ทุเรียน ราชาผลไม้ของไทย กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่จากเวียดนาม เพื่อนบ้านที่ผันตัวมาเป็นคู่แข่งคนสำคัญในตลาดส่งออกทุเรียนไปจีน บทความนี้จะพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงปัจจัยที่ทำให้เวียดนามกลายเป็นผู้เล่นหลักในตลาดทุเรียน สาเหตุที่ทำให้ไทยเสียแชมป์ส่งออกทุเรียนไปจีน กลยุทธ์ที่ไทยควรใช้เพื่อรักษาแชมป์ และอนาคตของตลาดทุเรียนโลก
รู้หรือไม่ เวียดนาม เคยเป็นประเทศที่ผลิตกาแฟมากเป็นอันดับสองของโลก โดยเฉพาะกาแฟพันธุ์โรบัสต้า แต่ตอนนี้ ทำไมเหล่าเกษตรกรหลายคนหันไปปลูกทุเรียนแทน จากรายงานของทาง Nikkeiasia ที่ได้ไปสัมภาษณ์ เหงียน เฮือง ซาง เจ้าของร้าน Cafe Giang ร้านกาแฟในย่านเมืองเก่าของกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 1946 นี้มีชื่อเสียงด้าน "กาแฟไข่" ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อของเมืองที่ทำจากกาแฟโรบัสต้าและไข่ขาวตีฟู ถึงเหตุผลที่ทำไม ชาวไร่เวียดนาม ในเวลานี้ถึงได้ แห่ปลูกทุเรียนกันมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่า "ต้นทุนวัตถุดิบ อย่างกาแฟและไข่ ที่เพิ่มสูงขึ้นสร้างความยากลำบากให้กับทางร้าน และเราไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้อย่างง่ายดาย เพราะเรายังคำนึงถึงลูกค้าประจำที่อุดหนุนเรามาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยคุณปู่ ผู้ก่อตั้งร้าน" คุณซางกล่าวเสริม ปัจจุบันทางร้านได้ขยายรูปแบบการให้บริการโดยเพิ่มเมนูขนมอบและจำหน่ายเมล็ดกาแฟคั่วบดเพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริม
อย่างไรก็ตาม ทางร้านยืนยันว่าจะยังคงจำหน่ายกาแฟไข่ในราคาแก้วละ 35,000 ดอง (ประมาณ 46 บาท) ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่ากาแฟ Starbucks ที่มีสาขามากมายในกรุงฮานอยราวครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ ในช่วงปลายเดือนเมษายน ราคาซื้อขายล่วงหน้าของกาแฟโรบัสต้าในตลาดลอนดอนได้พุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ที่ระดับสูงกว่า 4,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และถึงแม้ว่าราคาจะมีการปรับตัวลดลงมาบ้างในช่วงหลัง แต่ก็ยังคงสูงกว่าช่วงปลายปีที่แล้วมาก
จาก ราคาเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย นอกจากนี้ทาง ยุโรปและอเมริกา เริ่มเปลี่ยนจากการใช้กาแฟพันธุ์อาราบิก้า (ซึ่งมีราคาแพงและมักจะปลูกในอเมริกากลางและใต้) มาเป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่ราคาถูกกว่า
ด้านค่าขนส่งและค่าน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ อีกปัจจัยคือการที่คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนดื่มกาแฟมากขึ้น ในช่วงปี 2565 - 2566 คนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกดื่มกาแฟถึง 44.5 ล้านกระสอบ หรือคิดเป็นหนึ่งในสี่ของการบริโภคกาแฟทั้งโลก ปริมาณกาแฟที่คนในภูมิภาคนี้ดื่มเพิ่มขึ้น 12% ในช่วงเวลาสี่ปี ขณะที่การบริโภคกาแฟทั้งโลกเพิ่มขึ้นแค่ 1% เท่านั้น
สำหรับประเทศ เวียดนาม เราจะเห็นคนทุกเพศทุกวัยนั่งดื่มกาแฟตามข้างทางได้ตลอดเวลา จริงๆ แล้วเวียดนามปลูกกาแฟตั้งแต่สมัยที่ฝรั่งเศสปกครองในศตวรรษที่ 19 แต่กาแฟเพิ่งมาเป็นที่นิยมในช่วงทศวรรษ 1980 หลังจากที่เศรษฐกิจของเวียดนามเริ่มพัฒนาขึ้น เมื่อก่อนนั้น ประเทศผู้ผลิตกาแฟในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะดื่มแต่กาแฟคุณภาพต่ำที่ไม่เหมาะสำหรับการส่งออก แต่เดี๋ยวนี้ที่ร้านกาแฟต่างๆ เช่น Starbucks เริ่มเปิดสาขา คนในภูมิภาคนี้เลยเริ่มดื่มกาแฟคุณภาพสูงมากขึ้น
