หากพูดถึง 'แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์' นักธุรกิจสตรีงข้ามเพศ หลายคนๆ คงรู้จักเธอในฐานะบิ๊กบอสและเป็นเจ้าของอาณาจักรธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านบาทอย่าง บมจ.เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป(JKN) ที่ปัจจุบันจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากทั่วโลก ทั้งซีรี่ย์, ละคร, รายการทีวี ชื่อดังจำนวนมาก
รวมถึงเป็นเข้าของช่องทีวีดิจิทัล ช่องทีวี JKN18, JKN CNBC หากพูดถึง 'แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์' นักธุรกิจสตรีงข้ามเพศ หลายคนๆ คงรู้จักเธอในฐานะบิ๊กบอสและเป็นเจ้าของอาณาจักรธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านบาทอย่าง บมจ.เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป(JKN) ที่ปัจจุบันจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากทั่วโลก ทั้งซีรี่ย์, ละคร, รายการทีวี ชื่อดังจำนวนมาก รวมถึงเป็นเข้าของช่องทีวีดิจิทัล ช่องทีวี JKN18,JKN CNBC
ขณะที่ล่าสุด JKN ยังสร้างความฮือฮาด้วยการทุ่มเงินจำนวน 800 ล้านบาท เข้าซื้อกิจการธุรกิจประกวดนางงาม Miss Universe ของสหรัฐอเมริกา กลายเป็นเจ้าของใหม่ของ 'นางงามจักรวาล' ที่สามารถจัดประกวดนางงามแบบครบวงจรได้ทั่วโลก
เมื่อไปเจาะดูข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจ JKN จะพบว่ามีการจัดแบ่งกลุ่มในการดำเนินธุรกิจที่มีความชัดเจน โดยมีมูลค่ากิจการระดับพันล้านบาท ดังนั้น ทีมข่าว 'SPOTLIGHT' จะพาไปสำรวจเส้นทางและอาณาจักรของ JKN ว่ามีความเป็นมาอย่างไรและมีธุรกิจอะไรบ้าง
'เจเคเอ็น' มีจุดเริ่มธุรกิจการสินค้าและผลิตภัณฑ์ อาทิ เช่น สินค้าดีวีดีชุด (Box set), เสื้อยิ้มให้พ่อ, นํ้าดื่มตราภัทรพัฒน์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้สิทธิ์ของบริษัท สำหรับ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จํากัด (มหาชน) หรือ JKN จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นใน วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 โดยมี 'แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์' ยังนั่งเป็น 'ซีอีโอ' ในปัจจุบัน มีธุรกิจที่ทำคือ ลิขสิทธิ์คอนเทนต์ รวมถึงธุรกิจจําหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ และธุรกิจให้บริการเวลาเพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล
ใน 4 ปีต่อมา 'แอน จักรพงษ์' หรือในปี 2560 นำพา JKN ระดมเงินทุนเพื่อใช้ขยายธุรกิจด้วยออกหุ้นขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป(IPO) จากนั้นได้หุ้น JKN เข้าจดทะเบียนซื้อขายเป็นวันแรก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 หลักทรัพย์ของบริษัทภายใต้ชื่อ “JKN” เข้าทําการซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
หลังจากนั้น 3 ปี กิจการของ JKN มีการขยายเติบโตขึ้นจึงยื่นเรื่องขอเลื่อนชั้นในตลาดหุ้น ทำให้ JKN ขยับขึ้นมาเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นวันแรก เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
ในปี 2566 หรือในปีหน้า JKN กำลังจะฉลองอายุครบ 10 ปีของการก่อตั้งบริษัท หลังจากทีมข่าว 'SPOTLIGHT'พาไปไล่เรียงดูไทม์ไลน์เส้นทางสำคัญๆ สร้างอาณาจักร 'JKN'ปัจจุบันมีอาณาสินทรัพย์เกือบ 1 หมื่นล้านบาท จะสามารถแยกธุรกิจหลักได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.1 ขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ในประเทศเป็นการขายสิทธิ์ในคอนเทนต์ เช่น คอนเทนต์ซีรีส์ ละคร ภาพยนตร์ สารคดีเป็นต้น ให้กับผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่คอนเทนต์ (B2B) เช่น บริษัทที่ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ทั้งระบบดิจิตอล และระบบผ่านดาวเทียม (Satellite) ในประเทศบริษัทผู้ประกอบธุรกิจโรงภาพยนต์และบริษัทผู้ประกอบธุรกิจ VOD ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะนําคอนเทนต์ของบริษัทไปเผยแพร่
หรือออกอากาศให้กับผู้ชมคอนเทนต์ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ทั้งทางช่องโทรทัศน์ และOnline เป็นต้น และในการให้สิทธิ์แก่ลูกค้าเป็นการให้สิทธิ์เพื่อเผยแพร่ได้หลายช่องทาง เช่น การให้สิทธิ์เผยแพร่ลิขสิทธิ์คอนเทนต์แก่ลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ ให้เผยแพร่ได้ทั้งทางสถานีโทรทัศน์ของตนเอง และเผยแพร่ทางระบบออนไลน์ของสถานี เป็นต้น
