบค่าแรงขั้นต่ำ 10 ชาติอาเซียน ปีนี้ใครขึ้นเท่าไร เช็กได้ที่นี่!