จากเหตุการเมล็ดกาแฟในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ เกษตรกรหลายคนหันไปปลูกทุเรียนแทน ทุเรียนมีชื่อเล่นว่า "ราชาแห่งผลไม้" และเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีน ในปี 2023 เวียดนามส่งออกทุเรียนไปจีนมากกว่าสองพันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าจากปีก่อน และน่าจะส่งออกไปจีนได้มากขึ้นอีกในปีนี้ การเปลี่ยนมาปลูกทุเรียนทำให้พื้นที่ปลูกกาแฟลดลง และส่งผลให้ผลผลิตกาแฟน้อยลง ต้นกาแฟจะโตได้ดีในเขตร้อน แต่การต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้หาพื้นที่ปลูกกาแฟได้ยากขึ้น อีกเหตุผลที่ทำให้กาแฟออกสู่ตลาดน้อยลง ก็คือสภาพอากาศแบบเอลนีโญ ที่ทำให้เกิดภัยแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2565-2566 เวียดนามผลิตกาแฟได้ 29.2 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 60 กิโลกรัม) ปริมาณนี้ลดลงจากปีก่อนถึง 9.8% ตามรายงานขององค์การกาแฟโลก "ตอนนี้อากาศร้อนมาก แล้วน้ำก็ไม่พอ ต้นกาแฟเลยไม่โต" คุณ Ngoc คนขายเมล็ดกาแฟในโฮจิมินห์ซิตี้กล่าว เธอมีสัญญากับสวนกาแฟในจังหวัด ดั๊กนง แต่เนื่องจากต้นกาแฟกำลังจะตายเพราะภัยแล้งที่ยาวนานในเวลานี้
ล่าสุดเวียดนามกำลังก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นคนสำคัญในตลาดทุเรียนโลก ด้วยจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีการเปิดเผยว่า เวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน 422 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมีโรงงานบรรจุภัณฑ์ทุเรียนสดอีก 153 แห่ง ที่พร้อมรองรับการผลิตและส่งออกทุเรียนไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นตลาดทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ประเทศจีน นำเข้า ทุเรียนสด จำนวนรวมทั้งสิ้น 53.110 ตันในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2567 นี้ คิดเป็นมูลค่า 283.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.4% ในด้านปริมาณ แต่มูลค่าลดลง 0.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (2566) ทั้งนี้ เวียดนาม แซงหน้า ไทย ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ใน การส่งออกทุเรียนไปจีน ด้วยปริมาณ 32.750 ตัน มูลค่า 161 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.4 เท่าทั้งปริมาณและมูลค่าเมื่อเทียบกับปีก่อนช่วงเดียวกันของปี2566 ส่วนแบ่งตลาด หรือ มาร์เก็ตแชร์ ของทุเรียนเวียดนามในจีน คำนวณโดยมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็น 57% ในปีนี้ จากเดิม 32% ในปี 2566 ขณะเดียวกัน ข่าวระบุว่า ประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปยังจีนเป็นอันดับ 2 รองจากเวียดนาม โดยมีปริมาณ 19.016 ตัน มูลค่า 120.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 50.3% ในแง่ปริมาณ และ 45.2% ในแง่มูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ข้อได้เปรียบสำคัญของทุเรียนเวียดนาม ก็คือเวียดนามมีผลผลิตทุเรียนที่อุดมสมบูรณ์ สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลที่ทุเรียนไทยไม่มีออกมา ทำให้ทุเรียนเวียดนามไร้คู่แข่งขัน นอกจากนี้ อีกข้อได้เปรียบคือ ความใกล้ตลาด ทุเรียนเวียดนามเมื่อส่งออกไปยังประเทศจีน สามารถขนส่งได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งราคาก็สามารถแข่งขันได้
ปัจจุบันเวียดนามได้รับอนุญาตให้ส่งออกเพียงทุเรียนสดไปยังจีน ในขณะที่ไทยได้รับอนุญาตให้ส่งออกทุเรียนสด ทุเรียนสดแช่แข็ง และทุเรียนสดแปรรูปไปยังจีนได้ ซึ่งในอนาคต หากจีนอนุญาตให้เวียดนามส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปยังจีนได้ยอดส่งออกโดยรวมก็จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน สถานการณ์นี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเวียดนามที่จะท้าทายบัลลังก์ "ราชาทุเรียน" จากไทย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ของไทยจึงส่งสัญญาณเตือนไปยังผู้ส่งออกทุเรียนและหน่วยงานภาครัฐ
