Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ฟังจากปาก 3 CEO โลกเจอความท้าทายรอบด้าน อนาคตประเทศไทย จะเป็นอย่างไร
โดย : ปาณิสรา สุทธิกาญจนวงศ์

ฟังจากปาก 3 CEO โลกเจอความท้าทายรอบด้าน อนาคตประเทศไทย จะเป็นอย่างไร

21 พ.ย. 67
13:40 น.
|
501
แชร์

ในช่วงปีที่ผ่านมา โลกของเราต้องเผชิญกับความท้าท้าย ทั้งโควิด-19 เศรษฐกิจฝืดเคือง การเข้ามาของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล นี่ยังไม่รวมถึงความไม่แน่นอนของการเมืองโลก ที่เปลี่ยนผ่านผู้นำคนใหม่อย่าง ‘โดนัล ทรัมป์’ อนาคตของประเทศไทยจะต้องเจอกับอะไร รัฐบาลไทยควรเตรียมรับมือแบบไหน? ฟังจากปาก 3 CEO แถวหน้าของไทย อย่าง เครือเจริญโภคภัณฑ์, เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ และ ธนาคารกรุงเทพ

บทความนี้ SPOTLIGHT ได้สรุปสาระสำคัญจากหัวข้อเสวนา Thailand Now—And Next จากคุณศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานอาวุโส และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ และคุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ณ งาน Forbes Global CEO Conference 2024 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 20-21 พ.ย. 2567

ความสามารถของไทยต่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ

คุณศุภชัย มองว่า แม้ว่าการท่องเที่ยว จะเป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวจากโควิด -19 แต่ภาครัฐควรจะเข้ามาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้มากขึ้นผ่านนโยบายกลไกลสนับสนุนในภาคเอกชนมากขึ้น เช่น

  • เรื่องพลังงาน อย่างพลังงานหมุนเวียน รัฐบาลกำลังพัฒนามาตรการซื้อขายไฟจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Direct PPA หรือการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง
  • ความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ 
  • นโยบายกำหนดโซนเศรษฐกิจ เพื่อให้ต่างประเทศเข้ามาเป็นเจ้าของที่ดินได้ถึง 99 % ส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์

 ส่วนนโยบายที่จะทำให้ไทยเราสามารถไปแข่งขันกับภูมิภาคได้มากขึ้น ก็คือ ‘นโยบายภาษี’ เพราะจะนำไปสู่การทำให้ธุรกิจง่ายขึ้น หรือการส่งเสริมวีซ่าระยะยาว สำหรับต่างชาติที่มีความสามารถ หรือ บริษัท Tech Startup และ

โดยมองว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันมีวิสัยทัศน์ระดับโลก และเชื่อว่ากำลังหาแนวทางในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันได้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค แต่ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมในแง่การค้าของไทยในอาเซียน ความสามารถในการเข้าถึงเงินทุน แม้ที่ผ่านมาเศรษฐกิจของไทยตามหลังมาหลายปีแล้ว แต่ก็หวังว่าจะเห็นตัวเลขที่ดีกว่า 2.8 %

ประเทศไทยกับจุดยืนต่อประเทศจีน เมื่อสหรัฐฯ เปลี่ยนรัฐบาล

จีน คือ พี่ใหญ่ แต่สหรัฐฯ เป็นบอสใหญ่

คุณศุภชัย มองว่า หลังจากสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ ประเทศไทยจะยังคงพยายามรักษาความเป็นกลางระหว่างจีนและสหรัฐฯ ได้ดี

" มองว่า ประเทศจีน เปรียบเสมือน พี่ใหญ่ ส่วนสหรัฐฯ เปรียบเสมือน บอสใหญ่ ดังนั้น เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกับทั้งสองประเทศ ซึ่งประเทศไทยอาจจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจะเป็นแพลทฟอร์มที่ทั้งสองประเทศมาเจอกัน และหาข้อตกลงร่วมกันได้ในหลายมิติ ดังนั้น เราอยู่ตรงนี้ก็จะดีมากๆ ต่อประเทศไทย เหมือนเป็นสวิสเซอร์แลนด์แห่งอาเซียน"