สําหรับลิขสิทธิ์ คอนเทนต์ที่จําหน่ายในประเทศ ไทยเป็นแบบสําเร็จรูป คือ ผ่านการแปลและพากย์เสียงเป็นภาษาไทย (Localization) ซึ่งบริษัทให้ความสําคัญในเรื่องคุณภาพ ของการทํา Localizationและมีการตรวจสอบคอนเทนต์ที่ส่งให้ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถนําไปออกอากาศได้ทันที
1.2 ขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ไปยังต่างประเทศ ในปี 2561 บริษัทได้ขยายธุรกิจให้บริการและจําหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ไปยังต่างประเทศ โดยมีการจําหน่ายลิขสิทธิ์ในคอนเทนต์ เช่น คอนเทนต์ซีรีส์ ละคร ภาพยนตร์ สารคดีเป็นต้น ให้กับผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่คอนเทนต์ (B2B) เช่น บริษัทที่ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ทั้งระบบดิจิตอล และระบบผ่านดาวเทียม (Satellite), บริษัทผู้ประกอบธุรกิจโรงภาพยนต์, บริษัทผู้ประกอบธุรกิจ VOD และบริษัทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนในการจัดจําหน่ายลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ
ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะนําคอนเทนต์ของบริษัทไปเผยแพร่ หรือออกอากาศให้กับผู้ชมคอนเทนต์ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ทั้งทางช่องโทรทัศน์ และ Online เป็นต้น และในการให้สิทธิ์แก่ลูกค้าเป็นการให้สิทธิ์เพื่อเผยแพร่ได้หลายช่องทาง เช่น การให้สิทธิ์เผยแพร่ลิขสิทธิ์คอนเทนต์แก่ลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ ให้เผยแพร่ได้ทั้งทางสถานีโทรทัศน์ของตนเอง และเผยแพร่ทางระบบออนไลน์ของสถานี เป็นต้น
สำหรับลิขสิทธิ์คอนเทนต์ที่จําหน่ายไปยังต่างประเทศจะไม่การทํา Localization และในปี 2561 เช่นเดียวกัน บริษัทได้เริ่มพัฒนาธุรกิจในการเป็นตัวแทนจัดจําหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากประเทศไทยไปยังต่างประเทศ ซึ่งได้ดําเนินการภายใต้กลุ่มธุรกิจให้บริการและจําหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ลิขสิทธิ์คอนเทนต์
โดยบริษัทได้รับสิทธิในการเป็นตัวแทนจัดจําหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์แต่เพียงผู้เดียวจากเจ้าของสิทธิในประเทศไทย (ทีวีดิจิตอลช่องหนึ่ง) เพื่อไปจําหน่ายในต่างประเทศทั่วโลกยกเว้นบางประเทศที่กําหนดไว้ในสัญญาโดยบริษัทจะดําเนินการแปลบทเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อส่งมอบต่อให้กับลูกค้าในต่างประเทศ
โดยบริษัทมีการออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ช่อง JKN18 ธุรกิจให้บริการเวลาเพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์คือ การให้ลูกค้าซื้อช่วงเวลาในสถานีโทรทัศน์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์สินค้าของลูกค้า หรือเพื่อออกอากาศรายการของลูกค้า โดยตั้งแต่ปี 2564 ช่วงเวลาที่จําหน่ายเป็นเวลาจากสถานีโทรทัศน์ดิจิตัล “ช่อง JKN 18” ได้รับสิทธิ์ในการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ จากสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
โดยให้ธุรกิจให้บริการเวลาเพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้บริการมีทั้งหมด 3 รูปแบบ ซึ่งแบ่งตามจํานวนเวลาในการออกอากาศ คือ 2.1 โฆษณาในรูปแบบหนังโฆษณา หรือ ทีวีซี (TVC : Television Commercial) และสปอต (Spot) 2.2 โฆษณาในรูปแบบสกู๊ป (Scoop)2.3 โฆษณาในรูปแบบรายการแนะนําสินค้าและบริการ (Direct sale)
ธุรกิจที่ 3. ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
ธุรกิจผลิตภัณฑ์เริ่มในปี 2564 เป็นธุรกิจที่ดําเนินการโดยบริษัทย่อย 2 แห่ง คือ
3.1 JKN Best Life ผลิตภัณฑ์ที่จําหน่ายได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมความงามและสุขภาพ ได้แก่ C-TRIA, V-Allin, Fish Cap, Olig Fiber, Prima Collagen, Instinct, Herb Cordy, Hair Now, Anne Skin, Anjoy Baby ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตภายใต้ธุรกิจนี้ บริษัทจ้างบริษัทภายนอก (outsource) เป็นผู้ผลิต และมีพนักงานของบริษัทคอยตรวจสอบคุณภาพและจําหน่าย
3.2 บริษัท เจเคเอ็น เอ็มเอ็นบี จํากัด (JKN MNB) ผลิตภัณฑ์ที่จําหน่ายได้แก่ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ได้แก่ Cupid Herb Max, Cupid Tiger X, Cupid Dragon X ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตภายใต้ธุรกิจนี้ทําการว่าจ้างบริษัท เอ็มเอ็น เบฟเวอเรจ จํากัด (MN Bev.)
