ภาวะโลกร้อน เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การใช้ถุงพลาสติก การปล่อยของเสียลงในแม่น้ำ เราหลายคนอาจจะได้ยินประโยคเหล่านี้จนเคยชิน แต่ไม่ได้ใส่ใจหรือทำอะไรมากเท่าที่ควร
แต่หากพูดเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ‘โลก’ นั้น ก็เปรียบเสมือน ‘ร่างกาย’ ของคนเรา หากเราใช้ร่างกายหนักจนเกินไป จนไม่ได้พักผ่อน กินแต่อาหาร Junk Food ท้ายที่สุดแล้ว เราก็คงต้องจ่ายเงินค่ารักษาแพงๆเพื่อให้เรากลับมามีสุขภาพที่ดีขึ้นอีกครั้ง
หากเราลองสังเกตสิ่งรอบข้าง สิ่งแวดล้อม ก็ดูเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง อากาศที่เคยเย็นสบาย ตอนนี้กลับมีอุณหภูมิที่ร้อนเพิ่มขึ้นทุกวัน อีกทั้ง ยังมีมลภาวะอย่าง PM2.5 ปกคลุมตามเมืองต่างๆ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อย่างเช่น น้ำท่วม หรือไฟป่า ก็ดูรุนแรงและมาถี่ขึ้นทุกครั้ง
และนี่คือ ’ภาวะโลกรวน’ ที่ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตที่อยู่บนโลกใบนี้และส่งผลทุกด้านของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อม หรือเศรษฐกิจ
บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ออกมายืนยันว่า เดือนกรกฎาคม 2566 เป็นเดือนที่’โลกร้อนจัด’ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมาเป็นประวัติการณ์
นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ถึงขั้นได้กล่าวว่า
ยุคของภาวะโลกร้อน (global warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และจากนี้ไป โลกเข้าสู่ยุค "โลกเดือด" (global boiling) ถึงเวลาแล้วที่มนุษย์เราต้องได้รับสิ่งที่เราทำกับสิ่งแวดล้อม และนี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น
SPOTLIGHT พามาดู 4 ภัยพิบัติที่มนุษย์ถูกเล่นงานกลับด้วยธรรมชาติจนสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
วันที่ : 5 ม.ค.66
บอมบ์ไซโคลน หรือ พายุที่เกิดจากความกดอากาศต่ำอย่างรวดเร็วและโหมกระหน่ำเป็นวงกว้าง
สาเหตุ : ฝนตกหนักจากการรวมตัวของพายุไซโคลน + ความกดอากาศลดลงอย่างกระทันหัน (แม่น้ำในชั้นบรรยากาศ)
ยอดผู้เสียชีวิต : 6 ราย
เมืองที่ได้รับความเสียหาย : ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ประกาศภาวะฉุกเฉิก หลังหิมะตกหนัก เกิดดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะพื้นที่เคยประสบกับความเดือดร้อนจากไฟป่า ทางเหนือ มีการเตือนภัยคลื่นพายุซัดฝั่งสูงหลายเมตร
วันที่ : 8 ส.ค.66
สาเหตุ : ปัญหาการนำหญ้าและพืชพันธุ์ “ต่างถิ่น” มาใช้เลี้ยงดูปศุสัตว์ +สภาพอากาศแปรปรวนในช่วงวันเกิดเหตุ
ยอดผู้เสียชีวิต : 110 ราย
ผู้สูญหาย : 1,000 คน
เมืองที่ได้รับความเสียหาย : เมืองลาไฮนา บนเกาะเมาวี รัฐฮาวาย
มูลค่าความเสียหาย : 5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
วันที่ : 2 ก.ย.66
สาเหตุ : พายุไต้ฝุ่น 3 ลูก ซาวลา ไห่ขุย และคีรอกี
ผู้เสียหาย : อพยพผู้คนเกือบ 300,000 คนในหลายพื้นที่ของมณฑลฝูเจี้ยน สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนมากกว่า 2,500 หลัง และสวนไร่นาพื้นที่เกือบ 62,500 ไร่
สนามบินยกเลิกเที่ยวบิน : สนามบินฮ่องกงยกเลิกเที่ยวบิน 460 เที่ยวบิน 2สนามบินที่จีน ยกเลิก 583 เที่ยวบิน
ความเสียหาย : น้ำท่วมขังหลายพื้นที่ ดินโคลนถล่ม ภาคธุรกิจ โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟ ต้องปิดทำการ
เมืองที่ได้รับความเสียหาย : เมืองฝูโจว, ซ่านโถว, เชาโจว , เหม่ยโจว และเจียหยาง
มูลค่าความเสียหาย : 690.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉพาะที่ประเทศจีน)
วันที่ : 8 ก.ย.66
สาเหตุ : เกิดจาก “รอยเลื่อนแบบเคลื่อนตัวตามแนวเฉียง” (Oblique-Reverse Faulting) ในเทือกเขาไฮแอตลาส
ยอดผู้เสียชีวิต : 2,122 ราย (ณ วันที่ 11 ก.ย.66)
ผู้ได้รับบาดเจ็บ : 2,463 ราย (ณ วันที่ 11 ก.ย.66)
เมืองที่ได้รับความเสียหาย : จังหวัด Al-Haouz ห่างจากเมือง Marrakesh ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 80 กิโลเมตร
ความเสียหาย : เกิดความเสียหายกับย่านเมืองเก่าของเมืองMarrakesh ที่เป็นหนึ่งในมรดกโลก
นีเป็นเพียงแค่ 4 ตัวอย่างเท่านั้น ที่ภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในปีนี้ ที่ได้พรากชีวิตผู้คนนับหมื่นราย และทรัพย์สินอีกจำนวนมหาศาล
หากเราเป็นอีกคนที่อยากดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรงเพื่อให้มีอายุยืนนาน โลกของเราก็ต้องการผู้อยู่อาศัยดูแลรักษาเช่นกัน และมันอาจถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องช่วยกัน และหันกลับมาดูแลรักษาบ้านของเรา