Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ทำไมมิตรภาพยิ่งงดงามยามชรา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

ทำไมมิตรภาพยิ่งงดงามยามชรา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

16 ธ.ค. 67
13:43 น.
|
659
แชร์

หลายคนคิดว่า การที่เราชอบพบปะผู้คนใหม่ ๆ  หรือชอบใช้เวลาร่วมกับเพื่อนสนิทเพียงไม่กี่คน? เกิดจากบุคลิกภาพส่วนตัว เช่น เป็นคนชอบเข้าสังคม (extrovert) หรือชอบเก็บตัว (introvert) แต่แท้จริงแล้วยังมีปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่กำหนดความชอบทางสังคมของเรา นั่นคือ "อายุ"

มิตรภาพมีความสัมพันธ์กับสุขภาพและความยืนยาวของชีวิต

งานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า มิตรภาพมีประโยชน์ต่อทุกช่วงอายุ ไม่เพียงช่วยเพิ่มความสุข แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพและยืดอายุขัยอีกด้วย ในช่วงวัยสูงอายุ มิตรภาพกลายเป็นแหล่งความสุขและความพึงพอใจในชีวิตที่สำคัญ เพราะการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทอย่างสม่ำเสมอสามารถเพิ่มความสุขในวัยชราได้มากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว

หนึ่งในเหตุผลที่ง่ายที่สุดคือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนมักเต็มไปด้วยความสนุกสนาน และมีความตึงเครียดหรือความขัดแย้งที่น้อยกว่าในความสัมพันธ์อื่น ๆ โดยงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาชาวอเมริกันอายุ 65 ปีขึ้นไปพบว่า การพบปะกับเพื่อนเป็นอะไรที่น่ารื่นรมย์มากกว่าการพบกับสมาชิกในครอบครัวด้วยซ้ำไป

อายุยิ่งเยอะ เพื่อนยิ่งน้อย เพราะเลือกคบ

คนสูงอายุมีวิธีการเลือกและรักษาความสัมพันธ์ที่แตกต่างออกไปอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับคนหนุ่มสาว ดร.แคทเธอรีน ฟิโอรี ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอเดลฟี ในนิวยอร์ก ระบุว่า คนหนุ่มสาวมักแสวงหาการพบปะผู้คนใหม่ ๆ แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้สูงอายุเลือกที่จะลดขนาดสังคมของตนเองลงอย่างตั้งใจ

แม้ว่าการลดจำนวนความสัมพันธ์ในชีวิตจะมีข้อดีสำคัญ เช่น การลดความซับซ้อนและมุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ที่มีคุณค่า แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน

หนึ่งในข้อดีของการมีวงสังคมที่เล็กลง คือ ความสัมพันธ์ที่ยังคงเหลืออยู่หรือเลือกเฟ้นมาแล้ว จะเป็นความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพสูงและมีความหมาย ดร.แคทเธอรีนอธิบายว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้น มุมมองต่ออนาคตจะเปลี่ยนไป เพราะพวกเขารับรู้ว่ามีเวลาชีวิตเหลือน้อยลง ความสำคัญในชีวิตจึงเปลี่ยนไป โดยมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายด้านอารมณ์และความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าแทน

แนวคิดนี้เรียกว่า ทฤษฎีการเลือกสรรทางอารมณ์และสังคม (Socio-emotional Selectivity Theory) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า วัยหนุ่มสาวมักมองอนาคตว่าเปิดกว้างและมุ่งสานความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ในขณะที่ผู้สูงอายุ เน้นการใช้เวลากับคนที่รู้จักตนเองดี และลดความสัมพันธ์ที่ไม่จำเป็นออก ไปโฟกัสที่ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดขึ้น เมื่อเข้าใกล้ช่วงบั้นปลายชีวิต

งานวิจัยยังพบว่า ผู้สูงอายุยังตั้งใจที่จะลดความสัมพันธ์กับคนรู้จักที่ไม่สนิท  ซึ่งช่วยเพิ่ม "ความหนาแน่นทางอารมณ์" (Emotional Density) ในวงสังคม ซึ่งหมายถึงการสร้างกลุ่มที่เล็กลง แต่แน่นแฟ้นขึ้น

นอกจากนี้ งานวิจัยยังระบุว่า ผู้สูงอายุมักยอมให้อภัยและมองโลกในแง่ดีกับคนในวงสังคมที่เลือกไว้ เพราะพวกเขาพยายามให้คุณค่าในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ร่วมกับบุคคลเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม เราไม่จำเป็นต้องรอจนสูงอายุ ถึงจะสัมผัสกับประสบการณ์เหล่านี้ได้ มีงานวิจัยในปี 2016 พบว่า เมื่อคนหนุ่มสาวได้รับการกระตุ้นให้ตระหนักถึงความเปราะบางของชีวิตและเวลาที่เหลืออย่างจำกัดบนโลก พวกเขาก็เปลี่ยนเป้าหมายทางสังคม จากการมุ่งสร้างความสัมพันธ์ในวงกว้าง ไปสู่การโฟกัสความสัมพันธ์ที่เน้นเป็นคนๆไป

แม้ว่าการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดแบบตัวบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ แต่นักวิจัยยังแนะนำว่า การเปิดรับมิตรภาพใหม่ๆก็เป็นความคิดที่ดี ดร.แคทเธอรีนและทีมงานพบว่า การลดเครือข่ายทางสังคมมากเกินไป ก็ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ

มิตรภาพนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด

ดร.แคทเธอรีนยังบอกด้วยว่า มิตรภาพมีประโยชน์ต่อสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของคนในทุกช่วงวัย และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดที่สุดของเรามักจะมองแรงสนับสนุนทางสังคม อารมณ์ และด้านสิ่งของ แต่ยังมีประโยชน์อื่น ๆ ที่เราได้รับจากความสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น มิตรภาพอาจมอบการกระตุ้นทางปัญญาหรือให้ความสนุกสนานแก่เรา แต่ความแตกต่างที่สำคัญคือ มิตรภาพเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจ ไม่ต้องมีภาระผูกพัน และสามารถเริ่มต้นหรือสิ้นสุดได้ตลอดเวลา

ดร.อเล็กซานดรา ทอมป์สัน นักวิจัยด้านสุขภาพจิตจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลในสหราชอาณาจักร เปิดแผยว่า มิตรภาพมอบประโยชน์ที่แตกต่างจากความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วยเหตุผลหลายประการ ความสัมพันธ์ในครอบครัวอาจมีความตึงเครียด เพราะมักจะมีพื้นฐานจากภาระหน้าที่ แต่ความสัมพันธ์ของมิตรภาพคือการมีความสนใจร่วมกัน ซึ่งช่วยเพิ่มอารมณ์เชิงบวกได้

ฺฺBBC

แชร์
ทำไมมิตรภาพยิ่งงดงามยามชรา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