หากเราถามอาชีพในฝันของเด็กรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ Gen Z ‘อินฟลูเอนเซอร์ ครีเอเตอร์ ยูทูบเบอร์ นักแคสเกม’ คงจะเป็น คำตอบยอดฮิต และอาจไม่ใช่ หมอ ครู ตำรวจ ทหาร อีกต่อไป
อินฟลูเอนเซอร์ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลกับคนหมู่มากบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะมีการทำคอนเทนต์รีวิวบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น Blog, Instagram, Facebook, YouTube และ TikTok แล้วมีคนสนใจติดตาม ยิ่งมีผู้ติดตามมากก็ยิ่งมีอิทธิพลมาก โดยส่วนมากแล้ว อินฟลูเอนเซอร์ มักจะรีวิวสินค้า, สิ่งของ หรือ สถานที่ต่างๆที่อยู่ในชีวิตประจำวันพวกเขา ทำให้ผู้ติดตามรู้สึกถึงความใกล้ชิดและจริงใจกว่าสื่อโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ ในรูปแบบเดิม จนทำให้แบรนด์ต่างๆหันมาใช้ อินฟลูเอนเซอร์ ในการโปรโมทสินค้าต่างๆแทนสื่อโฆษณา แบบเดิมๆ
บทความนี้ SPOTLIGHT ได้สรุปสาระสำคัญการเสวนา “Influencer Trends 2025” โดย คุณสุวิตา จรัญวงศ์ CEO & Co-founder of Tellscore Co., Ltd.จากงาน Creative Talk Conference 2024
ปัจจุบันประเทศไทยมีอินฟลูเอนเซอร์ – ครีเอเตอร์กว่า 9 ล้านคน (รวมทุกแพลตฟอร์ม) ความน่าสนใจอยู่ที่เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ทุกคนต่างไม่ได้ใช้แค่แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งในการสนทนากับผู้ติดตาม และเกือบทุกคนได้ผันตัวสร้างรายได้จากช่องทางอื่นๆเช่นกัน (Omni-Channel)
-
Content ผลิตคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ
-
Commerce สร้างรายได้ที่มาจากการขายสินค้า
-
Community พบว่ามีครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์มีการจัดกิจกรรม Fan Meet, Talk Show หรือคอนเสิร์ต กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางทำรายได้จากการขายบัตร เป็นการยกฐานแฟนคลับออกจากโลกออนไลน์ ไปเจอตัวจริงที่โลก Physical
เปิดโมเดลหารายได้ของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์
- รายได้มาจากแบรนด์, เอเจนซี (Pay per content): เช่น ทำคอนเทนต์รีวิว
- รายได้มาจาก Commission (Affiliate Marketing): เช่น โปรโมท หรือรีวิวและติดตะกร้าสินค้า, ไลฟ์ขายของ จะได้เป็นค่า Commission จากยอดขายสินค้าตามข้อตกลงกับแบรนด์
- รายได้มาจากลิขสิทธิ์คอนเทนต์ และการขายคอนเทนต์ให้กับแบรนด์สินค้า, เอเจนซี (Content Rights & Content Pay Out): มีทั้งรูปแบบคอนเทนต์ครีเอเตอร์ปรากฏในช่องทางอื่น ก็จะได้ค่าลิขสิทธิ์คอนเทนต์นั้นๆ และรูปแบบแบรนด์/เอเจนซี ซื้อขาดคอนเทนต์นั้นไปเลย
- รายได้มาจากการเป็นวิทยากรตามงานต่างๆ (Speaking & Presence Opportunities): ครีเอเตอร์หลายคนเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำสาขาต่างๆ ทำให้มีการถูกเชิญไปเป็นวิทยากรงานต่างๆ
- รายได้มาจากผู้ติดตาม (Subscription & Exclusive Content): เช่น บนแพลฟตอร์ม YouTube ทำรูปแบบ Subscription และ Exclusive Content ทำให้ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์สามารถมีรายได้เข้ามาอีกทาง
- รายได้มาจากการจัดกิจกรรม Fan Meets, Talk Show: หากอินฟลูเอนเซอร์ คนนั้นมีผู้ติดตามจำนวนมาก ก็จะทำให้อินฟลูเอนเซอร์ ก้าวเข้าสู่ความเป็น “ไอดอล” หรือ “ศิลปิน” จนสามารถจัด Fan Meets และสร้าง รายได้จากการขายบัตร
2.Global Mega Trends ผลักดันให้มีอินฟลูเอนเซอร์ เพิ่มขึ้น
- หลายประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัย
- คนในประเทศมีรายได้ต่ำ ทำให้คนหา Passive income ด้วยการเป็นครีเอเตอร์-เป็นอินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น
- ระบบการศึกษาผลิตคนที่เหมาะกับงานไม่ทัน เทคโนโลยีพัฒนาล้ำหน้า
- สภาวะเศรษฐกิจโลกต่างๆ เช่น ดอกเบี้ย, เงินเฟ้อ, เศรษฐกิจฝืดเคือง
- โลกเปลี่ยนผ่านสู่ AI, EV และสินค้าจีนทะลักทั่วโลก
- คนต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน เช่น บางคนยังทำงานประจำ แต่มีรายได้แหล่งที่สองจากการเป็นครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ด้วย
- นายจ้างมีความต้องการจ้างงานแบบสัญญาจ้าง เพื่อลดค่าใช้จ่าย Fixed cost
- คนขาดความรู้ในการออม บริหารค่าใช้จ่าย ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
