ย้อนรอยไปเมื่อปี 2021 ที่ Xiaomi ได้เปิดตัวโลโก้และ CI (เอกลักษณ์องค์กร) ใหม่ ซึ่งใช้เวลานานถึง 3 ปีในการออกแบบ และยังมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 300,000 ดอลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 10 ล้านบาท
แต่กลับสร้างเสียงฮือฮาเป็นอย่างมาก เพราะถ้าดูผ่านๆ จะรู้สึกว่า แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นอกจากรูปทรงจากสี่เหลี่ยมจัตุรัส กลายเป็นสี่เหลี่ยมที่มีความกลมขึ้นเท่านั้น ส่วนสีส้มกับตัวอักษร MI พื้นขาวก็คงอยู่เหมือนเดิม
แม้กระทั่ง Lei Jun ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Xiaomi ยังถามผู้ชมภายในงานเปิดตัวเลยว่า “คุณผิดหวังกับโลโก้นี้หรือไม่? เราแค่เปลี่ยนโลโก้ให้กลมขึ้นแค่นั้น” และเขาได้เสริมอีกว่า "ครั้งนี้ ดีไซเนอร์บอกกับผมว่า เขาไม่แค่เปลี่ยนรูปทรงจากสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นทรงกลมเท่านั้น เพราะจิตวิญญาณภายในและความคิดของแบรนด์จะเปลี่ยนไปด้วย"
โดยการเปลี่ยนแปลงที่เขากล่าวถึง คือ คอนเซ็ปท์ ‘Alive’ หรือมีชีวิตนั่นเอง เพราะโลโก้ใหม่มีการปรับให้เข้ากับเนื้อหา และจัดอยู่ในตําแหน่งที่เหมาะสมที่สุด รวมทั้ง โอบรับความคิดเชิงปรัชญามากขึ้น ด้วยการปรับไดนามิกรูปทรงโลโกระหว่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสและวงกลม
เนื่องจากวงกลมเป็นรูปร่างที่ agile มากขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนความยืดหยุ่น ความไม่หยุดยั้ง และเจตจํานงที่จะก้าวไปข้างหน้าของ Xiaomi เมื่อนำมาเทียบกับวัตถุที่มีทรงเหลี่ยม โดยการออกแบบได้ใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ n= 3 จากการพัฒนารูปทรงมากถึง 24 รูปทรง เพื่อออกแบบได้สมดุลแบบไดนามิกที่เหมาะสมที่สุดทางสายตา
ในขณะที่ CI ของ Xiaomi ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยเฉพาะวิธีการใช้ CI ใหม่ ที่กำหนดการใช้งานในแต่ละสินค้า วัสดุอุปกรณ์ พื้นผิว การแสดงผล และตำแหน่งการว่างที่ชัดเจนอย่างมาก ซึ่งได้มีการทำการวิจัยตลาดอยู่เบื้องหลังมากมาย
โดยภายใต้การรีแบรนด์ด้วยคอนเซ็ปท์ Alive เป็นการร่วมกับนักออกแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง Kenya Hara หรือนักออกแบบกราฟิกและนักเขียนชื่อดัง ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำกับศิลป์ที่ MUJI ด้วย
โดย Hara อธิบายว่า จากการทดลองกับเส้นโค้งของการพิมพ์ ทีมงานได้แบบอักษรที่สมบูรณ์แบบที่ซิงค์กับโครงร่างโลโก้มาร์ค (โลโก้นามธรรม) และออกแบบโลโก้ตัวอักษรใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เข้ากับรูปลักษณ์ใหม่ ซึ่งการใช้โลโก้มาร์คและโลโก้ตัวอักษรแยกกัน เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด โดยโลโก้มาร์คใช้เมื่อโปรโมตแบรนด์และบริการ ส่วนโลโก้ตัวอักษรจะดูดีที่สุดบนอุปกรณ์ความละเอียดสูงของ Xiaomi
แนวคิด Alive จีงเป็นการตอบสนองของ Xiaomi ต่อยุคของการเชื่อมต่อระหว่างกันอัจฉริยะ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนํานวัตกรรมมาสู่โลกมากขึ้น และเติบโตไปพร้อมกับผู้ใช้ แม้ว่าภายนอกของโลโก้อาจไม่เหมือนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แต่แนวคิด Alive เป็นการตีความปรัชญาของ Xiaomi ทําให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา
"ผู้คนมีชีวิต – เทคโนโลยีถูกสร้างขึ้นโดยผู้คน – เทคโนโลยีจึงยังมีชีวิตอยู่เช่นกัน เทคโนโลยีจะตอบสนองความต้องการของชีวิตเสมอ"
สุดท้ายนี้ จากของ Xiaomi เห็นได้ชัดว่า การเปลี่ยนโลโก้และ CI ของแบรนด์ ไม่ใช่เพียงการทำโลโก้ให้ดูใหม่เอี่ยม แต่ยังต้องร่วมถึงจิตวิญญาณและจุดมุ่งหมาย ที่สร้างเอกลักษณ์ บ่งบอกความเป็นตัวตนของแบรนด์ละองค์กรได้อย่างดี จึงทำให้งบประมาณการลงทุน มีมูลค่าสูงพอสมควร
ที่มา Marketing Interactive, VICE