แน่นอนว่าธุรกิจใหม่ล่าสุดที่เป็นกระแสที่่หลายๆ คนกำลังพูดถึงนั่นคือ การที่ JKN ประกาศทุ่มเงินลงทุน 800 ล้านบาท ซื้อกิจการทั้งหมดขององค์กรนางงามจักรวาล (Miss Universe Organization) ของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ JKN ขึ้นแท่นเป็นเจ้าของใหม่ของเวทีประกวดนางงาม 'Miss Universe' สามารถจัดประกวดได้ทั่วโลก
ล่าสุด 'แอน-จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์' ซีอีโอของ JKN ออกมาแถลงข่าวกับสื่อมวลชนโดยให้รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดีล 'Miss Universe' ว่า ดีลนี้จะส่งผลบวกต่อธุรกิจทีวีกับค้าคอนเทนต์เพื่อด้านความบันเทิง และการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับผู้บริโภค
โดยเป็นการต่อยอดความแข็งแกร่งให้กับองค์กรนางงามจักรวาล และแบรนด์ MISS UNIVERSE ให้มีความน่าสนใจและเข้าถึงผู้คนได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ผ่านการสร้างธุรกิจใหม่ เพื่อต่อยอดการเติบโต ทั้งในตลาดที่มีความสำคัญและตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นในอนาคต รวมถึงตลาดแห่งภูมิภาคเอเชียด้วย
สำหรับการลงทุนครั้งนี้คาดว่าจะสามารถคืนทุนภายใน 2-3 ปี เพราะบริษัทมีแผนที่จะพัฒนาแบรนด์ดิ้งของ MISS UNIVERSE มาต่อยอดธุรกิจด้านไลฟ์สไตล์ ได้แก่
นอกจากนี้ JKN เตรียมเปิดตัวซุปเปอร์โปรดักส์ภายใต้ธุรกิจใหม่ "MU Lifestyle" เพื่อนำจุดแข็งของ Miss Universe มาต่อยอดแบรนด์สู่บริษัทคอนเทนต์เชิงพาณิชย์ คาดว่าจะมีโปรดักส์ใหม่ออกมาวาขาย อาทิ น้ำดื่มที่ผสมวิตามินและสินค้าแฟชั่นอื่นๆ
รวมถึงผู้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจตามระบบที่เจ้าของสิทธิ์ได้จัดเตรียมไว้ รวมทั้งได้ใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าเดียวกัน โดยที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในการให้สิทธิ์ และจ่ายค่าตอบแทนตามผลประกอบการ (Franchisee)
สำหรับปัจจุบันมีแฟรนไชส์ซีติดต่อเข้ามา เพราะสนใจอยากร่วมลงทุนกับบริษัทในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น เครื่องบินเจ็ท,เพ้นท์เฮ้าส์, โรงเรียนสอนนางงาม,สปา และโรงแรม เป็นต้น โดย JKN มีความพร้อมทั้งแบรนด์คอนซูเมอร์โปรดักส์,โรงงาน และช่องทางการขายทุกช่องทาง โดยเฉพาะการมีพันธมิตรอย่างฮุนไดโฮมช็อปปิ้ง เน็ตเวิร์คคอร์ปอเรชั่น ซึ่งถือว่าเป็นอีโคซิสเต็มส์ของ JKN ที่มีความพร้อมอยู่แล้วในการนำ Miss Universe เข้ามาเสริมพอร์ต
ขณะที่รายได้จากกลุ่ม Miss Universe พบว่าปกติในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 จะมีรายได้รวมประมาณ 1,000 ล้านบาท และรายได้ของการจัดประกวดของแต่ละประเทศจะอยู่ที่ 400-500 ล้านบาท ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงเจ้าของลิขสิทธิ์ในครั้งนี้จะส่งผลต่อ portfolio ของบริษัททั้งในด้านการโทรทัศน์และการค้าคอนเทนต์เพื่อความบันเทิงและการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นการต่อยอดวิสัยทัศน์และเสริมความแข็งแกร่งให้กับองค์กรนางงามจักรวาลและแบรนด์ Miss Universe ให้มีความน่าสนใจ