ไทยได้เปรียบจากกลยุทธ์ China +1

ด้านคุณปณต มองว่า ประเทศไทยถือว่า ทำเลที่ตั้งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ และมีกลยุทธ์ China+1 กับจีน

โดยกลยุทธ์ China+1 คือ การที่จีนสร้างสมดุลในห่วงโซ่การผลิต โดยการกระจายฐานการผลิตออกนอกประเทศไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงทางการค้า โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย

ในขณะที่ความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ก็เป็นตลาดทุนที่ดีมาก ซึ่งประเทศไทยพร้อมเป็นทูตของอาเซียน เนื่องจากมีคุณภาพของแรงงาน บริการ และการวางจุดยืนของไทยนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างสมดุลที่ถูกต้อง แต่ยังอยู่ในจุดที่ถูกต้องลงตัว

ยุคของเอเชีย กำลังจะมา

ขณะที่คุณชาติสิริ มองว่า กำลังเข้าสู่ยุคทองของเอเชีย นำโดยจีน ตามมาด้วยอินเดีย ส่วนอนาคตของอาเซียนก็สดใส เนื่องจากมองว่าอาเซียนเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่สุด เป็นอันดับสี่ของโลก ในอีกหลายปีข้างหน้า การลงทุนจะหลั่งไหลมาที่อาเซียน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย ในหลายภาคส่วน กระแสน่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไป แม้สหรัฐฯ จะเปลี่ยนรัฐบาลก็ตาม แต่มองว่า ความตึงเครียดของทั่วโลก รวมถึง ความดึงเครียดของจีน-สหรัฐฯ จะดียิ่งขึ้น และก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

โอกาสทางธุรกิจไทยขยายตลาดไปต่างประเทศ

ในมุมมองคุณศุภชัย ยังคงมองว่า ตลาดอาเซียน ยังคงน่าดึงดูด โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังคงพยายามจะขยายธุรกิจจากไทยไปอาเซียน และหวังว่าความไม่สงบในเมียนมาจะสงบลงในปีนี้ เพราะจะช่วยเพิ่มเรื่องเศรษฐกิจให้อาเซียนทั้งหมด

นอกจากนี้ มองว่า ถึงเวลาแล้วที่จะลงทุนในจีน เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่ อีกทั้ง ในฝั่งยุโรป ก็ยังคงมีโอกาสอยู่มากในส่วนของเทคโนโลยี ในขณะที่ฝั่งสหรัฐฯ

ขณะที่ คุณศุภชัย มองว่า ประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป คือ นโยบายเกี่ยวกับกำแพงภาษี หรือนโยบายภาษีจะเป็นอย่างไร อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ รัฐบาลสหรัฐฯ จัดการอย่างไร

ส่วนคุณปณต มองว่า การไปลงทุนในต่างประเทศนั้น ประเทศสิงคโปร์ ถือเป็นฐานในการขับเคลื่อนธุรกิจได้ดี และมีศักยภาพ มีโอกาสที่ไทยจะสามารถเข้าไปเล่นในตลาดได้ โดยขณะนี้ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เติบโตใน 20 ประเทศ 50 เมือง

โดยวิธีการทำงาน คือ พยายามปลดล็อคศักยภาพ ซึ่งเฟรเซอร์สยังไปตีตลาดออสเตรเลีย และด้วยความที่เศรษฐกิจโลก อาเซียนเชื่อมโยงกันมากขึ้น โอกาสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงพยายามเข้าไปสร้างรากฐานอสังหาริมทรัพย์ แต่ละภูมิภาคก็มีภูมิทัศน์ของอสังหาฯ ที่ต่างกัน

