ความยั่งยืน

โลกร้อนทำพิษ เวียดนามเผชิญภัยแล้ง ดัน ราคาโรบัสต้าในตลาดพุ่ง ภาระอาจตกที่ผู้บริโภค

29 มิ.ย. 67
โลกร้อนทำพิษ เวียดนามเผชิญภัยแล้ง ดัน ราคาโรบัสต้าในตลาดพุ่ง ภาระอาจตกที่ผู้บริโภค

โลกร้อนทำพิษ เวียดนามเผชิญภัยแล้ง ดัน ราคาโรบัสต้าในตลาดพุ่ง ภาระอาจตกที่ผู้บริโภค

เวียดนามเผชิญภัยแล้ง ดัน ราคาโรบัสต้าในตลาดพุ่ง

เวียดนามได้เผชิญปัญหาภัยแล้งครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในรอบเกือบทศวรรษ ส่งผลโดยตรงต่อ ราคาเมล็ดกาแฟ โดยเฉพาะสายพันธุ์โรบัสต้าในตลาดพุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ และนั่นหมายความว่าใครที่กินกาแฟเอสเปรสโซ และกาแฟซอง (Instant Coffee) อาจต้องก่ำเงินจ่ายมากขึ้นเร็วๆนี้

โดยนายเหงียน หง็อก กวิ่ญ รองหัวหน้าตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์เวียดนาม (MXV) ได้คาดการณ์ว่า ในประเทศเวียดนาม การเก็บเกี่ยวในฤดูกาลหน้าในเวียดนามยังคงเลวร้าย โดยตลาดการค้าของประเทศคาดว่าผลผลิตจะลดลง 10-16% เนื่องจากความร้อนจัดส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกกาแฟในที่สูงตอนกลางช่วงเดือนมี.ค. - ต้นเดือนพ.ค. 

Doan Van Thang ชาวไร่กาแฟอายุ 39 ปีจากจังหวัด Gia Lai ทางตอนกลาง ได้กล่าวว่า “ภัยแล้งทำให้พื้นที่นี้และพื้นที่โดยรอบแห้งแล้ง และการขาดแคลนน้ำรุนแรงมากจนสามารถเก็บเกี่ยวผลเชอร์รี่กาแฟได้น้อยมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เราสูญเสียผลผลิตไปมาก มันเล็กมาก ต่ำมากในปีนี้”

อย่างไรก็ตาม ฝนที่กลับมาตกในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาช่วยให้สถานการณ์ดูดีขึ้น เพิ่มความมั่นใจให้กับทั้งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสภาพอากาศที่ดีขึ้นจะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดราคาเมล็ดกาแฟโรบัสต้าได้หรือไม่

โลกร้อนทำพิษ เวียดนามเผชิญภัยแล้ง ดัน ราคาโรบัสต้าในตลาดพุ่ง ภาระอาจตกที่ผู้บริโภค

เวียดนาม ส่งออกกาแฟอันดับ 2 ของโลก

เวียดนาม เป็นประเทศที่ส่งออกกาแฟมากเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยส่งออกกาแฟไปกว่า 80 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 8.3% ในตลาดโลก และพันธุ์กาแฟที่นิยมปลูกมากที่สุดในเวียดนาม คือ สายพันธุ์ โรบัสต้า

เมล็ดกาแฟโรบัสต้า จะมีลักษณะกลมมน มีสีอ่อนกว่า เมื่อเทียบกับอาราบิก้า มี Taste Notes ที่ละเอียดอ่อนน้อยกว่าไม่ซับซ้อน มีรสชาติที่เข้มข้น กระด้าง และให้ความขมแบบถึงใจ แต่ก็ให้ ‘ครีมา (Creama)’ หรือชั้นครีมจากการสกัดที่มากกว่า จึงทำให้โรบัสต้าถูกเลือกมาใช้ในเมนูเอสเพรสโซ่อย่างแพร่หลาย รวมถึงมักถูกนำไปผลิตเป็นกาแฟซอง (Instant Coffee) ที่วางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต

โดยอุตสาหกรรมกาแฟของเวียดนามมีรายได้จากการส่งออกกาแฟมูลค่ากว่า 135,888 ล้านบาท ในปี 2021 ซึ่งคิดเป็น 3% ของ GDP ประเทศเลยที่เดียว

อย่างไรก็ตาม การผลิตการแฟของเวียดนามมีอัตราลดลงกว่า 9.8% (ช่วง ต.ค. 2022 – ก.ย 2023) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ผลิตกาแฟรวมได้เพียง 29.2 ล้านถุง (ถุงละ 60 กิโลกรัม) เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ ทั้งความร้อนอย่างรุนแรง ภัยแล้ว และน้ำที่ไม่เพียงพอต่อการปลูกกาแฟ

โลกร้อนทำพิษ เวียดนามเผชิญภัยแล้ง ดัน ราคาโรบัสต้าในตลาดพุ่ง ภาระอาจตกที่ผู้บริโภค

ต้นทุนเมล็ดกาแฟแพง ภาระตกไปที่ผู้บริโภค

สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้วิเคราะห์ว่า ไม่ว่าผลกระทบต่อผลผลิตจะเป็นอย่างไร ราคากาแฟสำหรับผู้บริโภคทั่วโลกก็มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าตอนนี้อาจยังไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากนักเนื่องจากเจ้าของร้านคาเฟ่ ยังคงพยายามตรึงราคาไว้ให้นานที่สุด

เจ้าของร้านคาเฟ่แห่งหนึ่งในเวียดนาม ได้เผยว่า “แม้ว่าเมล็ดกาแฟมีราคาที่แพงขึ้น แต่เจ้าของร้านก็พยายามจะตรึงราคาไว้เพราะเกรงใจแฟนคลับขาประจำที่ชอบแวะเวียนมานั่งชิมกาแฟกัน”

ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) ระบุว่า ราคาขายส่งที่พุ่งสูงขึ้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อราคาผู้บริโภคมากนัก โดยอัตราเงินเฟ้อของกาแฟใน 27 ประเทศในอียูเพิ่มขึ้นเพียง 1.6% ในเดือนเม.ย. และ 2.5% ในอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่นิยมดื่มกาแฟโรบัสต้า

ส่วนเทรดเดอร์และนักวิเคราะห์หลายราย กล่าวว่า ราคาขายส่งในเวียดนามและราคาฟิวเจอร์ของกาแฟโรบัสต้าที่ซื้อขายในกรุงลอนดอน มีราคาถึง 4,500 เหรียญสหรัฐ/ตัน ได้พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อช่วงต้นปีนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพราะผลผลิตในเวียดนามที่น่าผิดหวังและความกังวลเรื่องผลผลิตในฤดูกาลหน้าของเวียดนามหลังเผชิญภัยแล้ง

อย่างไรก็ตาม กาแฟโรบัสต้ากำลังเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นทั่วโลก หากราคาขายส่งเมล็ดกาแฟมีราคาสูงขึ้น จะทำให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองมากขึ้น แต่เกษตรกรบางรายก็ได้เลือกปลูกทุเรียนแทนเมล็ดกาแฟ เนื่องจากเป็นผลไม้เขตร้อนที่มีความต้องการสูงต่อผู้บริโภคชาวจีน และแน่นอนว่าการที่ชาวเวียดนามหันมาปลูกทุเรียน จะส่งผลต่อเกษตรกรไทยอย่างแน่นนอน และอาจแทรงหน้าการส่งออกทุเรียนแย่งชิงอันดับ 1 จากไทย

ที่มา : Reuters 

VOA

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT