Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
Salad Factory, โอ้กะจู๋, Jones Salad ใครขายดีกว่ากัน?
โดย : ปาณิสรา สุทธิกาญจนวงศ์

Salad Factory, โอ้กะจู๋, Jones Salad ใครขายดีกว่ากัน?

11 ก.พ. 68
18:55 น.
|
247
แชร์

ในยุคนี้ ใครต่อใครก็หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การกินอาหารคลีน หรือการดูแลสุขภาพเชิง Wellness ป้องกันมากกว่าการรักษา ส่งผลให้เทรนด์สุขภาพโตแรง ซึ่งคาดว่าอาจะมูลค่าตลาดทั่วโลกถึง 230 ล้านล้านบาทในปี 2568

และแน่นอนว่านี่คือช่องว่างทางการตลาดที่หลายธุรกิจต่างเข้ามาหาโอกาสสร้างรายได้จากเทรนด์สุขภาพนี้ ซึ่งหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ก็คือ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ

บทความนี้ SPOTLIGHT จึงอยากพาทุกคน มาส่องธุรกิจ 3 ร้านสลัดชื่อดังในไทย ยืนหนึ่งสายเฮลตี้ อย่าง Salad Factory, โอ้กะจู๋ และ Jones Salad มาดูกันว่าร้านไหนขายดีที่สุด ?

Salad Factory

ร้านอาหารสายเฮลตี้ เน้นความใส่ใจในเรื่องของคุณภาพอาหาร เหมือนกับทำให้คนในครอบครัวตัวเองทาน ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบเกรดพรีเมียม จากแหล่งผลิตที่ตรวจสอบได้ว่าปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ผ่านการปรุงในสไตล์โฮมเมดและความสร้างสรรค์ รวมถึงน้ำสลัดที่ทางร้านทำเองจนมีเมนูเพื่อสุขภาพถึงกว่า 200 เมนู ทั้งสลัด สเต็ก สปาเก็ตตี้ ข้าว และอื่นๆ ในราคาที่เข้าถึงง่ายและมีความหลากหลาย ให้เลือกรับประทานได้ทั้งครอบครัว 

ปีที่ก่อตั้ง : 2555

จำนวนสาขา  : 44 สาขา

สโลแกน : “ได้อร่อย ได้สุขภาพ”

ตัวอย่างเมนู :

ซีซาร์สลัดและเบคอน 160 บาท

สลัดปลาแซลมอนอินเดอะการ์เด้น 375 บาท

สปาเก็ตตี้คาโบนาราเบคอน 145 บาท

ส่องผลประกอบการย้อนหลัง ของ บริษัท กรีนฟู้ด แฟคทอรี่ จำกัด 

ปี 2564

รายได้ 256 ล้านบาท

กำไร –18 ล้านบาท

ปี 2565

รายได้ 439 ล้านบาท

กำไร 7 ล้านบาท

ปี 2566

รายได้ 593 ล้านบาท

กำไร 20 ล้านบาท

รู้หรือไม่! : จากธุรกิจครอบครัว ย่านเมืองทองธานี สู่แบรนด์ในเครือ CRG (เซ็นทรัล) โดยCRG ถือหุ้น 51%

โอ้กะจู๋

ร้านอาหารสายเฮลตี้ชื่อดัง ขึ้นชื่อเรื่องสลัดจานโต  เริ่มต้นจากปลูกผักสวนครัวทั่วไป และผักสลัดบางชนิด ผลผลิตที่ได้ก็จะนำไปประกอบอาหารรับประทานกันในครอบครัว ด้วยเหตุผลที่ว่า บริษัทฯ อยากให้คนในครอบครัวมีสุขภาพดีไม่อยากให้ครอบครัวได้รับสารพิษและสารเคมีตกค้าง จึงเป็นที่มาของสโลแกน “ปลูกผักเพราะรักแม่” และนำชื่อของผู้ร่วมก่อตั้ง “อู๋กะโจ้” มาเป็นชื่อแบรนด์ “โอ้กะจู๋” และเริ่มเปิดร้านอาหารสาขาสันทรายเป็นสาขาแรกในปี 2556