รัฐบาลพร้อมสนับสนุนการส่งออกทุเรียน เพื่อให้ทุเรียนไทยขยายตัวต่อเนื่อง โดยปัจจุบันทุเรียนเกรดส่งออกมีราคาเฉลี่ยกิโลละ 160 บาท โดยผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออก ซึ่งคิดเป็นมากกว่า 50% ของผลผลิตทุเรียนไทยทั้งหมด โดยเฉพาะพันธุ์ชะนีและพันธุ์ก้านยาว กำลังทยอยออกสู่ตลาด ข้อมูลจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ราคาทุเรียนไทยในภาคตะวันออกมีดังนี้
สำหรับตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนที่เป็นตลาดหลัก ล่าสุดพบว่าราคาเฉลี่ยทุเรียนไทยในตลาดค้าส่งผักและผลไม้เจียงหนาน นครกว่างโจว ช่วงวันที่ 1 - 30 เมษายน 2567 อยู่ที่ 52.83 หยวนต่อกิโลกรัม ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 9.33% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ที่เคยมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 48.32 หยวนต่อกิโลกรัม ด้านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ได้หารือและเจรจากับทางจีนอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งผลไม้จากไทยโดยตรงไปยังแต่ละมณฑลของจีน ผ่านเส้นทางส่งออกสินค้าทางบก เช่น การขยายเวลาทำการของด่าน การเพิ่มช่องทางเข้า – ออกของรถบรรทุก การเพิ่มตู้คอนเทนเนอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 นี้ ซึ่งเป็นฤดูผลไม้ของไทย โดยปัจจุบันมีด่านทางบกที่กำหนดให้เป็นจุดนำเข้า - ส่งออกผลไม้ระหว่างไทยและจีน จำนวนทั้งสิ้น 16 ด่าน ได้แก่
ด่านฝั่งไทย จำนวน 6 ด่าน ได้แก่ ด่านเชียงของ ด่านบึงกาฬ ด่านนครพนม ด่านมุกดาหาร ด่านจันทบุรี และด่านหนองคาย
ด่านฝั่งจีน จำนวน 10 ด่าน ประกอบด้วย ด่านในมณฑลยูนนาน 5 ด่าน ได้แก่ ด่านโม่ฮาน ด่านรถไฟโม่ฮาน ด่านรถไฟเหอโขว่ ด่านเหอโข่ว และด่านเทียนเป่า และ ด่านในเขตกว่างซีจ้วง จำนวน 5 ด่าน ได้แก่ ด่านโหย่วอี้กวน ด่านตงซิง ด่านรถไฟผิงเสียง ด่านหลงปัง และด่านสุ่ยโข่ว
ถึงแม้ ทุเรียนไทย ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติหอมหวาน เนื้อเนียนละมุน ครองใจผู้บริโภคทั่วโลก แต่ปัจจุบันตลาดทุเรียนมีการแข่งขันสูงขึ้น หลายประเทศต่างก็หันมาปลูกทุเรียนกันมากขึ้น แล้วไทยจะรักษาแชมป์ทุเรียนโลกเอาไว้ได้อย่างไร?
นอกจากนี้ เหล่า เกษตรกร ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย ควรร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี ประสบการณ์ ร่วมพัฒนาทุเรียนไทย เพราะ ทุเรียนไทยนั้นมีศักยภาพสูง ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ หากไทยมุ่งมั่นพัฒนา ยกระดับ รักษาคุณภาพ เชื่อว่าทุเรียนไทยจะครองใจผู้บริโภคทั่วโลกและรักษาตำแหน่ง "ราชาทุเรียน" ไว้ได้อย่างภาคภูมิใจ
ตลาดทุเรียนโลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว ต่างก็หันมาปลูกทุเรียนกันมากขึ้น การแข่งขันในตลาดทุเรียนจึงทวีความรุนแรงขึ้น ประเทศใดที่สามารถพัฒนาและยกระดับทุเรียนของตนได้ ประเทศนั้นย่อมมีโอกาสคว้าชัยชนะในตลาดทุเรียนโลก
สุดท้ายนี้ เวียดนามกำลังท้าทายบัลลังก์ "ราชาทุเรียน" ของไทย ผู้ส่งออกทุเรียนและหน่วยงานภาครัฐของไทยจำเป็นต้องเร่งปรับกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกและรักษาส่วนแบ่งตลาดทุเรียนในจีนเอาไว้ อนาคตของตลาดทุเรียนนั้นสดใส แต่การแข่งขันก็เข้มข้นขึ้น ประเทศใดที่สามารถพัฒนาและยกระดับทุเรียนของตนได้ ประเทศนั้นย่อมมีโอกาสคว้าชัยชนะในตลาดทุเรียนโลก
ที่มา Nikkeiasia, กรมประชาสัมพันธ์ และ thaigov