ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการฉ้อโกงทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ SMS ดูดเงิน การสร้างตัวตนปลอมหลอกหลวงเหยื่อผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการปลอมแปลมตัวตน
เพราะเพียงแค่เสี้ยววินาทีหากเราตัดสินใจผิดพลาด อาจสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล หรือเงินทั้งหมดที่มี และหากเป็นบริษัทหรือองค์กรก็อาจเกิดความเสียหายทั้งทรัพย์สินและชื่อเสียง ความเชื่อมั่นที่มี
สถิติการโจรกรรมทางการเงินในประเทศไทย
คนไทยมากกว่า 21% เคยมีประสบการณ์ได้รับสายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นการโกงลำดับหนึ่งจากมิจฉาชีพ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยในปี 64 มีผู้ได้รับความเสียหายและร้องเรียนมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้น 270% จากปี 63 รองลงมาคือ SMS หลอกหลวง ที่เพิ่มขึ้นกว่า 57%
นอกจากประเทศไทย ประเทศอังกฤษยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งในประเทศที่มีการหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อและโอนเงินเป็นจำนวนธุรกรรมทั้งหมด 207,372 ครั้ง โดยประมาณการสูญเสียอย่างคร่าว ๆ ที่ 485 ล้านยูโร ในปี 65
มิจฉาชีพล้ำหน้าพัฒนารูปแบบการโกง
จากการสำวจพบว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพมีการพัฒนารูปแบบการโกงให้มีความแนบเนียนขึ้น โดยมิจฉาชีพเหล่านี้จะทำการโอนเงินที่ฉ้อโกงมาได้ไปยัง “บัญชีม้า” เพื่ออำพรางเงินและป้องกันการตรวจสอบ หรือมีการปรับเปลี่ยนกลไกในการปลอมแปลงตัวตนให้แยบยลยิ่งขึ้น เช่นเปลี่ยนเป้าหมายการโจรกรรมเป็นการโน้มน้าวบุคคลและธุรกิจเพื่อโอนเงินให้พวกเขา โดยหลอกให้เชื่อว่าเป็นการโอนเงินให้แก่บุคคลหรือสถาบันที่มีอยู่จริง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คู่ค้าที่รู้จัก รวมถึงการซื้อสินค้าปลอมเสมือนจริงผ่านช่องออนไลน์ โดยการสูญเสียที่เกิดจากการหลอกลวงประเภทนี้คิดป็น 40% ของธุรกรรมในสหราชอาณาจักร หรือคิดเป็นมูลค่ารวมราว 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ
Mastercard ดึง AI มาช่วยปราบโกง