ส่วนคุณชาติศิริ มองว่า การขยายธุรกิจในอาเซียนมีโอกาส เช่น อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีศักยภาพการบริการลูกค้าใหญ่สุดในอาเซียน ในเมืองจีนและมาเลเซียก็เป็นพื้นฐานที่ดีที่จะบริการลูกค้าให้ทั่วภูมิภาค โดยธนาคารกรุงเทพพยายามสนับสนุนการบริการลูกค้า ให้ความช่วยเหลือและให้โอกาส แต่ละประเทศมีความได้เปรียบที่ต่างกัน และแต่ละประเทศก็มีโอกาสที่ต่างกัน ทุกวันนี้ มีนวัตกรรมใหม่ๆ มีโครงสร้างใหม่ๆ คมนาคม โลจิสติกส์ สนามบิน สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องในอาเซียน แล้วก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นในอีก 5-10 ปีข้างหน้า 

การเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ต้องรีบปรับตัว

คุณศุภชัย ได้ย้ำว่า ในยุคดิจิทัลนี้ จำเป็นมากที่ต้องปรับตัวให้ทัน โดยด้านรีเทล CP ก็ได้ปรับตัวหลากหลายช่องทาง โดยอีคอมเมิร์ซ ทาง CP ก็ทำได้ดีระดับหนึ่ง แต่ก็มีหลายด้านที่ต้องตามให้ทัน อย่างการเข้ามาของ AI  โดย AI เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิทัศน์ในสิ่งที่เรายังไม่รู้ แต่ต้องนำ AI ไปสู่ทุกส่วนขององค์กร ซึ่งแต่ละแผนกต้องมีการฝึกฝนใช้ AI แม้ว่าจะเป็นอะไรที่ท้าทาย แต่เชื่อมั่นว่า หากเราสามารถทำงานกับ AI ได้ เราจะเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น มีฐานข้อมูลที่กว้างขึ้น และการใช้ AI จะช่วยเราให้เติบโต ขณะเดียวกันก็จะช่วยลดต้นทุนได้เช่นกัน

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ‘มุมมองของผู้นำในองค์กร’ ที่ต้องมีวิสัยทัศน์ชัดเจนก่อน เช่น หากบริษัทจะใช้ AI ผู้นำ นักบริหาร ต้องมีความเชี่ยวชาญเสียก่อน คุณศุภชัยบอกว่า ตนเองยังต้องกลับไปเรียนใหม่ ต้องล้มกระดาน เรียนรู้ใหม่กันเลย และยังต้องเรียนรู้จากคนรุ่นใหม่ด้วย

ขณะที่คุณปณตชี้ว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในธุรกิจ จำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิด ต้องมองอนาคตที่มองไม่เห็นด้วย มองความคิดของคนที่เป็นเจ้าของที่ดิน มองว่าเขาจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงมันเร็วมาก เนื่องจากคนไม่ชอบอะไรจำเจ ต้องตั้งคำถามว่า เราจะทำอย่างไร เพื่อให้เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก ถ้าเราจับได้ วิเคราะห์เป็นก็จะเป็นผลดี

อย่างเช่นที่ One Bangkok มีกล้องวงจรปิดเป็นพันตัวไม่ใช่เพื่อความปลอดภัยเพียงอย่างเดียว แต่ทำให้คนสบายใจด้วย ซึ่งคุณปณต มองว่าเรื่องของวิวัฒนาการของการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ต้องมองในความเป็นจริง ไม่ใช่ในกระดาษทฤษฎี อีกทั้ง จำเป็นต้องเปิดประเทศ ให้อุตสาหกรรมเข้ามาเชื่อมโยง และทำให้เศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับอาเซียนและทั่วโลก และนี่ คือ ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของทางบริษัท

แชร์
ฟังจากปาก 3 CEO โลกเจอความท้าทายรอบด้าน อนาคตประเทศไทย จะเป็นอย่างไร