Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
รู้จัก ‘DrugGPT’  เครื่องมือ AI ที่ช่วยแพทย์ สั่งยาในอังกฤษได้
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

รู้จัก ‘DrugGPT’ เครื่องมือ AI ที่ช่วยแพทย์ สั่งยาในอังกฤษได้

6 เม.ย. 67
16:10 น.
|
466
แชร์

ในแต่ละปี มีข้อผิดพลาดในการใช้ยาประมาณ 237 ล้านครั้งในอังกฤษ ซึ่งสร้างความเสียหายจำนวนมาก โดยตีเป็นมูลค่ากว่า 98 ล้านปอนด์ หรือสูงถึง 4,523 ล้านบาท และมีผู้คนเสียชีวิตมากกว่า 1,700 ราย จากการสั่งยาที่พลาดของแพทย์ และความไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดในการใช้ยาของผู้ป่วย

นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยที่ไม่รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ ส่งผลให้มูลค่าความเสียหายสูงถึง 300 ล้านปอนด์ต่อปี หรือประมาณ 13,846 ล้านบาทเลยทีเดียว

จากปัญหานี้ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดได้พัฒนา ‘DrugGPT’ เครื่องมือ AI ที่ให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยแก่แพทย์เมื่อสั่งยา และให้รายละเอียดกับผู้ป่วยเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการใช้ยา ซึ่งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่นๆ ที่สั่งจ่ายยาจะได้รับความเห็นที่สอง หรือ second opinion ทันที โดยการป้อนอาการของผู้ป่วยลงในแชทบอท ซึ่งจะได้รับรายการยาที่แนะนำ ผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ และปฏิกิริยาของตัวยาเมื่อรับประทายไปแล้ว

ศาสตราจารย์ David Clifton เผยว่า จุดแข็งของ DrugGPT คือ เมื่อพิมพ์คำถามลงแชทบอท มันสามารถอธิบายได้ว่า ‘ทำไม’ โดยการแสดงคำแนะนำ การวิจัย โฟลว์ชาร์ต ข้อมูลอ้างอิง และเหตุผลที่แนะนำยาตัวนั้นๆ โดยเฉพาะ

ที่ผ่านมา แพทย์บางคนใช้แชทบอท AI อย่าง ChatGPT และ Gemini เพื่อตรวจสอบการวินิจฉัยและเขียนบันทึกทางการแพทย์อยู่แล้ว แต่สมาคมการแพทย์ระหว่างประเทศได้แนะนำแพทย์ไม่ให้ใช้แชทบอท เพราะความเสี่ยงที่แชทบอทจะให้ข้อมูลเท็จ

แต่ Clifton และทีมวิจัยของเขากล่าวว่า DrugGPT มีประสิทธิภาพเท่ากับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ พิสูจน์จากการสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา เพราะฉะนั้น ความสามารถของมันสามารถเทียบเท่ากับแพทย์ได้ และนอกจากนี้ รายการยามีการอัปเดตเป็นพันกว่าชนิดในทุกปี ซึ่งยากมากสำหรับแพทย์ที่จะสามารถรู้ได้ทั้งหมด

เขายังย้ำด้วยว่า DrugGPT เป็นเพียงแค่ ‘คำแนะนำ’ เท่านั้น และเอาไว้ให้แพทย์สามารถนำมาเปรียบเทียบกับคำแนะนำของตน

ทางด้าน Dr. Lucy Mackillop ที่ปรึกษาแพทย์สูตินรีเวชของมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด กล่าวว่า ข้อดีของ DrugGPT คือ ช่วยให้แพทย์ที่มีงานล้นมือมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาที่พวกเขาสั่งจ่าย โดยเฉพาะเวลาหารือเรื่องยากับผู้ป่วย พวกเขามีแนวโน้มที่จะเข้าใจและปฏิบัติตามยาได้มากขึ้น ซึ่งยาก็มีแนวโน้มที่จะออกฤทธิ์และทำงานได้ตามที่ตั้งใจไว้

ส่วน Dr. Michael Mulholland รองประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป กล่าวว่า แพทย์ก็คือมนุษย์คนหนึ่ง ที่บางทีอาจมีข้อผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแพทย์ต้องทำงานภายใต้ภาระงานที่หนัก และความกดดันด้านบุคลากร และยิ่งในกรณีของผู้ป่วยที่รับประทานยาจำนวนมากในคราวเดียว เนื่องจากยาอาจมีปฏิกิริยาโต้ตอบกันหลายวิธี

สิ่งที่ทุกคนควรตระหนัก ก็คือ ต้องแน่ใจว่าเครื่องมือและระบบมีความแข็งแกร่ง และการใช้งานนั้นได้รับการทดสอบก่อนที่จะเปิดตัวในวงกว้าง เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่คาดคิดและไม่ได้ตั้งใจ อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว วิธีแก้ปัญหาระยะยาวที่มีประสิทธิผลมากที่สุดในการดูแลผู้ป่วยอย่างปลอดภัยก็คือการทำให้แน่ใจว่าสถานพยาบาลทั่วไปได้รับเงินทุนเพียงพอ มีเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่นๆ เพียงพอที่ทำงานในระดับที่ปลอดภัย

สรุปแล้ว DrugGPT แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในวงการแพทย์ ทั้งในการค้นหาข้อผิดพลาดในการใช้ยา ให้ข้อมูลเชิงลึกและคำแนะนำเชิงลึกในการใช้ยา และปรับปรุงความปลอดภัยของผู้ป่วย ในขณะที่เทคโนโลยียังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การทำงานร่วมกันระหว่างความเชี่ยวชาญของมนุษย์และความสามารถของ AI ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวที่น่าจับตามองในวงการแพทย์

ที่มา The Guardian, Digital Health Global

แชร์

รู้จัก ‘DrugGPT’  เครื่องมือ AI ที่ช่วยแพทย์ สั่งยาในอังกฤษได้