Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ถอดบทเรียน 'สิงคโปร์' ความสำเร็จอย่างยั่งยืน จากการ ‘พัฒนาคน'
โดย : ปาณิสรา สุทธิกาญจนวงศ์

ถอดบทเรียน 'สิงคโปร์' ความสำเร็จอย่างยั่งยืน จากการ ‘พัฒนาคน'

25 พ.ย. 67
20:28 น.
|
156
แชร์

หากพูดถึง สิงคโปร์ เชื่อว่าหลายๆ คนคงนึกถึง ‘เมอร์ไลอ้อน’ แลนด์มาร์กตัวดังเจ้าสิงโตพ่นน้ำ สวนสนุก Universal studio หรือแม่แต่ สนามบินชางงี พื้นที่สีเขียวที่นักท่องเที่ยวต้องเข้ามาถ่ายรูปเช็คอิน แต่นอกเหนือจากแลนด์มาร์กสถานที่ยอดฮิตแล้ว ภาพที่หลายๆมองสิงคโปร์ คือ ประเทศเล็กๆที่เมืองถูกวางแผนมาอย่างชาญฉลาด จนกลายเป็น smart city ระบบการศึกษาที่ได้รับการยอมรับจากเวทีโลก เสถียรภาพทางการเงิน ระบบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ และทุกอย่างนี่ถูกขับเคลื่อนด้วย ‘ทรัพยากรมนุษย์’

บทความนี้ SPOTLIGHT ได้สรุปสาระสำคัญจาก หัวข้อเสวนา Sustainability Development in Real Estate : Challenges, Opportunities, and the Future for Thailand เจาะแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอสังหาริมทรัพย์ : ความท้าทาย โอกาส และอนาคตสำหรับประเทศไทย โดย Dr. Kevin Cheong, Former Commercial (Sales) Director, Sentosa Development Corporation จากงาน งาน TERRAHINT BRAND SERIES 2024 LUXURY IS A NECESSITY IN THE SUSTAINABILITY ERA.

 สิงคโปร์ ประเทศเกิดใหม่ ไร้ทรัยากรธรรมชาติ แต่อุดมไปด้วยทรัพยากรมนุษย์

สิงคโปร์ ถือว่าเป็นประเทศเกิดใหม่ เพิ่งได้รับเอกราชเมื่อปี 1959 ทำให้มีอายุเพียงแค่ 65 ปีเท่านั้น  แต่หากย้อนกลับไปในช่วงเวลาตอนนั้น ภาพลักษณ์ที่คนมองสิงคโปร์ คือ ประเทศยากจน ประเทศโลกที่ 3 ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ คนในชาติยังไม่เป็นปึกแผ่น ทำให้ ‘ลี กวน ยู’ อดีตผู้นำ นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ได้ตั้งคำถามว่า เขาจะสร้างชาติ สร้างประเทศนี้ได้อย่างไร ให้อยู่รอด และทัดเทียมประเทศอื่นๆ ทำให้คำตอบของความหวังของเขาในครั้งนั้นคือ ‘คน’ ทรัพยากรมนุษย์ คือหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างประเทศ

ทำให้เขาให้พัฒนาระบบการศึกษาของสิงคโปร์ให้เข้มแข็ง ส่งเสริมให้ประชาชนสิงคโปร์ทุกคนมีความรู้ มีความสามารถ และเมื่อประชาชนมีความรู้ ก็จะสามารถนำความรู้นั้นมาพัฒนาต่อยอดสร้างประเทศได้ในที่สุด

คุณ Kevin ได้เล่าว่า “ประเทศของเขาไม่มีน้ำ ไม่มีเกษตรกรรม ไม่มีแผ่นดิน (พวกเขาต้องถมทะเลเพื่อสร้างที่ดิน) ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะสามารถดึงดูดชาวต่างชาติให้มาลงทุน และมีหน้าตาทัดเทียมประเทศอื่นๆได้ นั้นก็คือ ‘การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์’

  • ชาวสิงค์โปร์สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ควบคู่กับภาษาจีน ทำให้เป็นประเทศที่เป็น bilingual
  • หนึ่งในประเทศแถบอาเซียนที่ประชากรมีการศึกษาสูง และระบบการศึกษาได้รับการยอมรับจากต่างชาติ โดย National University of Singapore (NUS) ได้รับการจัดอันดับ 22 เป็นมหาลัยที่ดีที่สุดในโลก เบอร์ 1 ในอาเซียน และเบอร์ 3 ในเอเชีย
  • การเมืองที่มีเสถียรภาพ (คุณ kevin ใช้คำว่า น่าเบื่อ แต่มั่นคง) โดยรัฐบาลสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับความโปร่งใสในการบริหารประเทศอันดับ 5 ของโลกในปี 2023
  • กฎหมายที่มีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีกรอบการกำกับดูแล หรือ Regulatory Framework สนับสนุนภาคการเงินของประเทศให้แข็งแกร่ง ส่งเสริมนวัตกรรม แรงจูงใจด้านภาษีเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ

สิ่งเหล่านี้ คือปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้สิงคโปร์ กลายเป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนของต่างชาติ  ดึงดูดเม็ดเงินมหาศาลมาลงทุน  และกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเชีย และนี่คือ long –terms planning ของรัฐบาล ที่ได้มีการคิดแผนไว้อยู่แล้วตั้งแต่การเริ่มสร้างชาติ

การสร้างเมืองที่ดี คือ การรักษาความสมดุล เพื่อสร้างความยั่งยืน

คุณ Kevin ได้ยกตัวอย่างการสร้างเมือง 2 แห่งของสิงคโปร์ ที่ได้มีการวางแผนรักษาสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ นั้นก็คือ Sentosa Resort Island และ Punggol Digital District

Sentosa Resort Island

เกาะเซ็นโตซ่า สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตของครอบครัว เพราะที่เป็นที่ตั้งของ Universal Studios Singapore โรงแรม กาสิโน สนามกอล์ฟ อะควาเรียม สวนน้ำ แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ และอื่นๆอีกมากมาย

คุณ Kevin ได้เล่าว่า เสน่ห์ของ Sentosa คือเมืองแห่งความสุข เพราะบนถนนจะไม่มีไฟจราจร ไม่มีปัญหาเรื่องรถติด แต่โจทย์หลักในการสร้าง Sentosa คือ การสร้างเมืองให้ vibe แตกต่างกับเกาะสิงคโปร์ เพื่อดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยว

Sentosa รักษาความยั่งยืน จากการสร้างเมืองอย่างไร?

  • รักษาสมดุล ระหว่างธรรมชาติและ Entertainment Zone ดูแลสิ่งมีชีวิตสัตว์ในพื้นที่ เช่น ลิง และ นกยูง
  • ดูแลวัฒนธรรมของคนในพื้นที่
  • ไม่ตัดต้นไม้ทำลายป่า แต่สร้างรีสอร์ตรอบต้นไม้เดิม
  • สร้างกฎหมายบังคับให้เกาะเซนโตซา ต้องเป็นพื้นที่สีเขียว 70 %
  • พยายามใช้พลังงานจากเกาะสิงคโปร์ให้น้อยที่สุด และใช้พลังงานจากภายใน Sentosa

Punggol Digital District

ย่านพังกอล คือ ย่านนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ ที่เรียกได้ว่าเป็นซิลิคอนวัลเลย์ของสิงคโปร์เลยก็ว่าได้ โดยพื้นที่แห่งนี้เป็นการรวมเอาสถาบันทางเทคโนโลยีและธุรกิจต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังมีที่พัก ศูนย์การค้า สถาบันการศึกษา และสถานที่ hang out

การเกิดขึ้นของย่านพังกอล ได้เริ่มขึ้นจาก รัฐบาลสิงคโปร์พยายามเปิดทางให้นักลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เข้ามาพัฒนาลงทุนนวัตกรรมต่างๆ ในสิงคโปร์ด้วยการลดหรือเว้นภาษีให้กับบางกลุ่มธุรกิจ เพื่อดึงดูดการลงทุนในด้านนวัตกรรม และยกระดับประเทศให้กลายเป็น Smart Nation 2.0

