Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
หรือภัยธรรมชาติคือ New Normal ใหม่ของมนุษย์?
โดย : มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล

หรือภัยธรรมชาติคือ New Normal ใหม่ของมนุษย์?

19 ม.ค. 68
00:00 น.
|
15
แชร์

Highlight

ไฮไลต์

  • มูลค่าความเสียหายและผลกระทบทางเศรษฐกิจเบื้องต้นจาก 'ไฟป่าแแอลเอ' อยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 1.75 ล้านล้านบาท คิดเป็นเกือบ 10% ของขนาดเศรษฐกิจประเทศไทยปี 2566 เลยทีเดียว
  • ไฟป่าครั้งนี้ได้เผาผลาญพื้นที่กว่า 3.5 หมื่นเอเคอร์หรือประมาณ 141 ตารางกิโลเมตร ทำลายโครงสร้างอาคารกว่า 1 หมื่นแห่งและส่งผลให้ประชาชนกว่า 1.5 แสนคนต้องอพยพออกจากบ้านเรือน
  • ในยุคที่สภาพอากาศแปรปรวนจนเข้าขั้นใกล้เคียงกับคำว่าวิปริต เราจึงน่าจะเห็นองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ต่างๆ จัดตั้งทีมหรือเตรียมงบประมาณเพื่อรองรับกับภัยพิบัติอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

ภาพข่าวไฟป่าในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียสร้างความสะเทือนใจแก่ผู้คนทั่วโลก ไม่เพียงสูญเสียทรัพยากรทางธรรมชาติจำนวนมหาศาลเท่านั้น แต่ยังคร่าชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่งผลกับเศรษฐกิจและธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญด้วย

ภาพจาก AFP : ไฟป่าแอลเอ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในสาเหตุหลักเกิดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้อุณหถูมิสูงขึ้น ความชื้นลดลง เมื่อเกิดประกายไฟขึ้นพร้อมกับลมพายุที่รุนแรงมากขึ้นจึงทำให้เกิดไฟป่าลุกลามในวงกว้างได้ถึงขนาดนี้

บริษัทพยากรณ์อากาศ AccuWeather ประเมินมูลค่าความเสียหายและผลกระทบทางเศรษฐกิจเบื้องต้นจาก
'ไฟป่าแแอลเอ' อยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 1.75 ล้านล้านบาท คิดเป็นเกือบ 10% ของขนาดเศรษฐกิจประเทศไทยปี 2566 เลยทีเดียว ไฟป่าครั้งนี้ได้เผาผลาญพื้นที่กว่า 3.5 หมื่นเอเคอร์หรือประมาณ 141 ตารางกิโลเมตร ทำลายโครงสร้างอาคารกว่า 1 หมื่นแห่งและส่งผลให้ประชาชนกว่า 1.5 แสนคนต้องอพยพออกจากบ้านเรือน

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากไฟป่าครั้งนี้ไม่เพียงแค่ความเสียหายต่อทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก คนตกงานและค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เพิ่มขึ้นด้วย

ภาพจาก AFP: ไฟป่าแอลเอ

หากย้อนกลับไปในอดีตภัยพิบัติขนาดใหญ่ที่สร้างความเสียหายในวงกว้างถึงขนาดมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและทำให้ธุรกิจล้มตาย เราจะทำได้ดีกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2554 ด้วยความรุนแรงถึงระดับ 9 ก่อให้เกิดความเสียหายกว่า 2.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทำให้บริษัทTokyo Electric Power Company (TEPCO) แทบจะหมดตัวกับการจ่ายค่าเสียหายจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดจิอิ ขณะที่ธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรมยานยนต์รวมทั้งธุรกิจรายเล็กจำนวนมากต้องชะงักงันและปิดตัว เป็นแผลเป็นทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน

ถัดมาคือภัยพิบัติพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาที่เมืองนิวออร์ลีนส์ สหรัฐอเมริกาในปี 2548 เกิดความเสียหายมากถึง 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กกว่า 1 แสนแห่งต้องปิดตัว ภาคการท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งบริษัทขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้องพบกับวิกฤติการณ์ นักวิเคราะห์เชื่อมโยงว่าความเสียหายในภาคอสังหาริมทรัพย์นี้เองมีส่วนทำให้ธุรกิจของ Lehman Brothers ที่ลงทุนในพื้นที่ประสบภัยต้องสั่นคลอนและทำให้ปิดตัวลงในปี 2551

ขณะที่ภัยน้ำท่วมใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาของประเทศไทยในปี 2554 ก็ถูกจารึกด้วยเช่นกัน เกิดความเสียหายประมาณ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูก นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานีได้รับความเสียหายอย่างหนัก บริษัท Western Digital ผู้ผลิตสินค้าไอทีชั้นนำต้องหยุดการผลิตชั่วคราว รถยนต์ผลิตเสร็จของแบรนด์ยักษ์ใหญ่ Honda จมน้ำและถึงขั้นทำให้การส่งมอบรถสะดุด

ภาพจาก AFP : น้ำท่วมใหญ่ประเทศไทย ปี2011

วันนี้จึงพูดได้เต็มปากว่าภัยธรรมชาติที่นักเรียนเศรษฐศาสตร์ทราบกันดีว่าเป็น ผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ยากจะควบคุมหรือ Externalities นั้นไม่ได้มาแค่นานๆที เดี๋ยวมาเดี๋ยวไปอีกแล้ว แต่อาจจะเกิดถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น และยากจะคาดเดา

มองอย่างเรื่องใกล้ตัวคือการตกหลุมอากาศแบบรุนแรงที่คาดว่าภายในปี 2593 นักบินทั่วโลกจะต้องรับมือกับเรื่องนี้ถึงเดือนละ 2 ครั้ง หรือกระทั่งเกาะชื่อดังอย่างมัลดีฟส์ ตูวาลู หรือคิริบาส ก็สุ่มเสี่ยงที่จะจมน้ำและถูกลบหายไปจากแผนที่โลก

ในยุคที่สภาพอากาศแปรปรวนจนเข้าขั้นใกล้เคียงกับคำว่าวิปริต เราจึงน่าจะเห็นองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ต่างๆ จัดตั้งทีมหรือเตรียมงบประมาณเพื่อรองรับกับภัยพิบัติอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แบบที่ไม่ใช่การตั้งทีมเฉพาะกิจเวลาที่เจอกับปัญหาเท่านั้น แต่ยกระดับขึ้นมาเป็นแผนกหรืออาจจะเป็นอีกโมเดลธุรกิจที่นอกจะจัดการกับปัญหาของตนเองแล้ว ยังสร้างรายได้จากการไปช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย เพราะดูท่าเราจะต้องเผชิญกับเรื่องราวเหล่านี้บ่อยขึ้นและใกล้ตัวขึ้นแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน

วันนี้สิ่งที่เป็น Externalities อาจจะกลายเป็น New Normal ของมนุษยชาติไปแล้ว

มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล

มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล

นักข่าวเศรษฐกิจและผู้ก่อตั้งเพจ BizKlass

แชร์
หรือภัยธรรมชาติคือ New Normal ใหม่ของมนุษย์?