ปีก่อตั้ง : 2556

จำนวนสาขา  : 41 สาขา

สโลแกน : “ปลูกผักเพราะรักแม่”

ตัวอย่างเมนู :

สลัดซีซาร์ ราคา 255 บาท

สลัดแซลมอนย่าง ราคา 355 บาท

สปาเก็ตตี้คาโบนาร่า ราคา 345 บาท

ส่องผลประกอบการย้อนหลัง ของ บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน)

ปี 2564

รายได้ 803 ล้านบาท

ขาดทุน - 83 ล้านบาท

ปี 2565

รายได้  1,215 ล้านบาท 

กำไร  38 ล้านบาท

ปี 2566

รายได้ 1,717 ล้านบาท

กำไร 141 ล้านบาท

รู้หรือไม่ ! : จากร้านอาหารเล็กๆ10 ที่นั่ง ของกลุ่มเพื่อน 3 คน สู่การเจอเพื่อนคนที่ 4 อย่าง OR เเละจับมือกันใช้นามสกุลมหาชนเข้าตลาดหุ้นในปี 2568

นอกจากนี้ โอ้กะจู๋ ยังมีแบรนด์ในเครือที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2567 แต่ได้รับการตอบรับอย่างถล่มทลาย อย่างแบรนด์ Oh! Juice สมูททีสายสุขภาพ ซึ่งตอนนี้เปิดไปแล้วกว่า 15 สาขา และแบรนด์ Ohkajhu Wrap & Roll จำนวน 1 สาขาที่ ดิ เอมสเฟียร์

Jones Salad

ร้านโจนส์สลัด ได้เปิดสาขาแรกเปิดปี 2556 เป็นร้านเล็กๆขนาด 12 ตรม. ที่ศูนย์อาหารแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ด้วยความตั้งใจที่อยากให้คนไทย “ได้กินผัก ปลอดสารพิษ วันละชาม”  อย่างไรก็ตามการทำธุรกิจในช่วงแรกก็เกิดปัญหาหลายอย่าง เราถูกบีบให้ออกจากพื้นที่ และต้องปิดกิจการร้านโจนส์สลัดสาขาแรกไปในช่วงปี 2558 แม้ว่าร้านจะถูกปิดอย่างกระทันหัน แต่ทีมงานทุกคนยังมีความฝันร่วมกันว่าอยากจะสร้างโจนส์สลัดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ด้วยภาระที่เยอะและเงินทุนที่จำกัด จึงจำเป็น "ต้องทำการตลาดแบบไม่ใช้เงิน” จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เราสร้างคาแร็กเตอร์ “ลุงโจนส์” ขึ้นมา และเกิดเป็น สื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพทางออนไลน์ (เพจ Jones Salad) โดยปัจจุบันมีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน

ปีที่ก่อตั้ง : 2556

จำนวนสาขา  : 33 สาขา

สโลแกน “อร่อยจากธรรมชาติ สัมผัสได้ทุกคำ”

ตัวอย่างเมนู :

สลัดคลาสสิกซีซาร์ 149 บาท

สลัดแซลม่อนย่าง 329 บาท

สปาเก็ตตี้ คาร์โบนาราเบคอน 189 บาท

ส่องผลประกอบการย้อนหลัง ของ บริษัท โจนส์สลัด จำกัด

ปี 2564

รายได้ 133 ล้านบาท

ขาดทุน -1 ล้านบาท

ปี 2565

รายได้ 254 ล้านบาท 

ขาดทุน -10 ล้านบาท

ปี 2566

รายได้ 355 ล้านบาท

กำไร 11 ล้านบาท

รู้หรือไม่! : ร้านเล็กๆที่เคยปิดกิจการในปี 2015 กลับมาอีกครั้งด้วยเงินทุนจำกัด เลยต้องทำ “การตลาดแบบไม่ใช่เงิน” 

ที่มา : Salad Factory, โอ้กะจู๋, Jones Salad, Creden data

แชร์
Salad Factory, โอ้กะจู๋, Jones Salad ใครขายดีกว่ากัน?