นางสาวจอมขวัญ คงสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสายระดมทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผย ชี้แจง แนวทางการกำกับดูแล “Utility token พร้อมใช้" หลังจากที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบแนวทางการกำกับดูแล ว่า ก.ล.ต. มีแนวคิดจะปรับแก้เกณฑ์ โดยจะกำหนดผู้ที่จะออก Utility token พร้อมใช้ และจะเข้าไปจดทะเบียน (list) ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
โดยอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อการระดมทุน หรือการซื้อขาย/การลงทุนมากกว่าการใช้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากโทเคนดิจิทัล จะต้องยื่นเรื่องขออนุญาต และเปิดเผยข้อมูลรายละเอียด รวมถึงคุณสมบัติการใช้งานของเหรียญกับสำนักงาน ก.ล.ต. ด้วย เพื่อเป็นมาตรการปกป้องและคุ้มครองผู้ลงทุนให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกับการกำกับดูแลออกออกเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชน(IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยจะช่วยให้นักลงทุนที่เข้ามาซื้อขายโทเคนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลมีข้อมูลที่มากเพียงพอในการประกอบการตัดสินใจพิจาณาลงทุน และสามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมของโทเคนได้
ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงจากเกณฑ์ปัจจุบันที่ผู้จะออก Utility token และจะเข้าไปจดทะเบียน (list) ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ต้องมายื่นเรื่องขออนุญาติจาก ก.ล.ต. โดยการออกแนวทางกำกับดูแลดังกล่าวนี้ เพื่อต้องการมีกลไกกำกับดูแลการซื้อขายในตลาดรองที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามายื่นขออนุญาตออก Utility token พร้อมใช้จะต้อวงยื่นเปิดข้อมูลผ่านเอกสารไวท์เปเปอร์ (White Paper) เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการซึ่งคล้ายกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลไฟลิ่ง (Filing) ของหุ้น IPO หากข้อมูลที่ส่งมาเป็นเท็จหรือมีสาระสำคัญที่ไม่ครบถ้วน ก.ล.ต. จะมีอำนาจในการดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายและมีบทลงทุนสามารถเอาผิดในทางอาญาได้
สำหรับการเข้ามาขออนุญาตออกหลักทรัพย์ ก.ล.ต.จะแบ่งลักษณะคำขออนุญาตออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
1.กรณีแบบ Fast track จะเป็น Utility token ที่จะได้รับพิจารณาเร็วอนุญาตกว่าปกติ ช่วยลดต้นทุนในการเหรียญทำได้ถูกลง โดยจะต้องเป็นโทเคนที่ไม่มีความซับซ้อน เข้าใจง่าย มีการกำหนดมูลค่าที่เหมาะสมของเหรียญกับจำนวนของเหรียญไว้ชัดเจน และมีการกำหนดการใช้งานแลกสิทธิ์สินค้าและบริการไว้อย่างชัดเจนด้วย เพื่อใช้สำหรับการอุปโภคและบริโภค
2.กรณีแบบ Normal track จะเป็น Utility token ที่จะมีต้นทุนในการเหรียญที่จะสูงกว่า Fast track เนื่องจากจะมีการกำหนดเงื่อนไขการใช้งานหรือสิทธิ์ของเหรียญที่จะมีความซับซ้อนมากกว่าก็จะใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติที่มากกว่า
นางสาวจอมขวัญ กล่าวต่อว่า แนวทางกำกับดูและการออกเหรียญ Utility token พร้อมใช้ นั้นจะเน้นหลักการให้ผู้ออกเหรียญเปิดเผยข้อมูลมากที่สุดเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนและไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อจะปิดกั้นการพัฒนาของนวัตกรรม โดยแนวทางดังกล่าวจะถูกนำไปพิจารณาและหารือร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบนิเวศ (Ecosystem) ทั้งหมดก่อนประกาศเกรฑ์ออกมาบังคับใช้
จากนั้นจะเปิดฟังความคิดเห็น (Hearing) ในช่วงเดือนเม.ย. 2565 นี้ โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้จากแนวทางที่ ก.ล.ต. จัดทำไว้ หากมีผู้ที่เกี่ยวนำเสนอแนวทางใหม่ที่มีความเหมาะสมมากกว่าเข้า ส่วนกรอบเวลาในการอนุมัติและมีผลบังคับใช้ขึ้นกับการพิจารณาของ คณะกรรมการ ก.ล.ต.
สำหรับ Utility token ที่ออกมามีวัตถุประสงค์การใช้งานแลกสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภคพร้อมใช้เท่านั้นและไม่ซึ่งกลุ่มนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. จะไม่เข้าไปกำกับดูแล เพราะปัจจุบันมีโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ในลักษณะพร้อมใช้ซึ่งมีการใช้งานคล้ายกับถือวอชเชอร์หรือการ์ดที่ใช้เพื่อแลกรับสินค้าและบริการ
-Utility token พร้อมใช้ จะเข้าไปจดทะเบียนซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องมี ICO Portal และยื่นเรื่องขออนุญาตกับ ก.ล.ต.
-ต้องยื่นเอกสารไวท์เปเปอร์ (white paper)เปิดข้อมูลสาระสำคัญรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการกับ กับ ก.ล.ต.
-ต้องมีการกำหนดสิทธิ์ของ Utility token ที่ชัดเจนว่าใช้แลกกับสินค้าและบริการใดได้บ้าง
-หากมีการนำ Utility token มาใช้แลกกับสินค้าและบริการที่กำหนดตามสิทธิ์แล้วเหรียญโทเคนนั้นจะต้องถูกทำลายทิ้งหรือหมดไป
-มีการกำหนดจำนวนเหรียญ Utility token และมูลค่าต่อเหรียญไว้ชัดเจน
"Utility token พร้อมใช้" คือ โทเคนที่กำหนดสิทธิ์ประโยชน์ให้กับผู้ที่ถือเหรียญที่มีคุณสมบัติคล้ายกับการใช้งานเหมือนกับวอชเชอร์ซึ่งผู้ถือเหรียญสามารถนำไปใช้แลกสินค้าและบริการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ของเหรียญนั้นๆ ตัวอย่าง เช่น ห้องพักโรงแรม, แลกสินค้าในห้างสรรพสินค้า, แลกซื้อกาแฟในร้าน โดยมีวัตถุประสงค์การใช้งานแลกสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภค