หลังจาก CP ได้ปล่อยภาพ “Hello! Astronaut We are ready” เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.66 ที่ผ่านมา กระแสการพูดถึง เรื่องการส่งอาหารไปอวกาศเริ่มเป็นที่แพร่หลายในวงกว้าง
จนล่าสุดวันที่ 21 มิ.ย.66 CPF ได้เปิดตัวโครงการ “Thai food-Mission to Space” ภารกิจส่งไก่ไทยไปพิชิตอวกาศ ที่ได้ร่วมมือกับ 2 พันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศจากสหรัฐอเมริกา NANORACKS LLC และ บจก.มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี หรือ MU Space ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่งกะเพราไก่ของไทยไปสู่อวกาศ
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหารซีพีเอฟ กล่าวว่า
“การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย สู่มาตรฐานอวกาศครั้งนี้ เกิดจากความเชื่อมั่นว่าเนื้อไก่ของซีพีเป็นหนึ่งในแบรนด์เนื้อสัตว์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดถึงระดับอวกาศ ซึ่งการส่งอาหารไปอวกาศนั้นจะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพด้านอาหาร รวมถึงการตรวจสารตกค้างและเชี้อโรคปนเปื้อนต่างๆ หรือ Space Food Safety Standard ซึ่งเป็นข้อกำหนดสูงสุดของ NASA"
ล่าสุดเนื้อไก่ของ CPF ผ่านมาตรฐานของ NASA แล้ว และเมื่อจะทำเมนูกะเพราไก่ จะต้องมีการตรวจสอบเครื่องปรุงรสที่ NASA LAB ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลปลายปีนี้
ทั้งนี้ เนื้อไก่ของซีพีเอฟได้รับมาตรฐานและความปลอดภัยด้านอาหารระดับนานาชาติสูงสุดถึง 6 มาตรฐาน เช่น BSI, HACCP(CODEX) , ISO 9001, ISO 22000, BRC, GHP ไปจนถึงผ่านกระบวนการตรวจเชื้อโรค สารตกค้าง ความปลอดภัย และคุณภาพด้านอาหารต่างๆ กว่า 40 การตรวจสอบของ Space Safety Standard
“สิ่งนี้จะเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยเพราะเป็นครั้งแรกที่อาหารจากประเทศไทยจะได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับนี้ นับเป็นการแสดงศักยภาพขั้นสูงของนวัตกรรมเทคโนโลยีและความปลอดภัยการผลิตเนื้อไก่ของไทย และที่สำคัญคือการยืนยันว่าคนไทยทุกคนได้กินไก่ปลอดภัยในระดับเดียวกับที่องค์กรระดับโลกยอมรับ” คุณประสิทธิ์ กล่าว
รู้หรือไม่ อาหารประเภท สไปซี่ฟู้ดเป็นที่นิยมในหมู่นักบินอวกาศ
Mr. Michael James Massimino อดีตนักบินอวกาศ NASA ได้ร่วมบอกเล่า อาหารที่นักบินอวกาศต้องรับประทานนั้น ต้องมีความปลอดภัยสูงสุดและไร้สารตกค้าง เนื่องจากอาหารจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของนักบินอวกาศในระยะยาว และสารอาหารที่เหมาะสม ก็มีผลอย่างมากต่อมวลกระดูกและกล้ามเนื้อของนักบินแต่ละคน ดังนั้นอาหารหมวดโปรตีนจึงต้องมีการจัดเตรียมเป็นพิเศษ และที่ผ่านมาอาหารส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบอาหารแห้ง (dehydrate food) ที่ต้องเติมน้ำบนนั้น หรือแบบพร้อมทาน (ready-to-eat) ด้วยเทคโนโลยีรีทอร์ต (Retort) ที่สามารถแกะกินได้ทันที แต่สิ่งที่ต่างกับขณะอยู่บนพื้นโลก คือ ลักษณะของอาหารและซอสต่างๆจะมีความข้นเหนียว เพื่อให้มันติดกับช้อนให้คุณกินได้สะดวก หรือกินจากแพ็คเกจเลย และอีกสิ่งที่แตกต่าง คือ เรื่องประสาทสัมผัสการรับรสและกลิ่นของอาหารที่ลดลง ทำให้เรารับรู้รสชาติอาหารได้น้อยลง อาหารประเภท สไปซี่ฟู้ดจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักบิน
ทั้งนี้ Miss Vickie Kloeris นักวิทยาศาสตร์อาหารที่เคยทำงานในห้องวิจัยของ NASA มานานกว่า 34 ปี ได้แสดงถึงความมั่นใจของมาตรฐานเนื้อไก่ ของซีพี และความอร่อยของอาหารไทย จะสามารถผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เพื่อพร้อมสำหรับเป็นมื้ออาหารที่แสนอร่อยของนักบินอวกาศ
CPF การันตีคุณภาพเนื้อไก่ด้วย 5 เทคโนโลยีความปลอดภัย