Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ถอดบทเรียน HOT POT  จาก 100 สาขา ทำไมเวลานี้เหลือแค่ 4 สาขา
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ถอดบทเรียน HOT POT  จาก 100 สาขา ทำไมเวลานี้เหลือแค่ 4 สาขา

27 ก.พ. 67
10:23 น.
|
7.1K
แชร์

ในยุคที่ธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์ดุเดือด ร้าน "HOT POT" เคยเป็นชื่อที่โด่งดังในฐานะผู้บุกเบิกชาบู-สุกี้บุฟเฟต์ ครองใจสายกินมายาวนานกว่า 10 ปี เคยมีสาขามากกว่า 100 สาขา ทว่าปัจจุบันเหลือเพียง 4 สาขา อะไรคือปัจจัยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้?

 

ถอดบทเรียน HOT POT  จาก 100 สาขา ทำไมเวลานี้เหลือแค่ 4 สาขา

ถอดบทเรียน HOT POT  จาก 100 สาขา ทำไมเวลานี้เหลือแค่ 4 สาขา

ในยุคที่ร้านอาหารบุฟเฟต์ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด หนึ่งในประเภทอาหารที่ครองใจคนไทยมาเนิ่นนานคงหนีไม่พ้น "ชาบู-สุกี้" ร้านชาบู "Hot Pot" นั้นเคยเป็นเจ้าตำนานบุฟเฟต์ที่โด่งดังในอดีต หลายคนคุ้นเคยกับชื่อนี้เป็นอย่างดี ด้วยความที่เปิดมานานกว่า 10 ปี Hot Pot ถือเป็นหนึ่งในร้านแรกๆ ที่ริเริ่มเสิร์ฟชาบูแบบบุฟเฟต์ จนกลายเป็นที่ชื่นชอบของเหล่านักชิมต่างชื่นชอบ แบบไม่ว่าจะไปห้างไหนก็ต้องเจอ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน Hot Pot กลับเสื่อมความนิยมลง เหลือสาขาในไทยเพียง 4 แห่งเท่านั้น  โดยในกรุงเทพฯ เหลืออยู่ที่ ซีคอน บางแค ส่วนอีก 3 สาขาอยู่ในต่างจังหวัด ประกอบด้วย เซ็นทรัล อุดรธานี, เซ็นทรัล อุบลราชธานี และ เดอะมอลล์ โคราช  แต่อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ Hot Pot สูญเสียความนิยม?

 

กว่าจะมาเป็น HOT POT BUFFET 

ถอดบทเรียน HOT POT  จาก 100 สาขา ทำไมเวลานี้เหลือแค่ 4 สาขา

ก่อนจะมาเป็นร้าน  HOT POT บุฟเฟต์ ร้านเมีจุดกำเนิดที่จังหวัดฉะเชิงเทรามาก่อน ชื่อว่า “โคคาเฟรช สุกี้”  จนในปี 2544 ได้เปลี่ยนชื่อร้านเป็น “ฮอท พอท สุกี้ ชาบู เรสโตรองต์” ขายเป็นแบบ A La Carte จนปี 2547 ได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารการจัดการใหม่ โดยการก่อตั้งบริษัท ฮอท พอท จำกัด ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เจซีเค ฮอสพิทอลลีตี้ จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นศูนย์รวมในการบริหารงานและบริหารจัดการร้านสาขาทั้งหมด และในเดือนตุลาคม 2547 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 40 ล้านบาท เป็น 56 ล้านบาท เพื่อรับโอนสินทรัพย์ของสาขาต่างๆ จากกลุ่มบริษัทเดิมเข้าเป็นสินทรัพย์ของบริษัท

และหลังจากนั้นปี 2548 บริษัทได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้วยการรุกตลาดร้านอาหารประเภทสุกี้ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่  โดยการเปิดร้านบุฟเฟ่ต์อาหารนานาชาติที่เน้นอาหารประเภทสุกี้ ชาบูเป็นหลัก ที่สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 2 เป็นแห่งแรกในเดือนพฤษภาคม 2548 ในรูปแบบร้าน "ฮอท พอท อินเตอร์ บุฟเฟ่ต์"   ส่งผลให้ธุรกิจของบริษัทประสบความสำเร็จสามารถเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทได้อย่างดี ลูกค้าให้การยอมรับและรู้จักแบรนด์ ฮอท พอท มากขึ้น   โดยบริษัทได้ตัดสินใจขยายธุรกิจไปในแนว "บุฟเฟ่ต์" อิ่มได้ไม่อั้น All You Can Eat และได้ทยอยปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านอาหารจากร้านสุกี้ ชาบูตามสั่งหรือแบบ A La Carte มาเป็นแบบบุฟเฟ่ต์เกือบทั้งหมด ไม่นานก็ได้ขยายสาขา ไปเปิดในห้างตามจังหวัดต่างๆ 

