Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ส่องสมรภูมิทั่วโลก เมื่อโดรนและเอไอกำลังเข้ามาเปลี่ยนยุทธวิธีรบ
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

ส่องสมรภูมิทั่วโลก เมื่อโดรนและเอไอกำลังเข้ามาเปลี่ยนยุทธวิธีรบ

3 ธ.ค. 67
13:58 น.
|
30
แชร์

ปัจจุบันโดรนและเอไอ รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีรบแบบเดิมๆ เนื่องจากใช้ต้นทุนถูกกว่า แต่กลับสร้างความเสียหายได้มากกว่า ซึ่งตอบโจทย์ของทหารที่กำลังรบด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโดรนจะถูกมองว่า เป็นเทคโนโลยีที่ลดการสูญเสียชีวิตของพลเรือนในสงคราม แต่องค์กรสิทธิมนุษยชนก็แสดงความเป็นกังวลเกี่ยวกับการใช้โดรนว่า โดรนมีความแม่นยำขนาดไหนและมันทำให้เกิดความเสี่ยงคนอื่นถูกลูกหลงหรือไม่

Spotlight World รวบรวมมาให้ว่าตอนนี้ มีประเทศใดบ้างกำลังเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหารอย่างต่อเนื่อง

ยูเครนจะเพิ่มการใช้ยานยนต์ไร้คนขับกับโดรน

มิคาอิโล เฟโดรอฟ รองนายกรัฐมนตรียูเครนเปิดเผยว่า ยูเครนจะหันไปใช้ยานยนต์ภาคพื้นดินไร้คนขับจำนวนหลายหมื่นคันในปีหน้า เพื่อใช้ลำเลียงกระสุนและเสบียงให้กับทหารในสนามรบ รวมถึงช่วยเหลือการอพยพทหารที่ได้รับบาดเจ็บออกจากพื้นที่อันตราย

ยานยนต์ที่มีลักษณะคล้ายรถบั๊กกี หรือรถที่ไม่มีหลังคาและประตูเหล่านี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงวิธีการทำสงครามในยูเครน โดยยานยนต์เหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของทหารในพื้นที่แนวหน้า ซึ่งรัสเซียยังคงระดมโจมตีด้วยปืนใหญ่และโดรน

 เฟโดรอฟระบุด้วยว่า ยานยนต์ดังกล่าวได้เริ่มถูกใช้งานในแนวหน้าของยูเครนแล้ว รวมถึงในภูมิภาคเคิร์สค์รัสเซีย ซึ่งทหารยูเครนเปิดปฏิบัติการบุกเข้าโจมตีในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

การใช้เทคโนโลยีทางทหารมีการพัฒนาและยกระดับขึ้นอย่างรวดเร็วในสมรภูมิรบยูเครน  แม้สงครามจะยืดเยื้อมานานกว่า 33 เดือนหลังจากการรุกรานในปี 2022 โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแนวรบ

นอกจากนี้ ยูเครนได้เพิ่มการผลิตโดรนระยะไกลหลายสิบเท่านับตั้งแต่ปี 2023 โดยประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ตั้งเป้าผลิตโดรนระยะไกลจำนวน 30,000 ลำในปีหน้า

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (2 ธันวาคม) นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนีเดินทางเยือนกรุงเคียฟของยูเครนและได้เข้าพบปะหารือกับประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีของยูเครน ทั้งสองยังได้ไปเยี่ยมชมโดรนทางทหารที่ผลิตโดยยูเครนและเยอรมนี ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่ศูนย์นิทรรศการแห่งหนึ่ง แต่ไม่เปิดเผยสถานที่ตั้ง

เยอรมนีมอบช่วยเหลือทางทหารอีก 650 ล้านยูโรให้กับยูเครนอีกด้วย โดยให้คำมั่นว่า เยอรมนียังคงเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดในยุโรปของยูเครน ในช่วงเวลาสงคราม และถึงแม้ว่า โดนัลด์ ทรัมป์จะกำลังกลับมานั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯก็ตาม

เกาหลีเหนือประกาศเพิ่มกำลังการผลิตโดรน

แม้จะไม่ได้มีการทำสงครามเกิดขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลี แต่ในทางเทคนิคแล้ว เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ยังคงอยู่ในภาวะสงคราม เนื่องจากไม่ได้มีการทำข้อตกลงยุติสงครามอย่างเป็นทางการ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมทางการทหารจึงเป็นสิ่งที่ทั้งสองเกาหลีทำมาโดยตลอด