นอกจากนี้ ยังพร้อมเข้าถึงผู้คนได้หลากหลายมากขึ้นผ่านการสร้างธุรกิจใหม่เพื่อต่อยอดการเติบโตทั้งในตลาดที่มีความสำคัญและตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคต รวมไปถึงตลาดในภูมิภาคเอเชียด้วย
อีกทั้งมองว่า MISS UNIVERSE จะไม่ใช่แค่ประกวดนางงามเท่านั้น แต่จะช่วยต่อยอดธุรกิจในเครือของ JKN พร้อมทั้งพัฒนาธุรกิจให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ด้วยความสามารถในการเข้าถึงผู้คนกว่า 165 ประเทศทั่วโลกและมีผู้รับชมกว่า 500 ล้านคนในแต่ละปี
รวมทั้งมีความแปลกใหม่ของการจัดการประกวด MISS UNIVERSE ให้น่าตื่นตาตื่นใจ และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้านไลฟ์สไตล์แล้ว ยังมีการเปลี่ยนกติกาเพิ่มเติม โดยเปิดโอกาสให้ผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 27 ปี ที่แต่งงานแล้ว หรือเคยแต่งงานแล้วหย่าร้าง หรือเป็นผู้หญิงข้ามเพศ สามารถเข้ามาประกวดได้ ซึ่งนับเป็นเวทีประกวดเวทีแรกของโลกที่ให้ความเท่าเทียม
ขณะที่โครงสร้างธุรกิจใหม่ภายหลังได้ 'MISS UNIVERSE' มาช่วยเติมพอร์ตธุรกิจเป็นกลุ่มธุรกิจที่ 4. จากเดิมที่มี 3 ธุรกิจคือ ขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์, โฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้า และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ขณะที่หากย้อนคำให้สัมภาษณ์ของ 'แอน-จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์' ซีอีโอ JKN ต้องบอกว่าการมี 'MISS UNIVERSE' ถือว่ามีความเกี่ยวข้อง และต่อยอดธุรกิจเดิมได้หมดในทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจ จนกล้าออกมาประกาศว่าจะคืนทุนหรือทำกำไรกลับคืนมาจาก 'MISS UNIVERSE'ภายในเวลา 2-3 ปี
'กิจพณ ไพรไพศาลกิจ' ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) วิเคราะห์ว่า JKN เข้าไปซื้อธุรกิจ Miss Universe จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ แต่หากดูมูลค่าการซื้อกิจการครั้งนี้ถือว่าใช้กระแสเงินสดจำนวนมาก โดยว่าคาดรายได้ของธุรกิจ Miss Universe ต่อปี อยู่ที่ประมาณปีละ 1,300-1,400 ล้านบาท แม้ว่าจะดูสูงกว่า 800 ล้านบาท
แต่จากที่ JKN ทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตขายคอนเทนส์เป็นหลัก ทำให้ต้องใช้เงินลงทุนต่อปีค่อนข้างสูงมาก ส่งผลให้เฉพาะการทำธุรกิจปัจจุบันกระแสเงินสดเข้ามาไม่ค่อยพอกับตัวเลขที่ใช้ซื้อกิจการ ดังนั้นในระยะยาวจะมีความเสี่ยง อาจจะต้องมีการเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มเงินสดเข้ามา
ด้าน 'ภาดล วรรณรัตน์' ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า การเข้ากิจการทั้งหมดขององค์กรนางงามจักรวาล Miss Universe ของ JKN ถือเป็นอีกหนึ่งรายได้ใหม่ของบริษัท แต่ก็ต้องดูว่าหลังจากที่ซื้อไปแล้วตัวธุรกิจดังกล่าวจะสามารถสร้างรายได้เท่าไร
ทั้งนี้การที่ JKN ได้ซื้อกิจการนี้เข้ามา มุมมองน่าจะเป็นเชิงบวก เพราะมีการจัดงานทุกปี เป็นแหล่งรายได้ใหม่ แต่รายต่อปีเท่าไร กำไรเท่าไร คาดหวังอย่างไร คงต้องรอดูผู้บริหารแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม เพราะ ณ ขณะนี้ยังไม่เห็นข้อมูลในส่วนนี้