หลังจากสร้างปรากฏการณ์ความสำเร็จถล่มทลาย กวาดรายได้และกำไรมหาศาล บริษัท ฮอท พอท จำกัด (มหาชน) ไม่ได้หยุดนิ่ง ยังคงเดินหน้าขยายอาณาจักรร้านอาหารด้วยการเข้าซื้อกิจการ "ไดโดมอน" ร้านบุฟเฟต์ปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นในปี 2554 ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ mai ในปีถัดมา ปี 2555 HOT POT ยืนหยัดบนจุดสูงสุดด้วยจำนวนสาขามากถึง 117 สาขา กวาดรายได้ 1,908 ล้านบาท และกำไร 23 ล้านบาท ภาพความคึกคักของลูกค้าที่รอคิวนานเป็นเครื่องยืนยันความนิยมที่ถล่มทลาย แต่แล้ววันเวลาผันเปลี่ยน กระแสความนิยมเริ่มเปลี่ยนแปลง HOT POT เผชิญความท้าทายที่มากขึ้นเรื่อย ๆ คู่แข่งหน้าใหม่ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ต่างทยอยเข้าสู่ตลาด แย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด

อะไรทำให้ HOT POT BUFFET ความนิยมลดลง

ถอดบทเรียน HOT POT  จาก 100 สาขา ทำไมเวลานี้เหลือแค่ 4 สาขา

ในยุคที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากมาย การแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะตลาดชาบู-สุกี้ ที่เต็มไปด้วยคู่แข่งหน้าใหม่ที่เน้นความคุ้มค่า คุณภาพ และบรรยากาศที่เข้าถึงง่าย กลายเป็น "ฝันร้าย" ของ HOT POT BUFFET อดีตเจ้าตลาดที่เคยมีสาขากว่า 117 แห่ง แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 4 สาขาเท่านั้น อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ HOT POT BUFFET ต้องเผชิญชะตากรรมเช่นนี้?

  • การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงในตลาดชาบู ตลาดชาบูในประเทศไทยมีการแข่งขันสูง ร้านอาหารประเภทสุกี้ ชาบู ระดับกลาง เน้นความคุ้มค่าและคุณภาพที่โอเค ผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้น
  • ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19  ส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารอย่างกว้างขวาง HOT POT BUFFET เองก็ต้องปรับตัว หันมาขายออนไลน์ แต่ด้วยสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ ส่งผลต่อรายได้และต้นทุน
  • กระแสความนิยมของชาบูหม่าล่า เนื่องจากชาบูหม่าล่า กำลังเป็นที่นิยม ผู้บริโภคให้ความสนใจ ร้านหม่าล่าเปิดใหม่จำนวนมาก เฉลี่ยวันละ 1 ร้าน และจากข้อมูลของ บริษัท ดาต้าเซ็ตพบว่า มีคนพูดถึงหม่าล่ามากถึง 315,561 ครั้งต่อวัน
  • กลยุทธ์การโปรโมทและการตลาดในยุคที่การแข่งขันสูง การโปรโมท การตลาด การจับกระแสเทรนด์ และการใช้ช่องทางออนไลน์เข้าถึงลูกค้า เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และ HOT POT BUFFET อาจมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่ไม่แข็งแกร่งพอ
  • เน้นความคุ้มค่า ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ร้านสุกี้-ชาบูระดับกลางที่เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค เน้นความคุ้มค่า บรรยากาศสบายๆ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ กลายเป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดใจมากกว่า
  • กระแสบอกต่อ และบทวิจารณ์ ในยุคดิจิทัล กระแสบอกต่อและบทวิจารณ์ในโลกออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคอย่างมาก HOT POT BUFFET อาจไม่สามารถควบคุมภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ได้ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและความน่าสนใจของแบรนด์ต่อผู้บริโภคลดลง

 

ผลประกอบการ 5 ปีที่ผ่านมาขาดทุนมาตลอด

จากความนิยมของ HOT POT ที่ลดลงก็เป็นเรื่องปกติที่ บริษัท เจซีเค ฮอสพิทอลลิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ JCKH ต้องมีการปิดสาขาที่ไม่ทำกำไรไปหลายแห่ง เนื่องจากหลายสาขาตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ที่มีต้นทุนคงที่ อย่างเช่น ค่าเช่าที่ ที่ค่อนข้างสูง ด้านผลประกอบการของ บริษัท เจซีเค ฮอสพิทอลลิตี้ จำกัด (มหาชน)  

  • ปี 2562 รายได้ 1,397 ล้านบาท ขาดทุน 158 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 701 ล้านบาท ขาดทุน 142 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 444 ล้านบาท ขาดทุน 340 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 544 ล้านบาท ขาดทุน 228 ล้านบาท
  • ปี 2566 (งบ 9 เดือน) รายได้ 324 ล้านบาท ขาดทุน 66 ล้านบาท

ถ้าเราไปดูผลประกอบการของ JCKH ก็จะเห็นว่า เจอปัญหาขาดทุนติดต่อกันมาหลายปี ต่อจากนี้ก็ต้องมารอดูกันว่าทางแบรนด์จะมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง อนาคตของ HOT POT BUFFET ยังคงเป็นเครื่องหมายคำถาม การกลับมาทวงคืนบัลลังก์ในตลาดสุกี้-ชาบูอาจเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ บทเรียนราคาแพงครั้งนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ

แชร์

ถอดบทเรียน HOT POT  จาก 100 สาขา ทำไมเวลานี้เหลือแค่ 4 สาขา