เราจะเห็นว่า เกาหลีเหนือมักจะทดสอบและจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีปอยู่บ่อยๆ แต่ในพักหลัง เกาหลีเหนือเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาโดรนมากขึ้น โดยโดรนเป็นหนึ่งในอาวุธเทคโนโลยีระดับสูงที่ผู้นำเกาหลีเหนือประกาศว่าจะพัฒนาต่อเนื่อง ระหว่างงานประชุมสำคัญของพรรคเมื่อปี 2021 และเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกาหลีเหนือได้เปิดตัวการทดสอบโดรนพลีชีพครั้งแรก ซึ่งนายคิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ก็ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมชมด้วยตนเอง

โดยเมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา สื่อของเกาหลีเหนือรายงานข่าวนายคิมเดินทางไปเยี่ยมชมการทดสอบโดรนพลีชีพ  หรือ Suicide Attack Drone และเน้นย้ำถึงการเพิ่มการผลิตจำนวนมาก โดยโดรนที่ถูกนำมาทดสอบนั้น ผลิตโดยสถาบันเทคโนโลยีทางอากาศไร้คนขับ และบริษัทอื่นๆของเกาหลีเหนือ

ส่วนการทดสอบนั้นแสดงให้เห็นว่า โดรนสามารถพุ่งเข้าโจมตีเป้าหมายได้ หลังจากลองสั่งการให้บินด้วยเส้นทางและรูปแบบที่แตกต่างกัน

คิม จองอึนยังได้แสดงความพึ่งพอใจต่อโดรนรุ่นใหม่ และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องผลิตออกมาให้ได้ปริมาณมากชนิดเต็มรูปแบบ และชี้ว่า โดรนได้กลายมาเป็นอาวุธที่จำเป็น และการแข่งขันใช้โดรนก็เป็นเครื่องชี้วัดศักยภาพของกองทัพประเทศต่างๆ นอกจากนี้ คิม จองอึนยังย้ำด้วยว่า เกาหลีเหนือมีศักยภาพและความสามารถเต็มที่ที่จะผลิตและพัฒนาโดรนประเภทต่างๆ

สำหรับโดรนพลีชีพนั้นกลายมาเป็นอาวุธสำคัญที่ใช้ในสงคราม เพราะโดรนดังกล่าวสามารถโจมตีรถถังและเป้าหมายอื่นๆได้ แต่มีต้นทุนต่ำ

ด้านผู้เชี่ยวชาญออกมาแสดงความคิดเห็นว่า เกาหลีเหนืออาจจะต้องการแสดงให้เห็นว่า เกาหลีเหนือสามารถใช้โดรนเพื่อโจมตีบุคคลสำคัญของเกาหลีใต้ได้

อิสราเอลใช้โดรนการทหารก่อนเกิดสงครามกาซา

แต่สำหรับอิสราเอล การใช้เทคโนโลยีทางการทหารเกิดขึ้นมานานแล้ว ก่อนหน้าจะเกิดสงครามในกาซากับกลุ่มฮามาสด้วยซ้ำไป และเริ่มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย Drone Wars องค์กรวิจัยด้านการใช้เทคโนโลยีโดรนทางการทหาร รายงานว่า อิสราเอลเริ่มผลิตและใช้เทคโนโลยีโดรนทางการทหารตั้งแต่ปี 1970 แต่ในช่วงแรก อิสราเอลยังคงปฏิเสธ แม้จะมีหลักฐานที่ชัดเจน เช่น วิดีโอซึ่งแสดงให้เห็นว่าอิสราเอลใช้โดรนทั้งในการลาดตระเวนและการโจมตี

กองทัพอิสราเอลได้ใช้โดรนแบบควอดคอปเตอร์ที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในปฏิบัติการหลากหลายลักษณะ ทั้งการสอดแนมและเฝ้าระวัง การส่งคำสั่งอพยพ การข่มขวัญ ไปจนถึงการใช้โดรนสังหาร

Reuters, AFP, Dronewar

แชร์
ส่องสมรภูมิทั่วโลก เมื่อโดรนและเอไอกำลังเข้ามาเปลี่ยนยุทธวิธีรบ