ทั้งหมดนี้จึงทำให้ อินฟลูเอนเซอร์ เติบโตขึ้นและมีส่วนผลักดัน GDP ในหลายๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส สามารถ อินฟลูเอนเซอร์สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศกว่า 20,000 ล้านบาท จากYouTube Creator ขณะที่สหรัฐอเมริกา YouTube Creator สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศกว่า 900,000 ล้านบาท
3.เทรนด์คนทำงานมากกว่า 1 ที่ สร้างรายได้จากหลายแหล่ง
ปัจจุบันคนทำงาน มากกว่า 1 ที่ เพื่อสามารถสร้างรายได้จากหลายแหล่งมากขึ้น หรือเรียกว่า On-Demand Jobbers / Gig Workers / Multi-jobbers เช่น เป็นพนักงานประจำแต่รับงานฟรีแลนซ์เพิ่มขึ้น 15 – 20% ต่อปี เนื่องจาก
- คนอยากทำงานอิสระมากขึ้น
- พนักงานบริษัท ก็ออกไปเป็นคนทำงานอิสระที่มีรายได้จากหลายแหล่ง
- ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ สามารถทำงานจากที่ไหนของโลกก็ไดเ
ทำให้ในปี 2024 มีแนวโน้มว่า เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ทั่วโลกกำลังจะทำงานแบบ Full-time มากขึ้น เนื่องจากรายได้ที่มากพอ
4.Creator Culture & Soft Power
- ส่วนใหญ่แล้ว ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ มักจะล้อกับ Soft Power ไทยในภาพใหญ่ เช่น มวยไทย, แฟชั่นไทย, ละคร-หนังไทย, อาหารไทย, ท่องเที่ยวไทย
- เกิดกลุ่มวัฒนธรรมย่อยใน Creators เช่น Pet Lovers, Art Toy, Self Improvement หรือ Sustainability
5.ตลาด E-Commerce ไทย ปี 68 อาจจมีมูลค่าถึง 7.5 แสนล้านบาท
จากข้อมูลคาดการณ์ปี 68 พบว่า ตลาด E-Commerce ประเทศไทย จะมีมูลค่าสูงถึง 7.5 แสนล้านบาท ทำให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ ผันตัวมาเป็นพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ หรือนักไลฟ์มากขึ้น
-
กว่า 93 – 95% ของลูกค้า ดูรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า
-
กว่า 80% เป็นคอนเทนต์รีวิวมา อินฟลูเอนเซอร์
-
ประมาณ 15% มาจากรีวิวของผู้บริโภคจริง
6 แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในไทย
Shopee, LAZADA,TikTok, Facebook, Instagram, LINE
หมวดสินค้ายอดนิยม
แฟชั่นเสื้อผ้า, เครื่องสำอาง-ความงาม, อาหารและเครื่องดื่ม, เครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์ Gadget, สินค้าใช้ภายในบ้าน
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการโพสต์คอนเทนต์บน Social Media แต่ละแพลตฟอร์มในปี 2024 – 2025 ได้แก่
-
YouTube: 6.00 – 9.00 pm
-
Facebook 12.00 – 3.00 pm
-
X (Twitter) 12.00 – 3.000 pm
-
Instagram 12.00 – 3.00 pm หรือ 6.00 – 9.00 pam
-
TikTok 6.00 – 9.00 pm
-
LinkedIn 3.00 – 6.00 pm
6. AI เข้ามาช่วยในการทำงาน
การพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างรวดเร็ว ทำให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์มีเครื่องมือ AI เป็นตัวช่วยในการทำงาน เช่น
-
Content Ideas & Content Strategy: ChatGPT, SEMRUSH
-
Writing Tools: AISEO, Jesper
-
Storyboarding & Image Generation: Storyboarding Boords, Storyboarding Krock, Midjourney, Adobe Firefly, – Canva
-
Video Creations: Get Munch, Vidyo.ai, Sora AI, Descript
-
Social media content management & analytics: Flick, Content Studio
-
Multi-purpose AI Tools: Vondy, Hootsuite
7. การวัด Performance ของอินฟลูเอนเซอร์
การวัดผล แต่ก่อนต้องวัดจาก ROAS (Return on Ad Spend) แต่ปัจจุบันต้องวัด ROCAS (Return on Content + Ad Spend) คือ การบวกค่าคอนเทนต์ กับค่าบูสต์โฆษณา
-
Number of creators or number of content
-
Number of followers
-
Cost per Impression
-
Cost per Reach
-
Cost per View
-
Cost per Engagement
-
Cost per Click
-
Cost per Sales
8.อินฟลูเอนเซอร์ต้องสร้างความน่าเชื่อถือ
ปัจจุบัน ความน่าเชื่อถือ (Trust) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเหล่า ฟลูเอนเซอร์ มากกว่ายอดวิว และเรตติ้ง เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของ Media Landscape บริษัทสื่อดั้งเดิม กำลังเปลี่ยนผ่านสู่สื่อดิจิทัล เพื่อเพิ่มความสามารถของตนเอง ในขณะที่ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ กำลังพัฒนาการกลายไปเป็นบริษัทสื่อ
จาก 8 เทรนด์โลกที่ คุณสุวิตา จรัญวงศ์ ได้เปิดเผย ทําให้เราได้เห็นว่า ในวันที่โลกเราเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี อาชีพใหม่ๆอย่าง อินฟลูเอนเซอร์ ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งในการเรื่องของการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ ไปจนถึงการสร้างรายได้ ที่เทียบเท่าหรืองานประจําเสียอีก