โดยคุณ Kevin ได้เล่าว่า ทุกวันนี้ที่เข้าสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริงไม่ได้ เนื่องจากมนุษย์เรายังคงต้องทำกิจกรรมต่างๆ และการทำกิจกรรม ทั้งขับรถออกจากบ้านเพื่อนไปที่ทำงาน ขับรถจากที่ทำงานไปร้านอาหาร และขับรถจากร้านอาหารไปที่บ้าน สิ่งเหล่านี้คือ กิจวัตประจำวันที่เราต้องทำทุกวัน แม้ว่าต้องปล่อย carbon footprint

สถานที่เหล่านี้มักอยู่ห่างไกลกัน เป็นเหตุผลที่เราเดินทาง แล้วทำไมเราไม่สร้างพื้นที่ ที่สามารถอยู่อาศัย ทำงาน เล่น และเรียนในที่ที่เดียวกัน (How can we live, work, play and study in the same place?) นี่จึงเป็นที่มาของการสร้างผ่านพังกอล

Punggol Digital District รักษาความยั่งยืน จากการสร้างเมืองอย่างไร?

  • ออกแบบให้ที่จอดรถอยู่ชั้นใต้ดินทั้งหมด เพื่อให้มีพื้นที่ใช้ส่อยเพิ่มขึ้น
  • ข้างบนจะเป็นตึกที่มีที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร แหล่ง hangout ออฟิศสำนักงาน เพื่อให้คน Live/ Work / Play ในที่ที่เดียวกัน เพื่อให้คนได้ใช้ชีวิตอยู่ในย่านนี้ และลดการปล่อย carbon footprint
  • สร้างพื้นที่ให้คนเดิน ปั่นจักรยาน เพื่อให้เมืองมีชีวิตชีวา ทำให้คนอยากอยู่อาศัย

คุณ Kevin ได้เล่าว่า “หัวใจหลักสำคัญในการสร้างเมืองแห่งนี้ คือการสร้าง Home ไม่ใช่ House เมื่อคุณสร้างบ้านต้องไม่ใช่แค่สร้างสถานที่ แต่ต้องสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สร้างความรู้สึกที่อยากกลับไป เหมือนเป็นที่พักใจ”

ซึ่งจริงๆคำว่า Home และ House มีความหมายที่เหมือนกัน คือแปลว่า ที่อยู่อาศัย แต่ Home นั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งมากกว่าคำว่า House เพราะ Home นั้นใช้ในการแสดงถึงความผูกพันธ์ซึ่งมีความหมายในเชิงความรู้สึกหรือนามธรรม

‘กรุงเทพฯ’ ประชากรเติบโตเร็วเกิน จนสร้าง ‘เมือง’ ที่ตอบโจทย์ไว้ไม่ทัน

คุณ Kevin ได้เล่าว่า ภาพที่เขามองกรุงเทพ คือเมืองหลวงที่มีประชากรอาศัยอยู่ล้นเมืองหากเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันกรุงเทพมีประชากรอาศัยอยู่แล้วกว่า 11 ล้านคน ในขณะที่ปี 2014 มีประชากรอยู่อาศัย 8 ล้านคน

  • ปัญหารถติด ทุกวันนี้เราแทบจะจินตนาการไม่ออกการใช้ชีวิตที่ต้องนั่ง bts mrt หรือ วินมอเตอร์ไซต์เผื่อฝ่าวงรถติดออกไป
  • ปัญหาฝุ่น PM 2.5

และในวันที่ประชากรขยายตัวเร็ว เมืองก็ต้องมีแผนนองรับที่จะขยายตัวตาม โดยคุณ Kevin มีความคิดเห็นว่า

  • ควรมีการออกแบบพื้นที่ใหม่ๆที่ความเป็นเมืองกระจายตัวออกไปนอกเมือง หรือ Decentralized ดึงความเจริญออกจากเมืองหลวง ไปในเมืองต่างๆ
  • ย้ายสถานที่ราชการให้ไปอยู่ชานเมือง เพื่อให้คนขยายตัวออกไป
  • การออกแบบพื้นที่ใหม่ โดยคำนึงถึงเรื่อง Live Work Play เพื่อทำให้กระจายความเจริญไปยังเมืองอื่นๆได้
แชร์

ถอดบทเรียน 'สิงคโปร์' ความสำเร็จอย่างยั่งยืน จากการ ‘พัฒนาคน'