รู้จัก"พินัยกรรม" 5 รูปแบบ...ไม่ได้เป็นเศรษฐีก็ทำได้
ข่าวคราวความสูญเสียบุคคลสำคัญในช่วงนี้ทำให้นึกถึงคำว่า “ความแน่นอนคือ ความไม่แน่นอน” เมื่อเราไม่รู้ว่าวันสุดท้ายในชีวิตจะอีกนานแค่ไหน การวางแผนการเงินอย่าง “การทำพินัยกรรม” ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากเช่น
พินัยกรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นเศรษฐี ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้สูงอายุ ไม่จำเป็นต้องทำตอนเจ็บป่วย พินัยกรรม ถือว่า มีความสำคัญมาก เพราะเป็นการจัดการทรัพย์สินตามความต้องการของเรา หลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้วนั่นเอง แม้ว่าเราอาจจะไม่ได้รวย ไม่ใช่เศรษฐี แต่ทรัพย์สมบัติบางอย่าง เราอาจจะต้องการมอบให้กับคนที่เราห่วงใยจริงๆ และคนๆนั้น อาจจะไม่ใช่ทายาทที่จะได้ทรัพย์สินส่วนนี้
ตัวอย่างเช่น บางท่าน พ่อและแม่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ที่ดูแลเรามา หรือคนที่เราอยากมอบทรัพย์สมบัติให้กลับเป็น น้า หากไม่มีพินัยกรรมระบุไว้ เมื่อเราเสียชีวิตทรัพย์สมบัตินั้นจะมอบไปตามกฏหมาย ที่เรียกว่า ลำดับทายาทโดบธรรม ซึ่งมีอยู่ 6 ลำดับด้วยกัน
6 ลำดับทายาทโดยธรรม
- ผู้สืบสันดาน
- บิดามารดา
- พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
- พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
- ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลุง ป้า น้า อา
***หากจดทะเบียนสมรส คู่สมรสเป็นทายาทลำดับ 2
มีการยกตัวอย่างกรณี ที่เรามีลูกด้วยว่า ถ้าทั้งพ่อแม่เสียชีวิต หากไม่มีการทำพินัยกรรมระบุไว้ เราจะยินดีให้ผู้จัดการมรดก เป็นผู้ที่กฏหมายระบุไว้หรือไม่ เป็นต้น ดังนั้นจึงเท่ากับว่า การทำพินัยกรรมจึงเป็นการแจ้งความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สมบัติของเราให้กับผู้ที่เราต้องการ
ส่วนรูปแบบของพินัยกรรม สามารถทำได้ไม่ยาก และทำได้เอง แบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก แต้ที่เราสามารถจัดการได้เอง โดยที่ไม้ต้องเกี่ยวกับทางราชการ คือ แบบที่ 1 และ 2 ตามภาพนี้
สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการทำพินัยกรรมก็ถือ เราควรมีการระบุทรัพย์สินและผู้รับให้ชัดเจน เช่น บ้าน โฉนด เลขที่เท่าไหร่ ทองคำพิกัด น้ำหนักเท่าไหร่ เงินสดเลขที่บัญชีอะไร หรือกรณีระบุตัวบุคคล เช่นมอบให้ลูกคนโต ก็ควรระบุ ชื่อ นามสกุล ให้ชัดเจนด้วย และที่สำคัญคือ กรณีแบบพิมพ์ จะต้องมีลายเซ็นต์ของพยาน 2 คน พยานนั้น จะต้องไม่มีส่วนได้เสียในพินัยกรรมนั้น และเมื่อมีการทำพินัยแล้ว จะต้องมีการอัพเดท เมื่อทรัพย์สมบัติของเราเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ หรือ สถานะของบุคคลเปลี่ยนไป มีการหย่าร้าง มีการเสียชีวิต เป็นต้น