‘ซอฟท์พาวเวอร์’ ของเกาหลีใต้ก็ส่งสัญญาณเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากตลาดในสหรัฐอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคาดว่า การใช้จ่ายทั่วโลกในผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเกาหลีจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า เป็นมูลค่า 5.175 ล้านล้านบาท ภายในปี 2030
เกาหลีใต้เป็นที่รู้จักกันดีในด้านการส่งออกสินค้า ตั้งแต่เซมิคอนดักเตอร์ไปจนถึงรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าเหล่านั้นยังคงครองแชมป์ในแง่เศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน ‘ซอฟท์พาวเวอร์’ ของเกาหลีใต้ก็ส่งสัญญาณเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากตลาดในสหรัฐอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ล่าสุด งานวิจัยเผยแพร่โดย TikTok และ Kantar บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลคาดการณ์ว่า การใช้จ่ายทั่วโลกในผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเกาหลีจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า เป็นมูลค่า 1.43 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 5.175 ล้านล้านบาท ภายในปี 2030
หลังจากที่ความนิยมของ ‘K-Content’ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับเกาหลีใต้ เติบโตขยายเพิ่มขึ้นโดยแพลตฟอร์มโซเชียล หลังผู้ใช้งานจำนวนมากได้ชื่นชมละครเกาหลี เพลงป๊อป อาหาร และเครื่องสำอาง โดยเฉพาะบน TikTok ที่กลายเป็นแหล่งรวมตัวของแฟนๆ K-Pop ทางออนไลน์ และยังเป็นแรงหนุนให้ครอบคลุมถึงวัฒนธรรมและประเพณีของเกาหลีใต้มากขึ้นด้วย
ปัจจุบัน ตลาด ‘Hallyu’ หรือ K-Wave (ความคลั่งไคล้ในวัฒนธรรมเกาหลี) ได้ครอบคลุมถึงการส่งออกทางวัฒนธรรมของประเทศ คาดว่าจะมีมูลค่า 7.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 2.75 ล้านล้านบาท ซึ่งเนื้อหาไวรัลเกี่ยวกับ K-Culture (วัฒนธรรมเกาหลีใต้) คาดว่าเป็นขับเคลื่อน K-Wave ได้มากขึ้น โดยดึงดูดผู้ชมที่ใหญ่ขึ้นในตลาดสำคัญๆ อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยในงานวิจัยระบุว่า การใช้จ่ายโดยรวมอาจสูงถึง 1.98 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 7.164 ล้านล้านบาท ภายในสิ้นทศวรรษ หากกลุ่มเป้าหมายสนใจเริ่มซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค บริการ และความบันเทิงของเกาหลีใต้ เห็นได้จากการเติบโตของซอฟท์พาวเวอร์เกาหลีใต้ที่กำลังหล่อเลี้ยงเศรษฐีรุ่นใหม่จากแวดวงความคิดสร้างสรรค์อย่าง K-Pop และเว็บตูนแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ที่เป็นผู้ส่งออกวัฒนธรรมอย่างแข็งแกร่งดั้งเดิมของเอเชียเหนือ ผลผลิตของเกาหลีใต้ยังค่อนข้างน้อย แต่โซเชียลมีเดียกำลังช่วยลดช่องว่างนี้ โดย TikTok มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมวัฒนธรรมเกาหลีไปทั่วโลก แต่ฐานผู้ใช้งานยังมีขนาดเล็กกว่ามาก เมื่อเทียบกับผู้ชมของ YouTube และ Instagram ทำให้ผู้ใช้งานชาวเกาหลีใต้ส่วนใหญ่ จึงกลับชอบ YouTube และ Instagram มากกว่า
ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยระบุว่าผู้ใช้ประมาณ 80% ค้นพบวัฒนธรรมเกาหลีผ่าน TikTok แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลอันแข็งแกร่งของ TikTok ในการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีใต้นอกเกาหลีประเทศ แม้ว่าจะไม่ได้รับความนิยมในท้องถิ่นก็ตาม
ยกตัอย่างกรณีของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสัญชาติเกาหลีใต้ ‘Buldak’ ที่ยอดขายพุ่งสูงขึ้นหลังจากที่แร็ปเปอร์ชื่อดัง Cardi B ทำคอนเทนต์รีวิวบน TikTok และมียอดวิวเกือบ 40 ล้านครั้ง ส่งผลให้หุ้นของบริษัทผู้ผลิตบะหมี่เกาหลี Samyang Foods ทำสถิติสูงสุดพุ่งเกือบ 200% ตั้งแต่ต้นปีนี้
Hyunho Son ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายโซลูชั่นธุรกิจระดับโลกของ TikTok Korea กล่าวว่า “หากดูเรื่องราวความสำเร็จของเทรนด์ระดับโลกใน K-Content ส่วนใหญ่มักจะถูกกระตุ้นโดยเนื้อหารองจากผู้ครีเอเตอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นว่า ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำหน้าที่เป็นประตูและศูนย์กลางสำหรับกระแสไวรัลระดับโลกใน K-Content”
ตามข้อมูลของ TikTok ความต้องการวัฒนธรรมเกาหลีเกิดขึ้นพร้อมกับการขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่าง TikTok Shop ในสหรัฐอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเกาหลีเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับแพลตฟอร์ม โดยผู้ใช้ TikTok มากกว่าครึ่งหนึ่งซื้ออาหารเกาหลีหรือเครื่องสำอางโดยตรงจาก TikTok Shop
ซึ่งการใช้จ่ายทั่วโลกในปัจจุบันสำหรับเพลงเกาหลี ที่รวมถึงตั๋วคอนเสิร์ตและคอนเทนต์ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.16 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 4.2 แสนล้านบาทในปีนี้ ในขณะที่การใช้จ่ายในผลิตภัณฑ์ความงามและอาหารของเกาหลี คาดว่าจะเติบโตเป็นมากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 7.23 แสนล้านบาทต่อรายการ
ทั้งนี้ สำหรับโมเมนตัมมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปในปีหน้า โดย 7 ใน 10 ของผู้ใช้งาน TikTok ในสหรัฐอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ่งชี้ว่า การใช้จ่ายใน K-Food และ K-Beauty จะเพิ่มขึ้นในปีหน้า
ที่มา Bloomberg