สำหรับเด็กวัยเรียน คำถามยอดฮิตทั้งจากคนอื่น และจากตัวเองคือเรียนต่ออะไรดีจึงจะตอบโจทย์ชีวิต ซึ่งสำหรับคนส่วนมาก โจทย์ชีวิตที่ว่าก็คือเงิน จึงเลือกสาขาวิชาที่ทำเงินมากที่สุดเพื่อประกันว่าเรียนจบไปจะทำรายได้ได้มากพอยกระดับหรือรักษาระดับการใช้ชีวิต
สำหรับคนในไทย สาขาวิชานั้นก็น่าจะเป็นคณะแพทยศาสตร์ที่เรียนจบไปอย่างไรก็มีโอกาสทำรายได้ได้สูงแน่นอน แต่ในสหรัฐฯ สาขาวิชานั้นคือ ‘วิศวกรรมศาสตร์’ ที่สาขาย่อยแทบจะติดทุกอันดับของสาขาวิชาที่บัณฑิตเรียนจบไปแล้วมีรายได้เฉลี่ยสูงที่สุด 10 อันดับ ตามข้อมูลที่ได้จากการศึกษาของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Federal Reserve Bank
จากวิจัยดังกล่าว สาขาวิชาที่เด็กเรียนจบไปแล้ว 5 ปีมีรายได้เฉลี่ยสูงที่สุด 10 อันดับ มีดังนี้
จากรายชื่อดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ใน 10 อันดับ มีเพียง 2 อันดับเท่านั้นที่ไม่ใช่สาขาวิชาย่อยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ นั่นก็คือวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer science) และ การวิเคราะห์เชิงลึกทางธุรกิจ (ฺbusiness analytics)
ในไทยเอง บัณฑิตจากคณะวิศวกรรมที่เรียนจบไปแล้วทำงานตรงสายของตัวเองก็ทำรายได้สูงไม่แพ้กัน(ถ้าเทียบกับระดับเงินเดือนเฉลี่ยในไทย) โดยจากข้อมูลของ Adecco รายได้ของวิศวกรที่มีอายุงาน 3-7 ปี อยู่ในช่วง 18,000-150,000 บาทต่อเดือน โดยวิศวกรที่ได้เงินเดือนสูงสุดคือ วิศวกรซอฟต์แวร์ และวิศวกรข้อมูล ที่มีเงินเดือนอยู่ในช่วง 40,000-150,000 บาทต่อเดือนสำหรับอายุงาน 3-7 ปี
CEO ของบริษัทใหญ่จำนวนมากในโลกจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์
บัณฑิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ส่วนมากจะจบออกมาทำงานในสาย STEM หรือ วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (science, technology, engineering และ mathematics) ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าอาชีพในสายงานอื่นๆ อยู่แล้วเพราะต้องใช้ทักษะเฉพาะขั้นสูง ทำให้คนที่จบจากสาขาวิชาอื่นมาทำงานแทนได้ยาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งเป็นผู้มีอิทธิพลในการสร้างวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ที่เกี่ยวพันกับงานด้านวิศวกรรมหรือเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม งาน STEM ไม่ใช่สายงานเดียวที่มีบัณฑิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าไปทำงาน เพราะในปัจจุบันสายงานที่มีบัณฑิตวิศวะดำรงตำแหน่งอยู่มากไม่แพ้กันคือตำแหน่งด้านการบริหาร เช่น ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเอกชน รวมไปถึงผู้บริหารงานราชการ
โดยในรายชื่อ Forbes 400 หรือบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในสหรัฐฯ 400 อันดับ มีถึง 55 คนที่เรียนจบมาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ในระดับชั้นปริญญาตรี เป็นรองเพียงคณะบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ที่มีบัณฑิตอยู่ในลิสต์ 65 และ 58 คนตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าสูสีจนน่าแปลกใจหากพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ที่จบวิศวะไม่ได้เรียนด้านการบริหาร หรือด้านเศรษฐกิจโดยตรงมา
นอกจากนี้ ในรายชื่อผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 10 อันดับ ในปัจจุบันมีถึง 4 คนที่เป็นผู้จบการศึกษาจากคณะวิศกรรมศาสตร์ ประกอบไปด้วย
และนอกจากกลุ่มคนเหล่านี้ ผู้ที่คิดค้นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก และซีอีโอคนปัจจุบันของบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ในโลก เช่น ‘ทิม คุก’ จาก Apple, ‘สัตยา นาเดลลา’ จาก Microsoft และ ‘ซุนดาร์ พิชัย’ จาก Alphabet ล้วนแต่เป็นผู้ที่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ทั้งหมด
ในไทยเอง ผู้บริหารระดับสูงที่เรียนจบในระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ก็อย่างเช่น
ทำไมผู้ที่จบที่จากคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงเป็น CEO ได้?
นอกจากความรู้ด้านเทคนิคที่ได้ร่ำเรียนมาแล้ว สิ่งที่ให้ผู้ที่จบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์มีคุณสมบัติเหมาะเป็นผู้บริหารก็คือ soft skills ที่ได้มาจากการเรียนในสาขาวิชานี้ ไม่ว่าเป็นความละเอียดรอบคอบ ใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อย การจัดลำดับความคิดอย่างเป็นระบบระเบียบ และทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
โดยหนึ่งในซีอีโอที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกเทคโนโลยีอย่างสัตยา นาเดลลาจาก Microsoft ก็มีชื่อเสียงในด้านวิสัยทัศน์ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความเอาใจใส่ในรายละเอียด โดยในปี 2014 ที่เขาเข้ารับตำแหน่ง Microsoft กลายเป็นบริษัทล้าสมัยทีหลายๆ ผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ซึ่งเคยเป็นแหล่งรายได้หลักมีความนิยมลดลงไปจากการเข้ามาของคู่แข่งอย่าง Google และมีมูลค่าตลาดเพียง 3.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น
แต่ในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เขาก็สามารถพลิกโฉม ดึง Microsoft ขึ้นมาจากความซบเซาได้ด้วยการเน้นพัฒนาบริการ cloud computing (Azure, Dynamics 365 และ Microsoft 365) ซึ่งในปัจจุบันกลายมาเป็นแหล่งรายได้หลักของ Microsoft แทนซอฟต์แวร์ธรรมดา โดยในปัจจุบัน Microsoft มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก Apple และ Saudi Aramco
ที่มา: CNBC, Forbes (1), Forbes (2), Adecco